ทำอย่างไร? เมื่อ “ประจำเดือนมาไม่ปกติ”
อาการปวดท้องเนื่องจาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นอาการที่พบบ่อยมากในผู้หญิง แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่มีอาการปวดท้องน้อยทั้งๆที่ประจำเดือนยังไม่มาและยังไม่ได้ตั้งครรภ์อีกด้วย
เกิดความวิตกกังวลว่าร่างกายผิดปกติหรือเป็นลางบอกโรคอะไรหรือเปล่า? อาการปวดท้องประจำเดือนนี้บางคนก็ปวดมากจนแทบจะทำอะไรไม่ได้เลย
บางครั้งก็ต้องทานยาช่วยเพื่อบรรเทาอาการปวดดังกล่าว แต่ผลข้างเคียงของยาขับประจำเดือนนั้นคือมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเนื้องอกรังไข่ได้
ฉะนั้นถ้าอยากให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอโดยไม่ต้องกินยาขับประจำเดือน เรายังอีกหลายมีวิธีที่ปลอดภัยกว่าและไม่มีผลข้างเคียงเหมือนกับการทานยาเพื่อขับประจำเดือน
ประจำเดือน เกิดจาก..?
เมื่อผู้หญิงเราเข้าสู่วัยสาวก็จะมีฮอร์โมนจีเอ็นอาร์เอช (GNRH : Gonadotropin-releasing hormone) จากสมองส่วนไฮโปทาลามัส(hypothalamus) ส่งคำสั่งมายังต่อมใต้สมอง(Pituitary gland)
ให้หลั่งฮอร์โมนเอฟเอสเอช และแอลเอช (FSH : Follicular stimulating hormone, LH : Luteinizing hormone)ไปยังรังไข่ ทำให้ฟองไข่นี้มีการเจริญเติบโตและมีการตกไข่
ช่วงที่ไข่เจริญเติบโตนั้นร่างกายก็จะมีการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนออกมา ฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้นอกจากจะทำให้ผู้หญิงมีลักษณะเป็นสาวเต็มตัวแล้ว ยังจะกระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาตัวเพื่อเตรียมพร้อมที่จะเป็นที่อยู่ของทารกอีกด้วย
หลังจากที่ไข่ตกแล้ว ถุงรังไข่ที่เหลือจะสร้างฮอร์โมนเพศหญิงอีกตัวหนึ่งชื่อโปรเจสเตอโรน ซึ่งทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีเลือดและอาหารมาเลี้ยง
เยื่อบุมดลูกก็เปลี่ยนแปลง หนานุ่มขึ้นเพื่อเตรียมรับตัวอ่อน แต่ถ้าหากไม่มีการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิหรือไม่มีเพศสัมพันธ์ใดๆก็จะไม่มีตัวอ่อนมาฝังตัวที่มดลูก
หลังจากนั้นฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนก็จะลดลระดับลง จึงส่งผลให้เยื่อบุมดลูกขาดเลือดมาเลี้ยงและหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนนั่นเอง ซึ่งจะวนเวียนเป็นวงจรในแต่ละรอบของเดือน
ว่ากันว่าที่ผู้หญิงมีอายุยืนยาวมากกว่าผู้ชายนั้นก็เพราะมีประจำเดือนคอยบอกความผิดปกติ เนื่องจากการที่ประจำเดือนที่มาเป็นปกติจะต้องมีฮอร์โมนเพศที่ปกติ
ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการทำงานที่ปกติของสมองส่วนไฮโปทาลามัส ต่อมใต้สมอง รังไข่ มดลูก ปากมดลูก และช่องคลอดรวมถึงระบบฮอร์โมนอื่นๆเช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ รวมไปถึงสุขภาพร่างกายและจิตใจอีกด้วย
พูดง่ายๆก็คือความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายต้องปกติ มีสมดุลที่ดี ดังนั้นเมื่อเพศหญิงมีปัญหาสุขภาพร่างกาย เช่น มีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆหรือมีปัญหาสุขภาพจิต
