ก่อนที่เราจะได้รู้วิธีทำยังไงให้ผอม เราจำเป็นต้องเข้าใจกลไกของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักที่เพิ่มและลดลงเสียก่อน
น้ำหนักลดหรือเพิ่มได้อย่างไร?
ปกติแล้วการขับรถยนต์เราจะรู้ว่าถังน้ำมันเราจะรู้ได้ถังจุได้ปริมาณเท่าไหร่ แถมยังมีมิเตอร์วัดให้รู้อีกว่าตอนนี้เหลือน้ำมันในถังอยู่เท่าไหร่ เราก็จะรู้ว่าเราจะวิ่งได้ไกลอีกแค่ไหน แล้วเมื่อไหร่เราควรจะเติมน้ำมันและเติมเท่าไหร่
คำถามก็คือ ทีนี้จะเกิดอะไรขึ้น ถ้ารถที่เราขับไม่มีมิเตอร์วัดน้ำมัน แถมเป็นรถยนต์ที่มีขนาดของถังน้ำมันใหญ่มาก จนสามารถเติมน้ำมันได้ไม่จำกัดอีกด้วย
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ในแต่ละวันเราจะไม่รู้ว่าเราใช้น้ำมันไปเท่าไหร่ เหลือน้ำมันเท่าไหร่ และเราควรเติมน้ำมันอีกเท่าไหร่ดี
อีกคำถามนึงคือ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราเติมน้ำมันมากกว่าน้ำมันที่เราใช้ในแต่ละวัน
คำตอบก็คือ เราจะมีน้ำมันที่ใช้ไม่หมด เหลือสะสมเพิ่มในถังมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน
น้ำหนักของเราเพิ่มได้อย่างไร
ร่างกายคนเราก็เหมือนกัน ในทุกๆ วันเราไม่มีมิเตอร์วัดว่าเราใช้พลังงานไปแค่ไหน และคนส่วนใหญ่ก็จะใช้ชีวิตในแต่ละวัน โดยไม่รู้ว่าเราเติมพลังงานเข้าไปเท่าไหร่ (ได้พลังงานจากอาหารที่กินเข้าไป)
คำถามก็คือ จะเกิดอะไรขึ้นหากทุกๆ วันเราเติมพลังงานให้ร่างกาย (ด้วยอาหารที่ทาน) มากกว่าพลังงานที่ร่างกายใช้ (เผาผลาญ)
คำตอบก็คือ เราก็จะมีพลังงานที่ใช้ไม่หมด สะสมเพิ่มในร่างกายเรามากขึ้นๆทุกวัน
โดยพลังงานที่เหลือจากที่ร่างกายใช้ ก็จะถูกเก็บสะสมในรูปแบบของไขมัน เราจะมีไขมันสะสมมากขึ้น น้ำหนักเราก็จะเพิ่มขึ้น ยิ่งเราได้พลังงานจากอาหารที่ทานมากกว่าพลังงานที่เราใช้มากเท่าไหร่น้ำหนักตัวเราก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น
สาเหตุที่ทำให้เราได้รับพลังงานจากอาหารที่ทานมากกว่าพลังงานที่เราใช้ จนทำให้เราอ้วนขึ้น เกิดจากสองสาเหตุหลัก (สาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือสองสาเหตุรวมกัน)
สาเหตุแรกคือ เราทานอาหารที่ให้พลังงานมากมากเกินไป
สาเหตุที่สองคือ ร่างกายเราเผาผลาญพลังงานน้อยเกินไปซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือหลายสาเหตุเช่น อายุมากขึ้น มีกิจกรรมน้อยลง
ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือมีพฤติกรรมที่ทำให้ร่างกายมีปริมาณโปรตีน (กล้ามเนื้อ) ลดลง เป็นต้น
ขอย้ำหลักการที่สำคัญที่สุดว่า ยิ่งเราทานอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าพลังงานที่เราใช้มากเท่าไหร่ น้ำหนักตัวของเราก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
พลังงานที่ได้จากอาหารที่ทาน – พลังงานที่เราใช้ => ยิ่งมาก น้ำหนักก็ยิ่งเพิ่มขึ้น
ทำอย่างไร..เราจึงจะ ‘ผอมลง‘
