ปุ๋ยเคมี ไม่ใช่สารพิษ
ปุ๋ย คือ สารประกอบที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เปรียบเสมือนกับอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่พืชจำเป็นต้องบริโภคหรือดูดซึมเพื่อนำไปใช้ในขบวนการเมทาบอลิซึมต่างๆ
เช่น การสังเคราะห์ด้วยแสง, การหายใจ, การออกดอก,การติดผลฯ ปัจจุบันคนส่วนใหญ่อาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าปุ๋ยไม่ถูกต้องนัก ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่ได้รับข้อมูลมาไม่ถูกต้อง
โดยเฉพาะแนวความคิดที่เข้าใจกันผิดว่า ปุ๋ยเคมี เป็นสารประกอบเดียวกันกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั้งหลาย ซึ่งล้วนเป็นสารเคมีเกือบทั้งหมด..
โดยในปัจจุบันเกษตรกรไทยแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- ชาวนา อันได้แก่เกษตรกรที่ทำนาปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก
- ชาวไร่ อันได้แก่เกษตรกรผู้ทำการเพราะปลุกพืชไร่ เช่น อ้อย มัน สำปะหลัง และสับปะรด เป็นต้น
- ชาวสวน อันได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ทุเรียน และพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกาแฟ เป็นต้น
ปัญหาที่ส่งผลต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร
- ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากปัจจัยต่าง เช่น ปุ๋ย น้ำยาฆ่าศัตรูพืช ที่มีราคาแพงขึ้นเกือบทุกปี
- ปัญหาด้านราคาและตลาดของสินค้าเกษตรมีแปรปรวนไม่แน่นอน
และพบว่าต้นทุนทางการตลาดของสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและกระจายสินค้า ( Logistic ) ของประเทศค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง
เช่น จีนและมาเลเซีย ส่งผลให้ขีดความสามารถในการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยลดลงและเสียเปรียบคู่แข่ง ทำให้อาชีพทางการเกษตรมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง ยากต่อการบริหารจัดการ
- ปัญหาในเรื่องของดิน ดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการ
-
- คุณสมบัติทางเคมี คือ ดินต้องมีความสมดุล ของแร่ธาตุอาหารพืช
- คุณสมบัติทางกายภาพ คือ ดินต้องมีความสมดุล ของอากาศ และ น้ำ
- คุณสมบัติทางชีวภาพ คือ เป็นดิน ที่มีความสมดุลของจุลินทรีย์ กล่าวคือ เป็นดินที่มีจุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในดิน ที่เป็นประโยชน์ในปริมาณมาก
ส่วนดินที่มีปัญหาทางด้านการเกษตร หมายถึง ดินที่มีสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสม หรือ เหมาะสมน้อย สำหรับการเพาะปลูก ทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้
ส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินตื้น ดินอินทรีย์ และดินปนกรวด นอกจากนี้ยังรวมถึงพื้นที่มีความลาดชันสูง ซึ่งถ้ามีกี่ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรแล้ว จะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง
- ปัญหาภัยแล้ง
เมื่อภัยแล้งเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะนำความสูญเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งทางด้านการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและในด้านดารเกษตรก็เช่นกันที่ต้องพึ่งน้ำอย่างยิ่งยวดไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ทำให้เกิดสภาวะการขาดแคลนน้ำในพื้นที่หนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุให้พืชพรรณต่างๆ ได้รับการผลกระทบทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตไม่สมบูรณ์เกิดความเสียหาย
