FAQ, คนยุคนี้เป็นโรคจิตมากจริงหรือ

คนยุคนี้เป็น ‘โรคจิต’ กันมากจริงหรือ?

%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95-psychosis

 โรคจิต อาการทางจิตเวชที่น่าเป็นห่วง

คนเราทุกวันนี้ป่วยเป็น โรคจิต กันมากขึ้นจริงหรือ? ข่าวทำนองนี้ถึงมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ อาชญากรรม ทะเลาะเบาะแว้ง หย่าร้าง ฆ่าแกง ทำร้ายกันหน้าตาเฉย..

แม้แต่โรงพยาบาลเองก็มีคนไข้ทางจิตเวชเยอะขึ้นๆทุกที ส่วนนึงก็เนื่องมาจากคนมีความรู้มากขึ้นด้วย เลยไม่ค่อยอายที่จะพบจิตแพทย์เหมือนก่อน

       แต่ถ้าอยากรู้แน่ๆว่า “คนไข้จิตเวชมีมากหรือเปล่า”  วิธีที่แม่นยำที่สุดคือ ลงไปตรวจตามบ้านเลย ไม่ต้องรอให้มาพบจิตแพทย์ ทีนี้ไม่ว่าคนๆนั้นรู้หรือไม่รู้ว่าตัวเองป่วยก็ตาม ก็จะเก็บยอดได้หมด.. เหมือนเก็บดอกเบี้ยไง อยากแน่นอนต้องไปเก็บเองถึงบ้าน ขืนรอให้มาส่งก็อด..

      ว่าแล้วทีมงานกรมสุขภาพจิตก็รุดหน้าลงพื้นที่ ผลสำรวจเสร็จสิ้นเมื่อปีที่แล้วนี่เอง โดยสัมภาษณ์คนตามบ้านทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศจำนวนหมื่นกว่าคน

ผลลัพธ์ที่ได้ก็ตามแสดงในกราฟข้างล่างนี้ จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบบ่อยที่สุดคือ โรคซึมเศร้า 3%  ลองเทียบกับของต่างประเทศแล้วก็ถือว่าพอๆกัน

แต่เสียดายที่ไม่ได้มีการสำรวจเมื่อหลายปีก่อนหน้า แต่โชคดีที่ข้อมูลจากต่างประเทศเองก็พบว่ามีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างคงที่ตลอด จะมีก็โรคซึมเศร้านี่แหล่ะที่พบมากขึ้นนิดนึงช่วงหลัง

ผลสำรวจคนป่วยโรคจิต โรคซึมเศร้า เครียด

ทำไมถึงพบโรคซึมเศร้าบ่อยกว่าโรควิตกกังวล?

ข้อมูลวิจัย 10 ปีหลังพบว่าโรคเหล่านี้มีสาเหตุหลักจากความผิดปกติของยีนหรือองค์ประกอบย่อยของโครโมโซม ซึ่งความผิดปกตินี้อาจเป็นจากกรรมพันธุ์หรือบางครั้งก็ผิดปกติขึ้นมาเองได้

โดยมีภาวะกดดันต่างๆเป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบ  “ขอย้ำว่าเป็นตัวกระตุ้นนะ…ไม่ใช่สาเหตุ..”

      ถ้าเขาไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้อยู่ในตัวต่อให้เครียดยังไงก็ไม่ป่วย ทำนองเดียวกันถ้าเขามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอยู่บ้างแต่ไม่เจอภาวะกดดันเลยก็อาจไม่ป่วยเลยก็ได้

เปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆคือ คนปกติถูกฝนจะไม่ป่วย แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอแล้วได้รับเชื้อบางอย่างในช่วงนั้น ก็อาจป่วยเป็นหวัดคออักเสบได้ นั่นคือทั้งปัจจัยเสี่ยงในตัวกับสภาพแวดล้อมต่างก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน

       โรคจิตเภทซึ่งเป็นโรคจิตเรื้อรังมีอาการหลงผิดประสาทหลอน เมื่อก่อนเชื่อว่าเป็นมาจากการเลี้ยงดูในวัยเด็กที่พ่อแม่ห่างเหินหรือทำให้เด็กสับสนโตขึ้นก็เลยป่วย

แต่โรคนี้ที่จริงเป็นความผิดปกติทางสมอง โรคอารมณ์สองขั้ว โรคซึมเศร้ารุนแรงก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน เกิดขึ้นมาจากความผิดปกติของยีนเหมือนกับโรคเบาหวาน ความดันสูง

คงไม่มีใครบอกว่าเป็นเบาหวานเพราะตอนเด็กๆคุณพ่อไปทำงานต่างจังหวัดพอโตขึ้นเลยทำให้เขาป่วย  เพราะฉะนั้นถ้าลูกของคุณป่วยเป็นโรคทางจิตเวชเหล่านี้พ่อแม่ก็อย่าไปโทษตัวเองเลย

สังคมที่เร่งรีบบีบคั้นทุกวันนี้ ทำให้คนเป็นโรคจิตกันมากขึ้นหรือเปล่า?

