FAQ, ภาวะขาดโปรตีน

เมื่อร่างกาย ‘ขาดโปรตีน’ จะส่งผลเสียอย่างไร?

%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%99-protein-deficiency

ภาวะ ‘ขาดโปรตีน’ หรือ โรคพร่องโปรตีน

เพราะโปรตีนมีความจำเป็นต่อร่างกายของเรา หากไม่นับส่วนประกอบที่เป็นน้ำในร่างกาย โปรตีนเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของร่างกายถึง 75% ซึ่งเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย

โดยโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงานเท่ากับคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม คือ 4 กิโลแคลอรี่ ที่สำคัญโปรตีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่างๆของร่างกาย

โปรตีนสำคัญอย่างไร?

โปรตีนเป็นอินทรีย์สาร ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อต่างๆ ร่างกายมนุษย์มีโปรตีนเป็นสารประกอบอยู่มากอันดับสองรองจากน้ำ โดยโปรตีนมีส่วนสำคัญกับโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ นับได้ว่าเป็นสารอาหารหลัก และจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก

หน้าที่ของโปรตีน

1. ช่วยเสริมสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งการซ่อมแซมเซลล์ส่วนทื่สึกหรอในอวัยวะต่างๆของร่างกาย ในการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อนั้น ร่างกายต้องการกรดอะมิโนมาสังเคราะห์เป็นโมเลกุลของโปรตีนตามต้องการ

แต่จะสร้างได้ก็ต่อเมื่อมีกรดอะมิโนที่จำเป็นอยู่พร้อมในเวลาเดียวกัน ถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งไปก็จะสร้างไม่ได้และถ้าอัตราส่วนของกรดอะมิโนแต่ละตัวไม่เป็นไปตามที่ร่างกายต้องการใช้ ก็จะสร้างโปรตีนในร่างกายให้สมบูรณ์ไม่ได้เช่นกัน

กรดอะมิโน คือ หน่วยย่อยของโปรตีน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 พวก ดังนี้

  • กรดอะมิโนไม่จำเป็น นั่นคือ ร่างกายสังเคราะห์เองได้ มีถึง 12 ชนิด ได้แก่ ฮีสทิดีน,ไอโซลิวซีน,ลิวซีน,ไลซีน,เมไทโอนีน,ฟินิลอะลานีน,ทรีโอนิน,ทริฟโตเฟน และ วาลีน
  • กรดอะมิโนจำเป็น นั่นคือ ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ ต้องรับเข้าไปจากการรับประทานอาหารเท่านั้น มีทั้งหมด 9 ชนิด ได้แก่ อะละนีน,อาร์จีนีน,แอสพาราจีน,กรดแอสปาติก,ซีสเทอีน,กรดกลูตามิก,กลูตามีน,ไกลซีน,โพรลีน,ซีรีน และ ไทโรซีน

ฉะนั้นการรับประทานอาหาร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับโปรตีนเข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ได้กรดอะมิโนตามที่ร่างกายต้องการเพื่อไปสร้างการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่สึกหรอในร่างกายได้อย่างเต็มที่

2. เป็นส่วนประกอบของสารเคม่ี จำพวกเอนไซม์และฮอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกาย เช่น การย่อยอาหาร การหายใจและการใช้ธาตุอาหารอื่นๆของร่างกาย

3. เป็นส่วนประกอบของสารเคมีที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง

4. เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย

5. ให้พลังงานในกรณีที่ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันไม่เพียงพอ โดยร่างกายจะเปลี่ยนโปรตีนให้เป็นคาร์โบไฮเดรตหรือไขมัน แล้วมีการเผาพลาญให้เกิดพลังงานแทน โดยโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่

ความสำคัญของโปรตีนต่อร่างกายของเรา

ความต้องการโปรตีน แค่ไหนจึงเพียงพอ?