เช่นเครียด ซึมเศร้า หรือมีปัญหาทางสูติ-นรีเวช ประจำเดือนก็มักจะมาผิดปกติ พอได้ไปพบแพทย์รักษาโรคที่ซ่อนเร้นเป็นสาเหตุทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติเสียแต่เนิ่นๆแล้ว ก็ทำให้ผู้หญิงมีความปลอดภัยจากโรคภัยตต่างๆจึงมีโอกาสที่อายุจะยืนยาวกว่าเพศชาย
ลักษณะของประจำเดือนที่ปกติ
- รอบเดือนที่ประจำเดือนมาในแต่ละรอบนั้นใช้เวลา 28 วัน บวกลบ 7 วัน นั่นคือรอบประจำเดือน 21 วันมาครั้งนึง คือมีประจำเดือนหัวเดือนท้ายเดือนก็ถือว่าปกติ ขณะที่รอบประจำเดือน 35 วันมาครั้งคือเดือนเศษมาครั้งหนึ่งก็ยังถือว่าปกติเช่นกัน
- เลือดประจำเดือนที่มา ไม่มากเกิน 80 ซีซีต่อหนึ่งรอบเดือน หรือประมาณว่าใช้ผ้าอนามัยขนาดมาตรฐานไม่เกิน 16 ผืน(ซึ่ง 1ผืนจะซับเลือดได้ประมาณ 5 ซีซี)
- ลักษณะของเลือดประจำเดือน ควรเป็นน้ำเลือดสีแดงคล้ำ อาจมีลิ่มเลือด (แต่ต้องมีขนาดไม่โตเกินเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร) อาจมีเศษเนื้อซึ่งเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาปนได้
- ประจำเดือนควรมาไม่เกิน 7 วัน โดยทั่วไปประมาณ 2-5 วัน (โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 วันต่อครั้ง)
- ประจำเดือนที่ปกติจะไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นคาวเลือดบ้าง (แต่ต้องไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า)
- เมื่ออายุมากขึ้น(มากกว่า 25 ปีขึ้นไป) หรือมีบุตรแล้ว หรือคุมกำเนิดโดยการใช้ฮอร์โมน(ซึ่งก็คือยาคุมกำเนิดชนิดกิน ฉีด ฝังนั่นเอง) ไม่ควรมีอาการปวดประจำเดือน
ความเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับประจำเดือน
1 .ประจำเดือน คือ เลือดเสีย ผู้หญิงทุกคนควรต้องมีประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการถ่ายเทของเสียทุกเดือน ความจริงแล้วประจำเดือนคือเลือดดี การมีประจำเดือนไม่ใช่การถ่ายเทของเสียนะ
การมีประจำเดือนในหญิงบางรายอาจทำให้อ่อนเพลียและโรคที่เป็นอยู่กำเริบได้ เช่น ในคนที่เป็นโลหิตจาง โรคทาลัสซีเมีย โรคเนื้องอกมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือช็อกโกแลตซีส
ซึ่งการรักษานั้นต้องไม่ให้มีประจำเดือน แนะนำให้ไปบริจาคเลือดค่ะ (หากไม่มีข้อห้ามในการบริจาค) เพราะประจำเดือนมาไม่เกิน 80 ซีซีต่อรอบ แต่การบริจาคเลือดครั้งหนึ่งจะบริจาคได้ 300-400 ซีซี จึงทำให้เม็ดเลือดใหม่ๆถูกสร้างขึ้นมา ร่างกายก็จะแข็งแรงขึ้นนั่นเอง
2. ประจำเดือนต้องมาสม่ำเสมอ หากประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่สม่ำเสมอเลยต้องกินยาขับประจำเดือน ซึ่งความจริงแล้วนั้นประจำเดือนไม่ได้มาสม่ำเสมอในผู้หญิทุกคน ทุกวัยหรือทุกโอกาส
ดังนั้นการมาไม่สม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องปกติในวัยรุ่น วัยก่อนหมดประจำเดือน ช่วงหลังคลอด ช่วงให้นมลูก หรือในช่วงที่กินยารักษาโรคมะเร็งซึ่งเป็นฮอร์โมน การคุมกำเนิดโดยการใช้ฮอร์โมน
เช่น ยาฉีด ยางฝัง บางคนเป็นกรรมพันธุ์ ฯ แต่ในบางคนที่ ‘ประจำเดือนมาไม่ปกติ’ ไม่สม่ำเสมออาจเป็นเพราะมีโรคซ่อนเร้นอยู่ก็ได้ ดังนั้นหากคิดจะกินยาขับประจำเดือนที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง
ซึ่งมีข้อห้ามสำหรับคนที่เป็นมะเร็งเต้านม โรคเนื้องอกมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือช็อกโกแลตซีส โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ ก็ควรไปพบแพทย์ก่อนเพื่อปรึกษาดูว่าจำเป็นต้องรักษา ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือไม่
วิธีทำให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ
- ควรดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะหากผอมหรืออ้วนมากไป จะทำให้ฮอร์โมนไม่ปกติได้ และส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติตามไปด้วย
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแต่ไม่ควรหักโหม เพราะคนที่ออกกำลังกายหนัก เช่น นักกีฬานั้นประจำเดือนมักมาไม่ปกติ ไม่สม่ำเสมอ หรือขาดหายไป
- ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้มดลูกอักเสบและฮอร์โมนผิดปกติ
- ควรมีวิธีรับมือกับความเครียด เพราะการไม่ได้พักผ่อน นอนไม่หลับจะทำให้ฮอร์โมนไม่ปกติได้
- ไม่ซื้อฮอร์โมนมากินเอง (ปัจจุบันมีฮอร์โมนเพศหญิงอยู่มากในท้องตลาด) หากเสริมฮอร์โมนในขณะที่มีระดับฮอร์โมนปกติอาจทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุลไปจนประจำเดือนมาไม่ปกติได้
- เมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติหรือไม่สม่ำเสมอควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากในบางกรณีต้องรักษา ขณะที่ในบางกรณีก็เป็นเรื่องธรรมดาซึ่งไม่ต้องรักษาก็ได้
- ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศในร่างกายให้ปกติ (Rebalance hormonal) ด้วยสมุนไพรธรรมชาติ (โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง+สารสกัดจากลูกชัค ฯ)
ที่จริงแล้วอาการปวดท้องประจำเดือนไม่ใช่เรื่องผิดปกติใดๆ เพียงแต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคุณผู้หญิงบางคนที่มดลูกมีการบีบรัดตัวอย่างรุนแรงเท่านั้น ไม่น่าวิตก
เว้นเสียแต่ว่าจะมีการปวดถ่วงอย่างรุนแรงบริเวณท้องน้อย ซึ่งหากปวดมากๆจนไม่เป็นอันกินอันนอน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติโดยด่วน
อย่าชะล่าใจ..เนื่องจากมีโอกาสมีโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ได้ และการปล่อยให้อาการปวดท้องประจำเดือนรุมเร้าทุกครั้งที่มีรอบเดือนโดยไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธีนั้น อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตอย่างมาก
การรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นเป็นหนึ่งวิธีที่พบได้บ่อยๆซึ่งก็ใช้ได้ผล แต่การสะสมของยาแก้ปวดในร่างกายอาจส่งผลต่อกระบวนการทำงานของตับ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
ฉะนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมจึงเป็นเรื่องสำคัญกว่ามาก เช่น การปรับสมดุลฮอร์โมน การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ วิ่งอยู่กับที่ กายบริหาร เต้นแอโรบิก การเดินวันละ 15-30 นาที
นอกจากจะช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายโดยรวมเป็นไปด้วยดีแล้วยังช่วยให้ร่างกายสามารถทนกับความเจ็บปวดได้มากขึ้นด้วย
บทความที่น่าสนใจ