ตามหลักการก็ต้องบอกว่าไม่… มีการสำรวจว่าแม้ในชุมชนชนบทหรือชาวเขา ก็มีอัตราการป่วยเป็นโรคนี้ไม่แตกต่างจากชุมชนเมืองเลย จะต่างกันตรงที่ในชนบทจะมองเป็นเรื่องผีสางเทวดา ทำให้กว่าจะมารักษากันจริงๆก็ตอนทำที่ทำยังไงผีก็ไม่ออกนี่แหล่ะ..

       แต่ไม่ได้หมายความว่าการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ แข่งขัน ไม่มีปัญหานะ พวกเขามีปัญหาทางสุขภาพจิตกันพอสมควรเลย ช่วงไหนที่งานกดดันมากก็อาจมีอาการหงุดหงิดง่าย ปวดหัว นอนไม่หลับ ไม่แฮปปี้เหมือนเมื่อก่อน..

แต่เค้าไม่ถึงกับป่วยเป็นโรคจิตเวชเท่านั้น แพทย์ก็จะบอกให้เขารู้ว่าสภาพตอนนี้ของเขาเปรียบเหมือน “รถยนต์ที่เข็มความร้อนขึ้นถึงขีดแดงแล้ว..” ต้องหยุดพักสักนิด เพื่อมาไตร่ตรองว่าชีวิตที่ผ่านมาตรงไหนที่มันไม่สมดุลจนทำให้เครื่องร้อน

เขาเร่งเครื่องบ่อยไปไหม? แข่งกับคนอื่นมากไปไหม? ตะบึงแข่งโดยไม่มองว่ารถเรา cc น้อยก็ต้องช้าหน่อยมั้ย?  สรุปก็คือกลับมาทบทวนตัวเอง จัดสมดุลให้กับชีวิตใหม่

คนยุคใหม่มีอาการโรคจิตกันมากขึ้น

ถ้าเกิดเจ้าตัวเขาไม่รู้ว่ามีปัญหาทางจิตล่ะ คนรอบข้างจะสังเกตได้ยังไง?

อันนี้เจอได้บ่อยเหมือนกัน “เข้าตำรามองไม่เห็นปลายจมูกตัวเอง” วิธีสังเกตคือเราจะพบว่าเค้ามีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมและเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางลบ

เช่น ดูหน้าตากลัดกลุ้มไม่แจ่มใสเหมือนก่อน อารมณ์ร้อน ฉุนเฉียวง่าย หรือมีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับคนอื่น เข้ากับคนไม่ได้และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดีเหมือนก่อน

เช่นถ้าเป็นนักเรียนก็อาจเหมือนเหม่อลอย การเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคนวัยทำงานก็ทำงานผิดๆถูกๆ

      ถ้าสนิทคุ้นเคยกันเราอยากจะช่วยเขา ก็เริ่มต้นด้วยการถามไถ่ว่าเขามีอะไรในช่วงนี้ไหม เปิดโอกาสให้เขาพูดแล้วรับฟังปัญหาของเขา.. อย่าเพิ่งรีบให้คำแนะนำ หลายคนพอเค้าพูดได้ไม่เท่าไหร่ก็รีบบอกด้วยความหวังดีว่า อย่าคิดมาก คิดมากไปก็เท่านั้นแหล่ะ ทำใจเถอะ!

การพูดตัดบทแบบนี้จะทำให้เขาไม่สามารถระบายความทุกข์ใจออกมาได้ ความอึดอัดยังคงอยู่ ไม่ผ่อนคลาย เท่ากับไม่ได้ช่วยอะไรเลย เผลอๆอาจยิ่งทำให้เขารู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจเสียด้วยซ้ำ..