ความต้องการโปรตีนของแต่ละคนแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกาย อายุ เพศ และขนาดของร่างกาย โดยปกติผู้ใหญ่ต้องการโปรตีนวันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

หรือให้พลังงาน 10-15% จากพลังงานที่ได้จากอาหารทั้งหมด บุคคลบางกลุ่มมีความต้องการโปรตีนมากกว่าธรรมดา เช่น

  • เด็กทารก ต้องการโปรตีนวันละ 2.5-3.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • เด็ก ต้องการโปรตีนวันละ 2.5-3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • หญิงมีครรภ์ ต้องการโปรตีนวันละ 80 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (หรือเพิ่มจากปกติ 20 กรัม)
  • หญิงให้นมบุตร ต้องการโปรตีนวันละ 100 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (หรือเพิ่มจากปกติ 40 กรัม)
  • ผู้สูงอายุ (ช่วงอายุ 45-60 ปี) ต้องการโปรตีนวันละ 1.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

และกลุ่มคนที่เป็นคนป่วยในระยะพักฟื้น รวมทั้งกลุ่มคนที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อ เพาะกล้าม ก็มีความต้องการโปรตีนมากกว่าปกติ เพราะการออกกำลังกายไม่เพิ่มความต้องการโปรตีน

ส่งผลให้ไม่มีการเติบโตของกล้ามเนื้อ หากต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพาะกาย ก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มโปรตีนให้มากขึ้นในกลุ่มคนออกกำลังกาย

ร่างกายเราควรทานโปรตีนมากแค่ไหนจึงเพียงพอ

และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าโปรตีนมีส่วนสำคัญกับการสร้างโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ นับได้ว่าเป็นสารอาหารหลักและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก เนื่องจากโอกาสที่ร่างกายของเราจะได้กรดอะมิโนบางชนิดไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหารตามปกติได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโนที่จำเป็น ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเสริมสร้างหรือซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะ “ขาดโปรตีน”

  • ปัญหาทางเศรษฐกิจและทางสังคมของประเทศ
  • แหล่งอาหารในชุมชน
  • ความจำกัดของครอบครัวที่จะผลิตหรือซื้ออาหาร
  • การขาดความรู้ที่ถูกต้องของครอบครัวในการเลี้ยงดู การจัดอาหารให้แก่ทารกและเด็ก และมีความเชื่อบางอย่างที่ห้ามกินอาหารบางชนิด
  • การเจ็บป่วยของทารกและของเด็ก ทำให้เด็กได้รับสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้น้อย เช่น ปัญหาการติดเชื้อ ปัญหาท้องร่วง ท้องเสียเรื้อรัง การดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ไม่ดี
  • ปัญหาพันธุกรรมบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ปกติ เพราะมีความผิดปกติในการย่อยสารอาหารบางอย่าง
  • การขาดความเอาใจใส่ในการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพตามวัย

เมื่อไรที่ร่างกายของเราขาดโปรตีน ก็จะเกิดอาการของการขาดโปรตีน ซึ่งจะมีสัญญาณเตือนตามอวัยวะต่างๆ

อาการเตือนที่บ่งบอกว่าเรากำลังขาดโปรตีน

สัญญาณเตือนร่างกาย “ขาดโปรตีน”

  • เลือดไหลเวียนผิดปกติ ปวดขา ตะคริวของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อ่อนเพลีย ภูมิต้านทานลดลง ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย
  • เล็บซีด แตกเปราะบาง หักง่าย ไม่เรียบ มีจุดขาว
  • ผมแห้ง ขาดความเงางาม จัดทรงยาก
  • ผิวหนังผิวลอกเป็นขุย แห้งกร้านไม่สดใส
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ จากความไม่สมดุลของฮอร์โมน
  • อาการทางระบบประสาท สั่น สับสน แขนขาอ่อนแรง
  • หลงลืมง่าย ความจำแย่ลง
  • กระดูกเปราะ หักง่าย หรือแตก ร่างกายแคระแกรน ไม่เจริญเติบโตตามวัย เตี้ยลง กระดูกทรุด
  • หดหู่ง่าย สารสื่อประสาทซีโรโทนินลดลง
  • ตาบอดตอนกลางคืน ปวดหัวไมเกรนบ่อยๆ
  • ริมฝีปากแห้ง เป็นสิวได้ง่าย เลือดออกตามไรฟัน
  • หัวใจเต้นผิดจังหวด

