
อ้วนขึ้น เพราะระบบฮอร์โมนไม่ดี
ร่างกายเรามีสมดุลของฮอร์โมนต่างๆหลายชนิด ที่คอยควบคุมระบบต่างระบบของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ
มีฮอร์โมนพิเศษตัวหนึ่งที่ร่างกายจะหลั่งออกมาก็ต่อเมื่อเราออกกำลังกายจนเหนื่อยถึงระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดสูงสุดที่เรียกว่า พีค (peak)
การออกกำลังกายจนถึงจุดพีคนี้ เราจะสังเกตได้จากอาการ 3 อย่างคือ
1. หัวใจเต้นแรง
2. ชีพจรที่ข้อมือเต้น 120-140 ครั้ง/นาที
3. เหงื่อออกโทรมกายเหงื่อท่วม
เมื่อได้จุดพีค ฮอร์โมนพิเศษ ที่ชื่อว่า เอ็นโดรฟิน (endorphins) นี้จะถูกขับออกมา บางคนก็ชอบเรียกว่า “สารแห่งความสุข”
เพราะเมื่อฮอร์โมนตัวนี้หลั่งออกมาแล้ว เราจะรู้สึกตัวเบา อารมณ์ดี มองอะไรก็สวยงาม รู้สึกมีความสุข ร่าเริง
อันที่จริงแล้วเจ้าเอ็นโดฟินตัวนี้ก็อยู่ในกลุ่มเดียวกับหัวหน้าฮอร์โมนตัวใหญ่เลยนั่นคือ โกรทฮอร์โมน หรือที่เรียกกันย่อๆว่า GH
โกรธฮอร์โมนตัวนี้มีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์อย่างมหาศาล เป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อชีวิตตั้งแต่ตอนที่เกิดมา จนเจริญเติบโตจากเด็กอ่อนกลายเป็นเด็กโต
จากเด็กโตกลายเป็นหนุ่มสาว และกระทั่งจากหนุ่มสาวเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว โกรทฮอร์โมนตัวนี้แหล่ะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งและกำกับการเจริญเติบโตของเรา
แต่เมื่อร่างกายเติบโตเต็มที่แล้ว(อายุ 20-25 ปี) หรือบางคนเติบโตเร็วอายุประมาณ 18 ปีก็โตเต็มที่แล้ว ธรรมชาติจะคอยเป็นตัวควบคุมไม่ให้ร่างกายสูงหรือโตเกินจากปกติไป โดยโกรทฮอร์โมนก็จะเริ่มหลังน้อยลงเรื่อยๆ
แต่บางคนที่ระบบฮอร์โมนผิดปกติ โกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาน้อยหรือบางทีอายุยังไม่ถึง 30 ด้วยซ้ำโกรทฮอร์โมนก็แทบจะไม่หลั่งเลย
นั่นแสดงให้เห็นถึงสุขภาพประจำตัวที่ไม่ดี ลักษณะเช่นนี้จะสังเกตได้ชัดจากรูปร่างหน้าตา ผิวเหลืองซีดเหมือนคนอมโรค ร่างกายผอมเกร็ง
หรือบางคนก็เตี้ยผิดปกติไปเลย ตรงนี้แหล่ะที่เคยมีบางคนได้คิดวิธีนำโกรทฮอร์โมนเทียมมาใช้ทดแทน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ
สำหรับคนที่เจริญเติบโตตามปกติจนกระทั่งร่างกายเจริญเต็มที่ ไม่สูงไม่โตจนผิดธรรมชาติ โกรทฮอร์โมนก็จะเริ่มหลั่งน้อยลงในช่วงอายุประมาณ 20-25 ซึ่งเป็นอาการปกติของธรรมชาติ
ระยะนี้แหล่ะที่เป็นโอกาสทองของทุกคนที่จะต้องเอาตัวช่วยสุดท้ายคือ การออกกำลังกายมาเป็นตัวช่วยที่จะชุบชีวิตของคุณต่อไป
คุณสามารถมีชีวิตที่ดี สดสวย สุขภาพสมบูรณ์ได้ตั้งแต่ตอนหนุ่มสาวไปจนกระทั่งแก่และตาย
การออกกำลังกายอย่างเต็มที่ในระยะนี้จะทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจ เสื่อมและแก่ช้าลง ด้วยเหตุนี้การออกกำลังกายจึงจำเป็นต้องทำ
ที่จริงแล้วพ่อแม่ของลูกๆจะต้องวางแผนฝึกการออกกำลังกายให้กับลูกมาตั้งแต่เด็กๆ จะยิ่งง่ายขึ้น
หลายคนอาจจะค้านว่า เคยออกกำลังกายสมัยเด็กๆ “แต่ตอนนี้ต้องทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว ไม่มีเวลาออกกำลังกายหรอก”
ไม่เป็นไรใจเย็นๆ ไม่ต้องถามหรอกว่าทำไงดี? ถามตัวคุณเองก่อนว่า “คุณพอใจกับสภาพร่างกายและจิตใจของคุณตอนนี้มากแค่ไหน?”
