FAQ, ต้องกินยาความดันถึงเมื่อไหร่

ความดันโลหิตสูง…ต้องกินยาความดันถึงเมื่อไหร่

%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%87-hypertension-2

ต้องกินยาลด ‘ความดันโลหิตสูง’ ถึงเมื่อไหร่

“ต้องกินยาลดความดันโลหิตสูงถึงเมื่อไหร่?” เป็นคำถามยอดฮิตที่ได้ยินบ่อยครั้งจากคนที่เป็นความดันสูง

รวมทั้งที่ยังคุมความดันให้ปกติไม่ได้ หลายคนก็ไม่มีอาการใดๆแสดงให้เห็นแต่ต้องกินยา จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมจึงถามกันจัง..

ความดันโลหิต คืออะไร?

ลองนึกถึงภาพสายยางรดน้ำต้นไม้ที่มีน้ำไหลเป็นไปตามจังหวะการปิด-เปิดของก๊อกน้ำ เมื่อเปิดน้ำเต็มที่น้ำจะไหลผ่านสายยางนั้น แต่เมื่อหรี่ก๊อกลงน้ำก็จะไหลน้อย แรงดันในสายยางก็ลดลงตามด้วย

ระบบหัวใจและหลอดเลือดก็คล้ายๆกัน มันเป็นระบบไหลเวียนเลือดของร่างกายที่มีหัวใจทำหน้าที่เป็นก๊อกหรือปั๊มน้ำคอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจบีบตัวดีเลือดจะไหลแรงดี-ความดันก็ดี ถ้าหัวใจบีบตัวไม่ดีเลือดไหลเบา- ความดันก็ลดลง

นอกจากนี้ความดันเลือดยังขึ้นอยู่กับสภาพของหลอดเลือดอีกด้วย หากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดีก็จะปรับแรงดันไม่ให้สูงไปได้ดี แต่ถ้าหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นหรือแข็งตัวก็จะทำให้ความดันเลือดเปลี่ยนแปลงไปด้วย

บน-ล่าง คือ?

ค่าความดันโลหิตจะมีสองค่าเสมอ มักเรียกว่า “ตัวบน” กับ “ตัวล่าง” ค่าแรกเป็นความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัวไล่เลือดออกจากหัวใจ

ส่วนตัวล่างก็คือความดันของเลือดที่ยังค้างอยู่ในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรจำค่าทั้งสองนี้ไว้เพราะมีความสำคัญต่อการรักษา

ยาลดความดันโลหิตสูง ควรทานแบบไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด

ความดันโลหิต เท่าไหร่ถึงเรียกว่าปกติ?

ความดันโลหิต ที่เรียกว่า “เหมาะสม” ในคนที่มีอายุ18 ปีขึ้นไปคือตัวบนไม่เกิน 120 มม.ปรอท และตัวล่างไม่เกิน 80 มม.ปรอท เรียกสั้นๆว่า 120-139/80-89 มม.ปรอท

จะเรียกได้ว่ามี ความดันโลหิตสูง ก็ต่อเมื่อความดันโลหิตตัวบนมีมากกว่าหรือเท่ากับ 140 และตัวล่างมีมากกว่าหรือเท่ากับ 90 มม.ปรอท แต่อย่างไรก็ตามก่อนจะสรุปว่ามีความดันโลหิตสูงได้ ก็จะต้องวัดซ้ำหลายๆครั้ง

โดยให้ผู้นั้นพักแล้ววัดซ้ำอีกจนกว่าจะแน่ใจว่าสูงจริงๆ ที่สำคัญเทคนิคการวัดต้องถูกต้องด้วย…

ความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร ?

จนถึงทุกวันนี้ ความดันโลหิตสูง ก็ยังเป็นโรคที่ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุ เพราะมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้องทั้งเรื่องพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น อาหารรสเค็ม เชื้อชาติ จะมีเพียงส่วนน้อย(ไม่ถึง 5%)ที่ทราบสาเหตุ

เช่น เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ไตวาย หรือเป็นเนื้องอกบางชนิด ความดันโลหิตสูงได้ชื่อว่าเป็น “ฆาตกรเงียบ” เพราะส่วนใหญ่คนที่เป็นไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ไม่รู้ว่าตัวเองมีความดันโลหิตสูง

บางรายถึงจะรู้ว่าตัวเองเป็นแต่ก็ไม่ใส่ใจเพราะรู้สึกว่ามันปกติดีนี่ สบายดีอยู่.. เลยทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงตามมาทีหลังได้ มีส่วนน้อยที่มีอาการบ่งบอกเช่น ปวดหัว มึนหัว

        การปล่อยให้เป็นความดันสูงอยู่นานติดต่อกัน จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดงโดยเฉพาะหลอดเลือดเลี้ยงสมอง ตา หัวใจ และไต

จึงอาจทำให้หลอดเลือดสมองแตกหรือตีบตัน เป็นอัมพาตช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ไตวายเรื้อรัง เป็นต้น

นอกจากนี้ความดันโลหิตสูงยังทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น นานๆเข้าก็จะเกิดภาวะหัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจหนา ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายตามมาได้

เห็นมั๊ยว่าการละเลยไม่รักษาโรคนี้ก็จะมีโทษต่อตัวเองในอนาคตได้อย่างมากมาย ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่ว่าสามารภป้องกันได้โดยการควบคุมความดันโลหิตนั่นเอง

ทำไมต้องกิน ‘ยาลดความดัน’ หลายตัว

ความดันโลหิตสูงทำให้ต้องกินยาหลายตัว

หลายคนสงสัยว่าทำไมบางคนกินยาลดความดันแค่ตัวเดียว บางคนกินตั้งหลายตัว บ้างทีก็ 2 บ้าง3-4 บ้าง แพทย์มีหลักวิธีพิจารณาการให้ยาอย่างไร?