สัญญาเตือนภาวะขาดโปรตีน

หากร่างกายเราได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นไม่เพียงพอในแต่ละวัน ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ดังนั้นปัจจุบันจึงมีการรับประทานอาหารเสริมโปรตีนอย่างกว้างขวาง

และมีการพัฒนาในการเลือกวัตถุดิบชนิดต่างๆที่ใช้ในการผลิตอาหารเสริมโปรตีนออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้วัตถุดิบหลักๆ ดังนี้

1. เวย์โปรตีน

เป็นโปรตีนที่สกัดจากทางนมที่เหลือจากกระบวนการผลิตเนยแข็ง โดยสกัดคาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ ออกเหลือแต่ส่วนที่เป็นโปรตีน ซึ่งมีโปรตีนประมาณ 81.2% จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการทำให้เป็นผง พร้อมชง

แต่ผลที่ตามมาของเวย์โปรตีนคืออาการแพ้ เนื่องจากผลิตมาจากนมสัตว์เป็นหลัก จึงมีผลทำให้แพ้ในกลุ่มคนที่แพ้นม ซึ่งคิดเป็น 74% ของคนไทยทั้งหมด บางรายทานเวย์โปรตีนแล้วเกิดสิวขึ้น ผมร่วงได้ รวมถึงเวย์โปรตีนมีไขมัน คอเลสเตอรอล และไม่เหมาะกับคนรับประทานเจ

2. โปรตีนสกัดจากพืช

โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วพี มันฝรั่ง และข้าว โดยธรรมชาติจะให้กรดอะมิโนจำกัดชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดแตกต่างกัน เช่น ถั่วมีกรดอะมิโนไลซีนสูง แต่ให้กรดอะมิโนเมไธโอนีนต่ำ หรือข้าวมีกรดอะมิโนเมไธโอนีนสูงแต่ให้กรดอะมิโนไลซีนต่ำ เป็นต้น

แต่เราสามารถแก้ปัญหากรดอะมิโนจำกัดของพืชแต่ละชนิดได้ง่ายๆ ด้วยการเลือกรับประทานอาหารเสริมโปรตีนสกัดจากพืชที่หลากหลาย เช่น รับประทานโปรตีนสกัดจากถั่วพี ถั่วเหลือง มันฝรั่ง และข้าว

ซึ่งจะได้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน สามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้เทียบเท่ากับเวย์โปรตีนแต่ปลอดภัยกว่า นั่นคือ ไม่พบปัญหาท้องอืด และไม่ต้องกังวลถึงปัญหาไขมันและคอเลสเตอรอลสูง

โปรตีนสกัดจากพืชดีอย่างไร

ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างร่างกายของเราให้แข็งแรงสมบูรณ์ จึงควรเลือกทานโปรตีนอย่างเพียงพอและเหมาะสม โดยสามารถเลือกรับโปรตีนจากการรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างโปรตีน

หรือบางคนอาจใช้วิธีที่ง่ายกว่านั้นคือการทานอาหารเสริมโปรตีน ทั้งนี้ควรเลือกอาหารเสริมโปรตีนที่ปลอดภัย และเหมาะกับร่างกายของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรส่งผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในภายหลังได้

อาหารเสริมโปรตีน เพิ่มกล้ามเนื้อ ช่วยลดน้ำหนัก Hy Proโปรตีนลดน้ำหนัก เพิ่มกล้ามเนื้อ All Pro Whey Protein
บทความน่าสนใจ

error: do not copy content!!