วิธีเช็คตัวเองง่ายๆ
- นั่งตัวตรงๆ แล้วก้มลงมองเท้าของคุณ มองเห็นหัวแม่เท้ามั๊ย? ถ้าไม่.. ก็คงมีไขมันก้อนเบ้อเร่อห้อยอยู่ที่ท้องของคุณ
- ลองอข้อศอกแล้วยกแขนขึ้น จับดูที่ท้องแขนท่อนบนมีอะไรห้อยต่องแต่งออกมามั้ย ถ้าใช่..นั่นคือไขมันอีกเช่นกัน
- ลองลุกขึ้นยืน ยกขาซอยเท้าสลับกัน 2 ข้าง นับให้ได้ 20 ครั้ง เป็นไงบ้าง?เหนื่อย หายใจหอบ ทำต่อไม่ไหว..รึเปล่า?
แล้วตอนนี้อายุเท่าไหร่? นี่แหล่ะครับเช็คตัวเองง่ายๆ 2-3 ข้อเท่านี้ คุณก็จะตอบตัวเองได้แล้วว่า “ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองด่วนหรือไม่”
แต่สำหรับบางคน (ไม่ใช่ทุกคน และเกิดขึ้นได้น้อยมาก) โดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 40 การออกกำลังกายมากอาจทำให้น้ำหนักยิ่งเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
คนที่มีน้ำหนักมากและมีอาการอื่นๆที่แสดงว่าป่วยเนื่องมาจากมีน้ำหนักตัวมาก และการออกกำลังกายแบบหามรุ่งหามค่ำ อยากให้น้ำหนักลงเร็วๆ ผลอาจกลับตรงกันข้ามได้ นั่นคือ น้ำหนักอาจยิ่งเพิ่มขึ้นกว่าเดิม อ้วนขึ้น
วิธีแก้ปัญหาภาวะ อ้วนขึ้น ก็คือ
ใช้การระงับอารมณ์ช่วยให้จิตใจและร่างกาย หรือผ่อนคลายด้วยวิธีกดจุดและอาหารที่มีฮอร์โมน ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจาก
เมื่อต่อมพิทูอิทารีซึ่งลดการหลั่งโกรทฮอร์โมนให้น้อยลง ระบบของร่างกายก็จะหาพลังงานมาทดแทนพลังจากโกรทฮอร์โมน
เมื่ออายุเริ่มเข้าเลข 4 ต่อมหมวกไต จะขับฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากขึ้นเพื่อสร้างพลังทดแทนโกรทฮอร์โมน พลังจากฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้มีแรงมาก และจะมีลักษณะออกไปทางก้าวร้าวมากกว่า
ฉะนั้นเมื่อต่อมหมวกไตขับฮอร์โมนนี้ออกมามากเกินไป เจ้าของร่างกายก็จะมีแรงมากแต่จะออกไปในลักษณะดุดัน บางคนดุมาก โมโหมาก พอถูกขัดใจมากๆก็ลืมตัว ออกแรงแบบดุดันถึงขนาดฆ่าคนได้ก็มี
เมื่อมีพลังดุดันมากเช่นนี้ ร่างกายก็มีระบบแก้ไขสร้างพลังถ่วงขึ้นมา เมื่อมีคอร์ติซอลมาก ต่อมหมวกไตเลยสร้างฮอร์โมน DHEA (Dehydroepiandrosterone) ขึ้นมาเป็นตัวถ่วง
เหมือนกับรถยนต์ที่มีคันเร่ง สามารถวิ่งได้เร็วก็ต้องมีเบรคเป็นของคู่กับคันเร่ง มิฉะนั้นจะเกิดอุบัติเหตุชนกัน รถพังหรือคนขับอาจตายได้
ถ้ามีฮอร์โมนคอร์ติซอลมาก จะเป็นตัวเพิ่มไขมันในร่างกายให้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ฉะนั้นคนที่ออกกำลังกายมาก คอร์ติซอลก็หลั่งออกมามาก น้ำหนักตัวแทนที่จะลดก็กลับเพิ่มขึ้น อยากลดน้ำหนักแต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม
ดังนั้นจึงต้องเอาเรื่องอาหารมาช่วยแก้ “ต้องระมัดระวังอาหารประเภทเนื้อ หมู ไก่ให้มากขึ้น..” เพราะอาหารเหล่านี้จะมีกรดอะมิโนซึ่งจะถูกนำไปสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลได้มาก
และในขณะเดียวกัน ต้องกินโปรตีนชนิดที่จะช่วยสร้างฮอร์โมน DHEA เพราะจะเป็นตัวถ่วงไม่ให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลทำงานมากจนเกินไป
อาหารที่ช่วยสร้างฮอร์โมนDHEA ได้แก่ โปรตีนจากพืช พวกถั่ว และอาหารพวกปลาทะเล เมื่อเข้าใจหลักการแล้ว ก็นำมาปรับใช้กันตามอายุและสภาพร่างกายกันเลยนะครับ
บทความที่น่าสนใจ