การเลือกชนิดของยาความดันโลหิตสำหรับแต่ละรายขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น ระดับความดันโลหิตของคนนั้นขณะที่วินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงอยู่,โรคที่เป็นร่วมด้วยในขณะนั้น,ความทนได้ต่อยา ,สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วย

1. เลือกให้ยาที่ออกฤทธิ์คลอบคลุมได้ 24 ชม.จะได้กินยาเพียงวันละครั้ง โดยไม่ลืมกินยา และควบคุมความดันได้สม่ำเสมอตลอดทั้งวัน

2. เลือกให้ยาขนาดต่ำเพียง 1 ชนิด และถ้าสามารถทนต่อยาได้ดีจึงจะเพิ่มขนาดยาเป็นขนาดกลาง และสังเกตผลประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนที่จะปรับขนาดยาขึ้น เพื่อรอผลลดความดันโลหิตจากยาแต่ละขนาดเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ก่อน

3. เปลี่ยนกลุ่มยา กรณีที่ความดันโลหิตของคนๆนั้น ยังไม่ลดลงตามต้องการ หรือเพิ่มขนาดยา และอาจเสริมยาตัวที่สองในขนาดต่ำเข้าไปอีก โดยการเลือกยาตัวที่สองจะต้องช่วยเสริมฤทธิ์ยาตัวแรกโดยที่ไม่เกิดอาการข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้นหรือให้เกิดน้อยที่สุด

  เห็นได้ว่าการให้ยาสำหรับผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงแต่ละรายอาจเหมือนหรือต่างกันไปตามความเหมาะสม และการตอบสนองต่อยา ดังนั้นคุณไม่ควรเปรียบเทียบว่าทำไมได้รับยาไม่เหมือนกัน และไม่ควรนำยาของตัวเองไปให้คนอื่นกินโดยเด็ดขาด

จากที่เล่ามาทั้งหมดคงเป็นคำตอบได้ดีว่า “ต้องกินยาลดความดันโลหิตสูงถึงเมื่อไหร่” หากรู้สึกไม่อยากกินยา เบื่อการกินยาตลอดชีวิต

ให้จำไว้ว่า การรักษาความดันโลหิตสูงในวันนี้ คือการซื้อประกันสุขภาพ เพื่อลดโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนที่ร้ายแรงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในวันข้างหน้า…

        ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ การกินยาเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาต่อไป หากหยุดยาไปความดันโลหิตอาจกลับมาสูงอีกได้

  • การรักษามี 2 ส่วนคือ การไม่ใช้ยากับการใช้ยา การไม่ใช้ยาเช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม สำหรับคนที่ความดันโลหิตสูงเล็กน้อยอาจเริ่มจากการรักษาโดยไม่ใช้ยา เว้นแต่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจอยู่ด้วย
  • การรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลาจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของสมอง หัวใจ ไต และหลอดเลือดได้
  • เนื่องจากคนที่เป็นส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติอะไร แม้ความดันจะสูงมากๆก็ตาม จึงไม่สามารถใช้อาการมาพิจารณาว่าวันนี้จะกินยาดีหรือเปล่า เช่น วันนี้รู้สึกสบายดี ก็จะไม่กินยา ซึ่งไม่ควรทำ…

ปัจจุบันมียาลดความดันโลหิตอยู่หลายกลุ่ม มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน ราคามีตั้งแต่เม็ดละ 50 สตางค์ไปจนถึง 60 บาท แต่ราคาไม่ใช่แปรผันตามคุณภาพยานะ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของแต่ละคน

ยาลดความดันโลหิตที่ดีควรออกฤทธิ์ช้าๆ ไม่ทำให้ความดันโลหิตแกว่งขึ้นลงมากเกินไป สามารถควบคุมความดันได้ดีตลอด 24 ชั่วโมง โดยการกินยาเพียงวันละครั้ง มีผลข้างเคียงน้อย

    น่าเสียดายที่ยังไม่มียาที่ดีขนาดนั้น เนื่องจากยาทุกตัวล้วนมีทั้งข้อดีข้อเสีย และมีผลข้างเคียงทั้งสิ้น อย่าลืมว่าการปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่นานๆเป็นผลเสียร้ายแรง

จึงควรติดตามรักษาโดยการวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ซื้อยากินเอง หากมีผลแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ท่านเดิมไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ไปเรื่อยๆ

ลดภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันด้วยออริซามิน Orysamin

>> รายละเอียด : น้ำมันรำข้าวผสมงาดำ Orysamin <<
>> โรคหัวใจ ภัยร้ายใกล้ตัวคนทำงาน <<

error: do not copy content!!