ในเรื่องของผลผลิตที่น้อยกว่าปกติ หรือถ้าภัยแล้งเกิดรุนแรงและยาวนาน ก็จะทำให้พืชขาดน้ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้พืชตายลงในท้ายที่สุด
ซึ่งก็จะสร้างความเสียหายให้เกษตรกร บางรายถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัวได้ กว่าจะฟื้นคืนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปีทีเดียว
- ปัญหาภาวะการระบาดของแมลงศัตรูพืช
ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้อากาศแห้ง ทำให้วัชพืชดื้อยามากขึ้น วัชพืชจะมีการพัฒนาได้ดีกว่าพืชทั่วไป ทำให้ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชเพิ่มมากขึ้น
ไม่เพียงแค่อากาศที่ร้อนขึ้นเท่านั้น ภาวะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกก็ส่งผลให้วัชพืชเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบกับแมลงเช่นเดียวกัน ทั้งความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาในการป้องกันตัว ทำให้การระบาดของแมลงศัตรูพืชรุนแรงขึ้น
- ปัญหาเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตร
เนื่องจากกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ของไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มในการ ใช้สารเคมีค่อนข้างสูงเพื่อเพิ่มผลผลิต และป้องกันกำจัดโรคแลงและศัตรูพืช
การเพิ่มขึ้นของการใช้สารเคมีดังกล่าวนับว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่งเพราะมีผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยทั้งต่อผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตเอง รวมทั้งเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยไปยังตลาดต่างประเทศ
ทั้งนี้หากเกษตรกรมีความเข้าใจมากพอในการแก้ปัญหาและรับมือกับภาวะของดินที่เสื่อมสภาพ ภาวะภัยแล้งที่ทำให้พืชขาดน้ำ และรู้จักวิธีการผสมผสานการลดต้นทุนของเกษตรกรได้ รวมถึงการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคด้วย
ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจในเรื่องของปุ๋ยเคมีให้ถูกต้อง เพื่อจะสามารถนำมาใช้ในการเกษตรให้เกิดผลและประโยชน์อันสูงสุดได้
ปุ๋ยเคมี คือ…?
ในความเป็นจริงแล้วปุ๋ยเคมีเป็นสารคนละกลุ่มกันเลยกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ,สารป้องกันกำจัดโรคพืช, ยาฆ่าหญ้าฯ
เนื่องจากปุ๋ยเคมี นั้นคือ ธาตุอาหารของพืช แต่ด้วยความเข้าใจผิดดังกล่าวจึงก่อให้เกิดกระแสสังคมที่ต่อต้านการใช้ปุ๋ยเคมี และพยายามส่งเสริมให้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชแทน
ปุ๋ยเคมีนั้นเป็นธาตุอาหารของชนิดต่างๆในธรรมชาติที่ถูกนำมาผลิตโดยผ่านกระบวนการผลิตทางเคมี เพื่อนำไปใส่ลงในดินที่มีความชื้น สารประกอบเหล่านี้จะละลายและพืชสามารถดูดซึมไปใช้ในการเจริญเติบโตได้
ปุ๋ยเคมีอุดมไปด้วยปริมาณธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ รวมทั้งธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมในปุ๋ยบางชนิด บางเกรด ธาตุอาหารที่อยู่ในปุ๋ยเหล่านี้พืชจะดูดซึมเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว
จึงส่งผลให้พืชมีการเจริญเติบโตงอกงาม ออกดอก สามารถเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นได้
สำหรับแนวทางการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง
เกษตรกรควรใช้ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพผสมผสานร่วมกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในทุกๆด้าน เช่น การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน(Soil fertility), ลดต้นทุนให้กับเกษตรกรและเพิ่มระดับคุณภาพผลผลิตการเกษตรของไทย
