หัวใจ กับ ความดันโลหิต
เมื่อมีแรงบีบตัวของหัวใจดันเลือดออกไปสู่เส้นเลือดใหญ่จึงเกิด “ความดันโลหิต” หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “ความดัน” ซึ่ง ความดันโลหิต นี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแรงบีบตัวของหัวใจเพียงอย่างเดียว
แต่ยังเกี่ยวข้องกับขนาดของเส้นเลือดที่ไหลผ่านด้วย หลายๆคนคงจะเห็นภาพเวลาที่เราเอานิ้วไปอุดสายยางรดน้ำต้นไม้แล้วทำให้น้ำพุ่งได้แรงขึ้น ไกลขึ้น การพุ่งของเลือดก็เช่นเดียวกันครับ
เมื่อเส้นเลือดหดเล็กลง เลือดก็จะพุ่งแรงขึ้น จึงเป็นที่มาของ ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ถ้าอย่างนั้น ความดันสูง ก็น่าจะดีสินะ! เพราะเลือดพุ่งไกลขึ้น แรงขึ้น หัวใจน่าจะทำงานน้อยลง.. แบบนั้นทำไมเราต้องมานั่งรักษา โรคความดันสูง กันล่ะ?
ก็เพราะในขณะที่เส้นเลือดมีไขมันไปพอกจนทำให้มีขนาดเล็กลง หัวใจต้องทำงานเพิ่มขึ้นอีกเพื่อบีบตัวต้านกับแรงเสียดทานของผนังหลอดเลือด แม้ว่าเลือดจะพุ่งได้ไกลได้แรงก็จริง
แต่สิ่งที่ร่างกายต้องการก็คือ “ปริมาณ” ไม่ใช่ “ความแรง” ของเลือด หัวใจจึงต้องทำงานหนักมากขึ้นในการดันเลือดออกไปให้ได้ปริมาณเท่าเดิม
นอกจากนี้การที่เลือดพุ่งออกจากหลอดเลือดแรงมากเกินไป นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้วยังกระทบกระแทกกับผนังหลอดเลือดจนอาจเกิดการแตกได้ โดยเฉพาะในเส้นเลือดเล็กที่มีความเปราะบางอย่างเส้นเลือดสมอง
ซึ่งถ้าหากมีการแตกก็อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตไปอย่างถาวรได้ เมื่อรู้เช่นนี้แล้วเรามารักษาหัวใจให้แข็งแรงอยู่กับเราไปนานๆเถอะครับ
คนส่วนใหญ่มักจะกลัวว่า ตัวเองเป็น โรคหัวใจ หรือเปล่า? เพราะทั่วๆไปจะรู้สึกว่า การที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็น โรคหัวใจ นั้นเป็นเรื่องใหญ่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวเสียเหลือเกิน ซึ่งอันที่จริงนั้น โรคหัวใจ มีด้วยกันอยู่หลายแบบ
โรคหัวใจ (และหลอดเลือด) นั้น มีอยู่หลายแบบหลายกลุ่มด้วยกัน แบ่งออกได้คร่าวๆ คือ
- โรคหัวใจ จาก ความดันโลหิตสูง
- โรคหลอดเลือดกล้ามเนื้อหัวใจตีบ (หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด)
- โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และหัวใจล้มเหลว
- โรคหัวใจเต้นผิดปกติ
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- ภาวะผิดปกติอื่นๆ ของหัวใจที่นานๆ พบได้บ้าง เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือก้อนเนื้อ (TUMOR) ที่หัวใจ
ความดันเลือดปกติของคนเราจะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท (มิลลิเมตรปรอท เป็นหน่วยวัดของความดันในหลอดเลือด) ค่าตัวเลข “120” ตัวแรกนั้น
เรียกกันว่า ตัวบน คือค่าความดันเมื่อหัวใจบีบตัวให้เลือดพุ่งออกมาจากหัวใจด้วยความแรง ความดันนี้จึงเป็นค่าสูง วัดออกมาได้เป็นความดันเลือดตัวแรก ส่วนตัวเลข “80” ตัวหลังคือ ความดันเลือดช่วงหัวใจคลายตัว เรียกกันว่า ความดันตัวล่าง
- ในคนปกติทั่วไป ถ้ามีความดันตัวบนเกิน 130 มิลลิเมตรปรอท หรือตัวล่างเกิน 85 มิลลิเมตรปรอทแล้ว ถือว่ามีภาวะ ความดันสูง
- แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานหรือมีโรคของหลอดเลือดแล้ว ถ้าความดันเกิน 120 / 80 มิลลิเมตรปรอท ก็นับว่า ความดันสูง เกินไปแล้ว
ความดันโลหิต ที่วัดได้จะใช้เกณฑ์พิจารณาดังนี้ ต้องเป็นความดันที่วัดในเวลาที่คนถูกวัดนั้นนั่งพักอยู่ย่างน้อยครึ่งชั่วโมงและไม่มีความเครียด กลัว หรือวิตกกังวลใดๆ
รวมทั้งต้องไม่มีความเจ็บปวด หิว อิ่ม แน่นท้อง หรือโมโห เพราะช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต เกิดความคลาดเคลื่อนจากค่าความดันโลหิตพื้นฐานได้