วิธีก็คือรับฟังอย่างสนใจ พยายามเข้าใจว่าปัญหาของเขาอยู่ตรงไหน? แสดงความเข้าใจว่าเรารู้ว่าเขากำลังทุกข์ใจมากอยู่ ท่าทีแบบนี้แหล่ะจะทำให้เขากล้าเล่าสิ่งต่างๆให้เราฟัง

พอได้เล่าความกลัดกลุ้มใจของเขาก็ทุเลาไประดับนึง โดยที่เรายังไม่ได้ทำอะไรเลยด้วยซ้ำ…  ที่นี้พอเราเข้าใจอะไรแจ่มแจ้งแล้ว การให้คำแนะนำก็จะตรงจุดมากขึ้น เค้ารู้ว่าเราแนะนำโดยที่เข้าใจเค้า แนวโน้มที่จะทำตามที่เราแนะนำก็มากขึ้นตาม

ถ้าแนะนำแล้วเขาทำไม่ได้หรือทำแล้วไม่ดีขึ้น อย่างนี้ต้องให้ไปพบจิตแพทย์แล้วล่ะ เดี่ยวนี้การไปพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องใหญ่ และไม่ได้รักษาเฉพาะโรคจิตเท่านั้น

ทุกวันนี้คนปรึกษาจิตแพทย์ด้วยปัญหาทั่วๆไปเช่น นอนไม่หลับ เครียดเรื่องงาน ปรับตัวกันไม่ได้มากขึ้น ถ้าเป็นไม่มากอาจให้ยานิดหน่อยโดยเน้นที่การให้คำปรึกษา

ถ้าแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าการกินยามีความสำคัญก็จะชี้แจงให้ฟัง โรคทางจิตเวชหลายโรคต้องกินยานานพอสมควรเป็นเดือนๆปีๆ ซึ่งก็ต้องปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำถ้ากินยาแล้วมีปัญหาอะไรก็กลับไปปรึกษาปรับให้เหมาะสมขึ้น

      ปัญหาใหญ่ที่พบว่าทำให้การรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรคือ พออาการดีขึ้นแล้ว คนไข้มักหยุดยาหรือมีผู้หวังดีบอกให้หยุด กลัวติดยา ตัวยาสะสมมีผลต่อตับไต ทั้งๆที่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น

หลังจากคนไข้หยุดยาแรกๆมักไม่เป็นอะไร ทำให้เค้าวางใจว่าหายแล้ว แต่พอสักพัก 3 4 อาทิตย์ต่อมาอาการมักกำเริบขึ้นมาอีก ต้องกลับมาเริ่มต้นรักษาใหม่ทำให้ปัญหาซับซ้อนขึ้นไปอีก

ขอแนะนำว่าให้กินยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่สบายใจ กังวลจะมีปัญหาจากยาปรึกษาแพทย์ได้เพราะคุณเป็นคนกินยา เราจึงต้องทราบว่ายาที่กินมีผลดีผลเสียอะไรบ้าง รู้แล้วจะได้สบายใจ ไม่กังวลหรือคิดเอาเองโดยไม่กล้าถาม

       นอกจากร่างกายแล้วเราควรดูแลสุขภาพจิตของตัวเองและคนใกล้ชิดด้วย แม้ร่างกายแข็งแรงแต่ถ้าจิตใจย่ำแย่ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ต้องเสริมสร้างจิตใจให้แข็งแรงด้วย เจ็บป่วยก็ควรรีบรักษาเสียแต่เนิ่นๆ

โรคจิตเภท ผู้ป่วยทางจิต ในรูปแบบต่างๆ

โรคทางจิตเวชที่เป็นกันมาก

1. โรคซึมเศร้า มีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่ายไปหมด ผอมลง นอนไม่หลับ คิดไม่อยากอยู่ สมาธิความจำแย่ลง  รู้สึกตัวเองแย่ เป็นภาระต่อคนอื่น มักเป็นนานเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป

2. โรคกังวลทั่วไป มีอาการคิดมาก วิตกกังวลไปหมดทุกเริ่อง วิตกจริต คุมความกังวลไม่ได้ มักพบอาการนอนหลับไม่ดี ปวดหัวอ่อนเพลีย หงุดหงิด สะดุ้งตกใจง่าย สมาธิไม่ค่อยดี เป็นนานเกิน 6 เดือน

3. โรคอารมณ์สองขั้ว มีบางช่วงที่มีอาการเหมือนกลุ่มโรคซึมเศร้า บางช่วงเป็นปกติ และบางช่วงที่อารมณ์เปลี่ยนเป็นขั้วตรงกันข้ามคือ อารมณ์ดีคึกคักมีกำลังวังชา คิดว่าตัวเองเก่ง นอนน้อย ใช้เงินเปลือง พูดมาก มีโครงการต่างๆมากมายสนใจไปหมดทุกเรื่อง

4. โรคแพนิค จู่ๆก็มีอาการใจสั่นรุนแรง หายใจขาด เหงื่อแตกหรืออาจคลื่นไส้วิงเวียน  กลัวจะตาย กลัวคุมตัวเองไม่ได้ อาการเกิดขึ้นเร็วเป็นนาน 10-30 นาที มีอาการเป็นพักๆ

บางวันก็ไม่เป็นอะไรปกติดี ตรวจร่างกายปกติหมดทุกอย่าง เจ้าตัวจะกังวลมาก กลัวจะมีอาการอีก ทำให้ไม่กล้าไปไหนคนเดียว