โดยปุ๋ยเคมีจะทำหน้าที่ให้ธาตุอาหารต่างๆแก่พืช แต่ขณะเดียวกันในปุ๋ยเคมีก็ไม่มีอินทรีย์วัตถุซึ่งเป็นตัวดูดซับอาหาร และช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน
ปรับความเป็นกรด-ด่างฯ จึงทำให้เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีแต่เพียงอย่างเดียวไปนานๆ จะทำให้ดินแน่น และเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น เมื่อถึงตอนนั้นพืชก็จะดูดธาตุอาหารได้น้อยลงไม่ว่าจะใส่ปุ๋ยในปริมารเท่าเดิมก็ตาม
เราจึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพสลับตามลงไปด้วย เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน ไม่ให้ดินแน่นทึบจนเกินไป รักษาความเป็นกรด-ด่างของดิน รากพืชสามารถหายใจ และดูดซึมอาหารได้เป็นปกติ
ตัวอย่างเช่น ในการปลูกพืชปลอดสารพิษนั้น จะมีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง โดยจะใช้สารสกัดจากธรรมชาติป้องกันแทน เช่น สารสะกัดจากสะเดา, โล่ติ้นฯ
คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า ปุ๋ยอินทรีย์นั้น สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีได้ เพราะปุ๋ยอินทรีย์เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ ในความเป็นจริงแล้วปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารต่างๆ อยู่น้อยมาก
และไม่เพียงพอกับความต้องการของพืชหลายๆชนิด การที่จะเอาปุ๋ยอินทรีย์มาใช้เพื่อให้เป็นแหล่งของธาตุอาหาร NPK เพิ่มเติมให้แก่ดินนั้นจึงไม่ถูกต้องเสียทีเดียว
และการนำเศษซากพืช ซากผลผลิต ซากสัตว์ออกไปจากดินนั้นเท่ากับเป็นการเอาธาตุอาหารออกไปจากดินนั่นเอง ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดินก็จะหมดลงไปเรื่อยๆ และเมื่อถึงจุดวิกฤต ก็จะสายเกินแก้
ดังนั้นการชักนำให้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีนั้น คงชดเชยได้แค่เพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมดครับ
ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณต่ำ ขณะที่ปุ๋ยชีวภาพก็ทดแทนได้เฉพาะธาตุไนโตรเจนเท่านั้น ส่วนธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ลงไปในรูปของปุ๋ยเคมีอยู่ดี
ในขณะที่สารกำจัดศัตรูพืชนั้นคือ สารเคมีที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีฤทธิ์เป็นพิษกับแมลงและศัตรูพืชแต่ละชนิด และโดยส่วนใหญ่มักอยู่ในกลุ่มออกาโนฟอสเฟต ซึ่งมีการตกค้างยาวนาน และมีความเป็นพิษสูง (สังเกตได้ที่ฉลากจะมีแถบสีแดง)
ซึ่งหากใช้อย่างไม่ระมัดระวังอาจเป็นพิษต่อผู้ใช้และผู้บริโภค รวมถึงสัตว์ต่างๆได้ เช่น สารกำจัดศัตรูพืชบางชนิดหลังจากฉีดพ่นแล้วต้องทิ้งไว้ประมาณ 3-20 วัน (ขึ้นกับชนิดของสารเคมีนั้นๆ)จึงจะเก็บเกี่ยวได้
ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกส่วนใหญ่มักจะเก็บเกี่ยวพืชก่อนถึงวันที่กำหนดจึงทำให้มีสารพิษตกค้างอยู่ในผลผลิตและเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบฉีดพ่นเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช
การให้ ปุ๋ยทางใบ จะช่วยให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็วกว่าทางดิน และมีโอกาสถูกชะล้างได้น้อยกว่า ทำให้พืชที่ฉีดพ่นได้รับธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่และเร็วขึ้น
จึงเหมาะกับการใช้ธาตุอาหารเร่งให้พืชขับเคลื่อนสรีระต่างๆได้ตามช่วงจังหวะที่เราต้องการ เช่น เร่งต้น เร่งใบ เร่งการเจริญเติบโต เร่งดอก เร่งลูก ขยายขนาดผล เร่งความหวาน. ซึ่งขึ้นอยู่กับสัดส่วน (Ratio)ของธาตุอาหารในปุ๋ยนั้นๆ
- ปุ๋ยน้ำ ทรานส์ฟอร์ม (Transform) อาหารเสริมพืชสูตร 1-2
- อาหารเสริมพืช “ทรานฟอร์ม” ดีกว่า ‘ปุ๋ยน้ำ’ อื่นๆอย่างไร