เริ่ม ‘ตรวจสุขภาพ’ ก่อน ปลอดภัยกว่า
สุขภาพของคุณนั้นดีแค่ไหน? มีสิ่งไม่ดีเริ่มก่อตัวขึ้นมารึปล่าว จะรู้ได้ยังไง.. ?
การตรวจสุขภาพเป็นเพียงวิธีเดียวที่จะบอกคุณได้ เพื่อให้เราได้รู้ความเป็นไปหรือสัญญาณเตือนที่สำคัญๆ
เพื่อที่จะสามารถดูแล ปรับปรุงหรือรับมือได้ทันท่วงทีก่อนที่โรคต่างๆจะก่อตัวขึ้นมา..
ผู้หญิงสมัยนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าแต่ก่อน เพราะการตรวจสุขภาพเบื้องต้นนั้นเป็นวิธีการที่ดี บ่งชี้ได้ถึงระดับสุขภาพและช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติต่างๆก่อนที่จะมีอาการ นี่คือประสิทธิภาพที่สุดของการรักษา
ตรวจสุขภาพชนิดไหนที่จำเป็นสำหรับผู้หญิง
1. ตรวจเต้านม
เต้านมเป็นส่วนสำคัญที่ผู้หญิงทุกคนหวงแหน การตรวจนั้นทำได้หลายวิธี แม้ว่าการตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนๆจะสามารถช่วยให้ตรวจพบสิ่งผิดปกติของเต้านมก่อน
แต่การตรวจที่ดีที่สุดสำหรับมะเร็งเต้านมคือ การตรวจเต้านมทางคลีนิค และการทำแมมโมแกรม ซึ่งควรตรวจทุกๆ 3 ปีถ้าอายุไม่ถึง 40 หลังจากนั้นควรตรวจทุกๆปี
แมมโมแกรมเป็นเทคโนโลยีการแพทย์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเพราะมีความละเอียดสูง สามารถตรวจพบมะเร็งก่อนที่จะเป็นเนื้อได้ล่วงหน้าถึง 2 ปี
แม้ว่าแมมโมแกรมจะสามารถตรวจพบมะเร็งได้หลายชขนิด แต่ความเที่ยงตรงอาจจะยังไม่ 100% เพราะในบางครั้งเมื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจกลับพบผลที่ได้เป็นปกติ
2. ตรวจมะเร็งปากมดลูก
การตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap test) เป็นอีกเรื่องนึงที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม เพราะมะเร็งปากมดลูกเมื่อรู้ก่อน รักษาได้เร็ว โอกาสหายสูง การตรวจมะเร็งปากมดลูกจะเป็นการตรวจภายใน
โดยจะนำเซลล์จากปากมดลูกไปตรวจหาความผิดปกติของมะเร็งที่ยังไม่แสดงอาการ ซึ่งควรตรวจทุกๆ 3 ปีตั้งแต่เริ่มมีเพศสัมพันธ์
ส่วนผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจประจำเหมือนสาวๆ ถ้าผลที่ผ่านมาปกติ และไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ส่วนผู้หญิงที่ได้รับการตัดมดลูกและปากมดลูกออกด้วยสาเหตุที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็ง ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจเช่นกัน
3. ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน และหนึ่งในนั้นก็มีคู่นอนอีกหลายคน เชื้อที่ตรวจพบมากที่สุดคือ Chlamydia
ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้เป็นหมันได้ ส่วนเชื้อที่เจอบ่อยเช่นกันก็คือ หนองใน, ซิฟิลิส, เอดส์ ,เริม และไวรัสตับอักเสบบี
หากตรวจพบเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งรักษาได้เร็วเท่านั้น หรืออย่างน้อยก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรูปแบบการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น เพราะเชื้อบางชนิดเมื่อติดแล้วก็จะเกาะติดคุณไปตลอดจนตาย
เช่น HIV สำหรับคนที่ไม่เคยตรวจมาก่อนแต่ได้ติดเชื้อดังกล่างแล้วตั้งครรภ์ เชื้อบางชนิดอาจถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ด้วย ซึ่งเป็นอันตรายต่อทารก
4. ตรวจเบาหวาน
ผู้หญิงมีสถิติเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน หรือบางคนที่มีไขมันหน้าท้องมาก ก็มีผลวิจัยแล้วว่ามีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนปกติ หรือคนที่มีไขมันบริเวณส่วนอื่นๆมากกว่าหน้าท้อง
ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเริ่มเป่นตอนวัยกลางคน และมีแนวโน้มพบในวัยรุ่นมากขึ้นด้วย ที่พบมากคือ เบาหวานชนิดที่2 เนื่องจากน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอหรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้ตามปกติ
ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 2 คือ อายุ , ความอ้วน(ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป), ขาดการออกกำลังกาย และกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ยังพบได้มากในคนที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
หรือในกลุ่มอาการรัไข่มีถุงน้ำหลายใบ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง หรือเคยตรวจพบระดับกลูโคสในพลาสมาผิดปกติ
5. ตรวจโรคหัวใจ
คงต้องยอมรับว่ารูปแบบการกินของผู้คนเปลี่ยนไปมาก อาหารไทยที่เคยเน้นผัก ปลา น้ำพริก กลายมาเป็นอาหารสำเร็จรูป ฟาสฟู๊ด การกินอาหารที่มีไขมันสูงมากขึ้น
และที่สำคัญคือขาดการออกกำลังกาย เลยทำให้มักเป็นโรคฮิตเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน และทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อการเป็นโรคหัวใจ
ที่น่าสังเกตก็คือ ผู้หญิงอาจจะไม่รู้สึกถึงอาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน แต่ผู้หญิงมักมีโอกาสมากกว่าผู้ชายตรงที่จะมีอาการอาหารไม่ย่อย หายใจลำบาก หรือเจ็บปวดกล้ามเนื้อแทนที่จะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างทั่วๆไป
ผู้หญิงที่อายุเกิน 18 ปีขึ้นไป ควรตรวจความดันโลหิตเป็นประจำถ้าต่ำกว่า 130/80 ควรตรวจทุกๆ 2ปี แต่ถ้ามากกว่านี้อีกก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูง ยิ่งมีระดับคอเลสเตอรอลสูงหรือมีเบาหวานอยู่แล้วยิ่งต้องเช็คถี่ขึ้น คนที่สูบบุหรี่หรือเป็นเบาหวานอยู่แล้ว ควรเริ่มตรวจตุ้ง 20 ปีขึ้นไป
6. ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก
กระดูกของผู้หญิงมีความหนาแน่นน้อยกว่าผู้ชาย และยิ่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียเนื้อกระดูกอย่างรวดเร็ว จึงทำให้กระดูกพรุนได้ง่าย
ฉะนั้นหญิงวัยหมดประจำเดือนควรตรวจกระดูกพรุนเป้นประจำ ส่วนคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนเช่น น้ำหนักน้อย หรือไม่ได้รัยฮอร์โมนเอสโจตรเจนทดแทน ควรพบแพทย์เพราะต้องดูแลเป็นพิเศษ
จะได้ระมัดระวังป้องกันอุบัติเหตุในชีวิตประจำวันด้วย เนื่องจากกระดูกจะแตกหักง่ายกว่าคนปกติ เป็นอันตรายพอสมควรถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญ เช่น ข้อมือ หรือสะโพก
การป้องควรเริ่มตั้งแต่วัยรุ่น โดยการสะสมความหนาแน่นของกระดูกไว้ด้ยการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังที่มีแรงกดกระแทกสม่ำเสมอ เพราะหากเข้าสู่วัยทองแล้วการเสริมความหนาแน่นของกระดูกคงเป็นไปได้ยาก
7. ตรวจไทรอยด์
ควรมีการตรวจหาระดับฮอร์โมนไทรอยด์ TSH เพื่อตรวจหาความผิดปกติของไทรอยด์ ซึ่งควรตรวจตั้งแต่ 35 ขึ้นไป ทุกๆ 5 ปี เพราะความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จะนำมาซึ่งความผิดปกติต่างๆของร่างกาย และที่สำคัญคนที่ต้องการมีลูกควรตรวจก่อนท้อง เพื่อความปลอดภัยทั้งแม่และลูก
8. ตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่
ผู้หญิง 50 ปีขึ้นไปควรตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ถ้ามีประวัติคนในครอบครัว โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ควรเริ่มตรวจเร็วขึ้น การตรวจมีหลายวิธีเช่น ตรวจหาเลือดที่แผงมากับอุจจาระ การส่องกล้องผ่านทวารหนัก หรือตรวจเอ็กซเรย์ Barium enema
ทั้งหมดนี้เป็นการตรวจพื้นฐานเพียง 8 อย่างที่สำคัญเท่านั้น สำหรับผู้หญิงแต่ละช่วงวัย คุณอาจรอตรวจพร้อมกับตรวจสุขภาพประจำปีหรือจะตรวจเป็นการเฉพาะก็ได้ ซึ่งเดี๋ยวนี้มีแพ็คเกจหลากหลายแบบให้เลือกในราคาที่ต่างกันออกไป
แม้ว่าการตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ดี แต่การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นมากกว่า เพราะหากเราดูแลสุขภาพให้ดี กินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำหรือเสริมด้วยอาหารดีๆเช่น งาดำ เบต้ากลูแคน ก็จะช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคภัยทั้งหลายได้แล้วค่ะ
>> บำรุงร่างกายง่ายๆด้วย Nutriga <<
>> งาดำ สรรพคุณมากมาย <<
>> ว่านหางจระเข้ สมุนไพรไทย <<