ตัด “มดลูก” แล้ว จะเป็นอย่างไรนะ?
มดลูก (Uterus) เป็นอวัยวะสำคัญของเพศหญิง รูปร่างคล้ายลูกชมพู่หรือสามเหลี่ยมหัวกลับลง อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกราน ใกล้กับกระเพาะปัสสาวะ
ภายในเป็นโพรงเป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์อีกด้วย
Q: ปัญหา ‘มดลูก’ ของผู้หญิงจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่หลายคนวิตก โดยเฉพาะหลังตัดมดลูกออกแล้วจะมีผลต่อสุขภาพยังไงบ้าง? ต้องดูแลตัวเองยังไงในสภาวะไร้มดลูกแบบนี้?
หญิงวัยกลางคนอายุ 45 ปี หลังรับการผ่าตัดมดลูกออกไปเพราะคลำเจอก้อนที่หน้าท้อง ก่อนหน้านี้เธอไม่เคยตรวจสุขภาพมาก่อน เมื่อตรวจพบคุณหมอจึงให้ตัดมดลูกทิ้งแต่เก็บรังไข่ไว้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องกินฮอร์โมน..
A: มดลูก มีหน้าที่สำคัญ 2 อย่างคือ
ผลิตประจำเดือนและรองรับทารกที่ถือกำเนิดในครรภ์ หลังจากตัดมดลูกไปแล้วจึงไม่มีประจำเดือนและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก หลายคนเข้าใจผิดว่าการตัดมดลูกทำให้แก่เร็วและส่งผลเสียต่อสุขภาพ
อันที่จริงตัวมดลูกที่ขาดหายไป ไม่ค่อยมีผลเท่าใดนัก แต่การตัดรังไข่ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนออกทั้งสองข้างพร้อมกับมดลูกขณะที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ต่างหาก จะทำให้เกิดภาวะวัยทองก่อนวัยอันควร
และมีผลเสียต่อสุขภาพเช่น มีอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ ผิวแห้ง ช่องคลอดแห้ง เจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ กระดูกพรุน แถมมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจอีก
การผ่าตัดมดลูกเป็นการผ่าตัดของผู้หญิงที่พบได้บ่อยมาก มี 5 สาเหตุหลักได้แก่
- มีเนื้องอกขึ้นในกล้ามเนื้อมดลูก
- มดลูกหย่อน
- ปวดท้องอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ช็อกโกแลตซีส หรือมีอาการอักเสบติดเชื้อในโพรงมดลูก ปีกมดลูกและอุ้งเชิงกราน
- มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
- เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ในปัจจุบันความจำเป็นในการตัดมดลูกออกมีน้อยลง เป็นเพราะความรู้ทางการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น มีเครื่องมือและทางเลือกในการรักษาเพิ่มขึ้น ซึ่งต่างจากสมัยก่อน หากมีเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกมักใช้วิธีการผ่าตัดมดลูกออก
แต่ทุกวันนี้เปลี่ยนมาเป็นการส่องกล้องคว้านปากมดลูกเป็นรูปกรวย (Colposcope หรือ Conization)มากขึ้น ส่วนการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกอาจใช้ยา ห่วงอนามัยฮอร์โมน หรือการจี้ทำลายเนื้องอกแทน
ถ้าเป็นคนที่แข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวเรื้องรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆจากการผ่าตัดมดลูกเช่น แพ้ยาชา ยาสลบ เสียเลือดจากการผ่าตัดมาก หรือระบบทางเดินปัสสาวะมีปัญหา
เช่น กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต ไต ระบบประสาทของกระเพาะปัสสาวะได้รับผลกระทบจากการผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะไม่ออก ไม่คล่อง ปัสสาวะรั่ว มีอาการอักเสบหรือติดเชื้อหลังผ่าตัด ส่วนใหญ่จะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติหลังการพักฟื้น 1-2 เดือน
แถมสุขภาพยังแข็งแรงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนตัดมดลูกด้วย เพราะอาการผิดปกติจากโรคไม่ว่าจะเป็นอาการตกเลือด ปวดท้อง ปวดประจำเดือน ปวดหลัง เครียด อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ วิตกกังวลว่าตนเองจะเป็นโรคมะเร็ง ผายลมบ่อยและปัสสาวะบ่อย จะหายไปกว่า90%
ประเด็นHot ที่สงสัยกันมากคือ การตัด ‘มดลูก’ กับการมีเพศสัมพันธ์?
หลายคนคงไม่อยากตัดมดลูกเพราะกลัวจะมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ พลอยทำให้สามีไม่มีความสุข กระทบกระเทือนครอบครัว แต่มีงานวิจับพบข้อเท็จจริงว่า “หลังผ่าตัดมดลูกออกแล้วเรื่องเพศสัมพันธ์กลับดีขึ้น..”
- สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้บ่อยขึ้น เนื่องจากก่อนผ่าตัดนั้นมีอาการเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์จากโรคที่เป็น
- ลดอาการเจ็บปวดจากการมีเพศสัมพันธ์
- เพิ่มโอกาสถึงจุดสุดยอด
นอกจากนี้ยังพบว่าหลังผ่าตัดมดลูกออกไป ผู้ป่วยส่วนน้อยจะไม่สนใจมีเพศสัมพันธ์อีกเลย นอกจากปัญหาเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์แล้ว อาจมีเกิดจากบุคลิกหรือโรคเดิมของผู้ป่วยอยู่แล้วด้วยเช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการตัดมดลูก
คำแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังการตัดมดลูก
- โดยทั่วไปการผ่าตัดเฉพาะมดลูก และการผ่าตัด ‘มดลูก’ กับ รังไข่ ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 เดือน โดยผู้ป่วยต้องหยุดทำงาน ไม่ยกของหนัก แต่เดินไปมาในระยะสั้นๆทำกิจวัตรประจำวันได้ และควรงดการเดินทางไกลและเพศสัมพันธ์ไว้ก่อน
- แผลที่หน้าท้องใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 2 สัปดาห์ ส่วนแผลภายในและแผลที่ยอดช่องคลอดใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1-3 เดือน เมื่อแผลหายดีทั้งภายนอกและภายในจึงสามารถทำงานหนัก
ยกของที่มีน้ำหนัก5-10 กิโลกรัมได้ มีเพศสัมพันธ์ ออกกำลังกาย เดินทางไกลได้ แต่มีข้อระวังคือ ห้ามกลั้นปัสสาวะเพราะอาจทำให้เกิดอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยเฉพาะโปรตีน เพราะจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และมีธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด กินผักผลไม้วันละ 5 ส่วนหรือมากกว่า
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ งดของหมักดอง อาหารรสจัด รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ต้องระวังพยายามอย่าให้ท้องผูก เพราะการเบ่งอาจทำให้ปวดท้องและแผลที่เย็บไว้ปริได้
- พักผ่อนให้เพียงพอ ถ้ารู้สึกอ่อนเพลียในช่วงกลางวัน ควรนอนพักประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ควรพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 6-10 ชั่วโมง/วัน
- ไม่ควรนั่งยองๆเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมหย่อน ปวดหลัง หรือรู้สึกหน้ามืดเป็นลมได้
- เสริมอาหารเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน ให้ระดับฮอร์โมนอยู่ในสมดุลที่ดี เช่น โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง ,สารสกัดจากลูกชัค ตังกุย เก๋ากี้ฯ
สำหรับการตัดมดลูกที่จำเป็นต้องตัดรังไข่ออกไปด้วยเช่น เนื้องอกรังไข่ จะทำให้เกิดการขาดฮอร์โมนเพศและเกิดอาการของวัยทองได้ทันทีหลังผ่าตัด โดยเฉพาะคนอายุน้อยและมีรังไข่ปกติ
ถ้ายังมีรังไข่อยู่จะมีปัญหาน้อยลงมากหรือแทบไม่มีปัญหาเลย..เพราะร่างกายยังมีฮอร์โมนโมนอยู่ ฮอร์โมนช่วยสมดุลย์ร่างกายในทุกๆเรื่อง ถ้าฮอร์โมนไม่มีเราก็แก่เร็วขึ้น..ง่ายๆ คนแก่เป็นยังไงเราเป็นอย่างนั้น
ทางที่ดีพยายามหวงรังไข่ไว้เพื่อสร้างฮอร์โมน แต่ก็ต้องพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆร่วมด้วย บางคนอาจไม่มีอาการอะไรในช่วงแรกๆ แต่ค่อยๆเกิดตามมาแบบไม่รู้ตัว เริ่มชาที่ปลายนิ้ว เจ็บตามข้อ กระดูกพรุน ปวดท้อง จุกเสียดแน่น
แต่ถ้าสุดวิสัยต้องตัดรังไข่ออก ก็ควรปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายเรา เพื่อควบคุมและป้องกันอาการข้างเคียงอีกมากมายดังกล่าวที่จะตามมา…
หรือเสริมอาหารง่ายๆด้วยผลิตภัณฑ์ Click Plus (กล่องสีแดง) นวตกรรมการปรับสมดุลฮอร์โมนผู้หญิงด้วย Bioestrogen ซึ่งได้จากธรรมชาติ100% (ไม่มีสารเคมีเจือปน)
ด้วยสูตรผสมเฉพาะที่ลงตัวของต้นตำรับสมุนไพรที่ช่วยปรับฮอร์โมนโดยเฉพาะ อย่าง ตังกุย,Golgi berry,โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง, สารสกัดจากลูกชัด และสมุนไพรอื่นๆอีกเกือบ 10ชนิด
ช่วยเสริมการปรับสมดุลฮอร์โมนต่างๆของผู้หญิงเราให้ทำงานเป็นปกติ ลดอาการวัยทอง, ช่วยกระชับหน้าอก ช่องคลอด และฟื้นฟูผิวพรรณให้เรียบ เนียน ใส อย่างเป็นธรรมชาติได้ในหนึ่งเดียว
>> ปรับสมดุลฮอร์โมนผู้หญิงด้วย Click Plus <<
>> ดูแลตัวเองอย่างไรใน “วัยทอง” <<
>> ประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำยังไงดี<<