5. โรคจิต มีอาการเชื่อผิดๆเช่น หวาดระแวงว่าจะมีคนปองร้าย  คอยติดตาม มีประสาทหลอนเช่น หูแว่วภาพหลอน อาการเป็นนานเป็นเดือนโดยมากแล้วเรื้อรังเป็นปีๆ

วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือ ‘ขอเพียงรู้ตัว’

จุดสำคัญของปัญหาชีวิตที่นำไปสู่โรคจิตเภท มีหลักในการแก้คือ “ขอเพียงรู้ตัว” ปัญหาชีวิตหลายเรื่องแก้ไม่ได้เช่น ปัญหาสามีมีเมียน้อยเป็นตัวอย่างของปัญหาที่แก้ไม่ได้ บางคนเป็นเมียหลวง คนเป็นเมียน้อย ทั้งสองคนมีทุกข์คนละแบบ

เกือบทั้งหมดแก้ปัญหาไม่ได้เพราะผู้ชายไม่ยอมเลิก เมียหลวงพอทำได้ก็คือดูแลสุขภาพตัวเอง กายที่ดีเป็นรากฐานของสุขภาพจิตที่ดี เมื่อจิตดีก็จะปรับความคิดมุมมองของตัวเองได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่ปล่อยวาง ไม่อภัยและไม่ยอมให้ทุกอย่างเหมือนเดิม..

      การปล่อยวางเป็นรูปแบบหนึ่งของการปรับตัว พูดว่าปล่อยวางอาจจะฟังดูใกล้ตรัสรู้มากเกินไป เอาเป็นว่าทุกคนสามารถคลายความเก็บกดไปได้มากด้วยการปล่อยวางก็แล้วกัน…

      อันที่จริงแล้วคนเรามักไม่รู้ตัวหรอกว่าจิตใจของตัวเองทำงานซับซ้อนกว่าคำว่า “คิดมาก” ถ้าพูดคำว่าคิดมากออกมาได้แสดงว่ารู้ตัวและพูดได้ แต่ที่ไม่รู้ตัวเพราะเก็บกดเอาไว้ยังมีอีก

ตัวที่ถูกเก็บกดเอาไว้นั่นแหละคือสิ่งที่ทำให้รู้สึกเหนื่อย เหมือนกับการกดลูกบอลจมน้ำ กดลูกบอลใหญ่มากก็ต้องออกแรงมาก กดยิ่งลึกก็ยิ่งเหนื่อย โกรธยิ่งนานก็ยิ่งเหนื่อย…

กดกดบอลลูกใหญ่ด้วย ลึกด้วยนานด้วย ย่อมหมดแรงสักวัน พอหมดแรงก็จะดึงเอาวิชามาร ความคิดชั่วร้ายต่างๆนานาเข้ามาเสริมแรงจนกลายเป็นโรคจิต โรคประสาท โรคซึมเศร้าก็ตอนนี้แหล่ะ…

       เพียงยอมรับว่าตัวเองปล่อยวางไม่ได้ ก็เป็นการยอมรับในรูปแบบหนึ่งแล้ว และเลิกเก็บกดความคิดที่ว่าปล่อยวางไม่ได้ ลูกบอลก็จะลอยขึ้นมาอีกนิดนึงแล้ว

ประเด็นคือไม่มีความคิดอะไรที่ผิดหรือถูกหรอก ไม่มีอารมณ์อะไรที่ยอมรับไม่ได้ จะโกรธ เกลียด อยากฆ่าเขายังไงก็ปล่อยมันออกมา ขอเพียงรู้ตัวว่าตัวเองรู้สึกยังไง ชีวิตก็จะเหนื่อยน้อยลงเอง…

       สิ่งที่ควรทำคือ ร้องไห้ให้พอ กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับ ออกกำลังกาย พยายามดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีเพื่อเป็นหลักยึดในการฟื้นฟูจิต ทำงานต่อไป

หางานอดิเรกเพิ่ม ระบายบางเรื่องให้คนอื่นฟัง สิ่งเหล่านี้ทำให้ขนาดของลูกบอลเล็กลง ลูกบอลลอยขึ้นมาบนผิวน้ำมากขึ้นสักพักนึงก็ไม่ต้องกดลูกบอลสุดแรงแล้ว แค่แตะๆ กดเบาๆ เราก็เอามันอยู่แล้ว

รักษาโรคแพนิคด้วยอาหารเสริมนูทริก้า Nutriga

 

>> รีวิว Nutriga กับโรคนอนไม่หลับ <<
>> รายละเอียด : อาหารเสริมนูทริก้า <<
>> SOD สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระ <<

error: do not copy content!!