นอกจากนี้ถ้าเราวัดความดันโลหิตหลังจากออกกำลังกาย เราจะได้ค่าความดันโลหิตที่ต่ำกว่าความดันโลหิตพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ต่อไปได้อีกถึง 2 – 3 ชั่วโมง หลังหยุดออกกำลังกายแล้ว แต่ถ้าวัดขณะออกกำลังกาย ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้นกว่าค่าพื้นฐานปกติ
ดังนั้น การดูแลคนไข้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงนั้น จา่กการที่นานๆ 2 – 3 เดือน จึงมาวัดความดันกับแพทย์ครั้งหนึ่ง จึงเป็นการยากที่จะบอกได้ว่าความดันโลหิตที่วัดได้ขณะนั้นปกติ
หรือได้รับการควบคุมที่ดีพอหรือไม่ แนะนำว่าให้วัดความดันโลหิตเองที่บ้านโดยใช้เครื่องวัดความดันอัตโนมัติ ซึ่งค่าที่วัดจะเชื่อถือได้เมื่อได้ใช้วัดเทียบกับที่แพทย์วัดสัก 1 – 2 ครั้งก่อน
ควรวัดความดันตัวเองตอนเช้าหลังตื่นนอนก่อนลุกจากเตียงไปเข้าห้องน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน วัดสามครั้งติดๆกันแล้วจดไว้เพื่อนำมาดู ความดันโลหิตที่วัดได้ในเวลานั้น
น่าจะเป็นช่วงที่เชื่อได้ว่าเป็นความดัน พื้นฐานของคนนั้นๆ เพราะได้นอนหลับพักผ่อนมาตลอดทั้งคืน (ยกเว้นในบางรายที่นอนไม่หลับ)
ความดันพื้นฐานของคนเราในช่วงเช้าจะเป็นช่วงที่สูงที่สุดของแต่ละวัน (ไม่นับความดันที่เปลี่ยนแปลงจากการที่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมา)
ถ้าขยันจดบันทึก ขยันวัดความดันไว้ทุกวันๆ เมื่อนำมาดูกันก็จะทำให้ทราบแนวโน้มความดันโลหิตพื้นฐานของตรเองได้ดี ทำให้การดูแลทำได้ดียิ่งขึ้น
ปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง จึงมีความเกี่ยงโยงกันหมด
ถนอมหัวใจเริ่มด้วยที่ 4 วิธีง่ายๆคือ
1. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ใช้ความเร็ว เช่น การว่ายน้ำ การวิ่ง การปั่นจักรยาน การออกแรงที่ทำให้หัวใจได้เต้นแรงๆ เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 15 นาทีต่อครั้ง จะเป็นเหมือนการ “ฟิตกล้าม” ให้กับกล้ามเนื้อหัวใจได้หัดทำงาน
เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้ฝึกบ่อยๆ การบีบตัวก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ในเวลาปกติหัวใจจะบีบตัวช้าลง ทำงานน้อยลงก็จะทำงานได้นานขึ้นอยู่กับเราไปจนแก่เฒ่า
2. กินอาหารที่มีประโยชน์ มีสำนวนฝรั่งสำนวนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “You are what you eat” หรือ “กินอะไรได้อย่างนั้น” การกินอาหารที่มีไขมันสูง
นอกจากจะทำให้ไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ไขมันตัวร้ายเหล่านี้ยังไปสะสมอยู่ตามหลอดเลือดเหมือนเป็นตะกรันในท่อน้ำ ทำให้น้ำไหลไม่สะดวกเกิดภาวะความดันโลหิตสูงตามมา
นอกจากไขมันแล้วยังมีความเค็มที่จะทำให้น้ำถูกเก็บเอาไว้ในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดหมุนเวียนในร่างกายเพิ่ม แต่คุณภาพของเลือดลดลง ดังนั้นหัวใจจึงต้องบีบตัวทำงานหนักขึ้น
3. หลีกเลี่ยงความเครียด มีคำพูดว่า “หัวใจสลาย” เอาไว้ใช้เวลาที่คนเราเผชิญกับความเครียดที่เกินจะทน ซึ่งก็ไม่ได้เกินจริงครับ เมื่อเรามีความเครียดระบบต่างๆในร่างกายจะรวน
และหลั่งฮอร์โมนความเครียดซึ่งจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น แรงขึ้น แต่ไร้ประสิทธิภาพ เป็นการทำงานหนักโดยไม่จำเป็น
4. งดบุหรี่ นอกจากจะเป็นพิษต่อปอดแล้ว ยังมีงานวิจัยอกมาแล้วว่าบุหรี่นั้นเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเกิดความผิดปกติและไม่ยืดหยุ่นเหมือนที่ควรจะเป็น
หลอดเลือดที่แข็งเกินไปเหล่านี้ไม่สามารถขยายตัวเวลาที่ร่างกายต้องการเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ ดังนั้นภาระการทำงานหนักจึงขึ้นอยู่กับหัวใจ
ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่จะช่วยให้หัวใจของคุณแข็งแรง แต่แค่ทำ 4 สิ่งหลักๆนี้ให้ได้ แล้วเสริมด้วย เบต้ากลูแคน ที่ช่วยปรับสมดุลทั้งระบบให้กับร่างกาย ก็เท่ากับคุณได้ถนอมหัวใจของตัวเองไว้ไม่ให้ตกอยู่ในอันตรายได้มากแล้วล่ะ