คำตอบนั้นง่ายมากก็คือ ทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นนั่นเอง…
ในทุกๆ วัน ให้เราพยายามทานอาหารให้ได้พลังงานน้อยกว่าพลังงานที่เราใช้ เมื่อพลังงานที่ได้จากอาหารมีไม่พอ ร่างกายก็จะไปดึงพลังงานที่เก็บสะสมในร่างกายมาใช้ น้ำหนักของเราก็จะลดลง
ขอให้จำหลักการที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า ยิ่งพลังงานที่เราใช้มากกว่าพลังงานที่เราได้จากอาหารมากเท่าไหร่ น้ำหนักตัวเราก็จะยิ่งลดลงมากเท่านั้น นั่นคือ เราจะ ‘ผอมลง’ นั่นเอง
พลังงานที่เราใช้ – พลังงานที่ได้จากอาหารที่ทาน => ยิ่งมากยิ่งลดน้ำหนักได้มาก
ซึ่งวิธีที่ทำให้เราเผาผลาญ (ใช้) พลังงานมากกว่าพลังงานที่ได้จากอาหารที่กินเข้าไปมี 2 ทาง
วิธีแรกก็คือ ทานอาหารให้ได้พลังงานน้อยลง เช่น กินไขมันกับคาร์โบไฮเดรตน้อยลง
วิธีที่สองก็คือ ทำให้ร่างกายเราเผาผลาญ (ใช้) พลังงานมากขึ้น (ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน) เช่น มีกิจกรรมให้มากขึ้น
ออกกำลังกาย หรือมีพฤติกรรมที่ทำให้ร่างกายมีปริมาณโปรตีน(กล้ามเนื้อ) เพิ่มขึ้น เป็นต้น
สรุปง่ายๆคือ ถ้าเราสามารถทำให้ร่างกายเราเผาผลาญพลังงานมากกว่าพลังงานจากอาหารที่กินเข้าไป เราก็จะ ผอมลง ได้แน่นอน 100%
ฟังดูแล้วก็เป็นหลักการที่เข้าใจง่าย น่าจะทำตามได้ง่าย… และคนจำนวนมากก็เข้าใจถึงหลักการนี้ แต่หากเป็นเรื่องง่ายแบบนั้นจริงคนส่วนใหญ่ก็คงจะไม่อ้วนแบบนี้
เหตุที่บางคนเข้าใจหลักการนี้แต่ลดน้ำหนักไม่ได้ก็เพราะว่า ยังมีความเข้าใจอีกมากมายที่ยังเข้าใจผิดอยู่..วันนี้ถึงยังไม่สามารถกำจัดไขมันส่วนเกินไปจากร่างกายได้อย่างถาวร (บางคนกลับมีมากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ)
ซึ่งเราจะเข้าใจเรื่องลดน้ำหนักอย่างลึกซึ้งได้ในบทถัดๆ ไป
ลดปริมาณพลังงานไม่ใช่ลดปริมาณอาหาร
ความเข้าใจที่สำคัญที่สุดก็คือ น้ำหนักของเราจะลดเมื่อเราเผาผลาญ (ใช้)พลังงาน มากกว่าพลังงานที่ได้จากอาหารที่ทาน ซึ่งไม่ได้แปลว่าเรากินอาหารปริมาณน้อยลง
เเล้วน้ำหนักของเราจะลด เพราะหากแม้ว่าเรากินอาหารปริมาณน้อยลง แต่ยังได้รับพลังงานพอๆกับพลังงานที่เราใช้ น้ำหนักเราก็ไม่ลดลงอยู่ดี..
เช่น ร่างกายเราเผาผลาญ 2,000 กิโลแคลอรี่ แล้วเรากินไก่ทอดมื้อละ 2 น่องวันละ 3 มื้อแล้วไม่ทานอย่างอื่นเลย เราจะได้พลังงานจากอาหารประมาณ 2,070 กิโลแคลอรี่
จะเห็นว่าเรากินอาหารปริมาณไม่มาก แต่พลังงานที่ได้จากอาหารที่ทานพอๆ กับพลังงานที่เราใช้ น้ำหนักเราจะไม่ลดลงเลย แถมน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นทีละนิดด้วย
เพราะเราได้พลังงานจากอาหารที่ทานมากกว่าพลังงานที่เราใช้ (น้ำหนักเพิ่มประมาณปีละ 3 กิโลกรัม)
วิธีการที่ถูกต้องคือ การลดปริมาณพลังงานจากอาหารที่ทานลง เช่น หากเรากินผัดถั่วงอกเต้าหู้มื้อละ 3 จาน วันละ 3 มื้อ จะเห็นว่าเราทานอาหารถึงมื้อละ 3 จาน
แต่เราได้พลังงานประมาณ 1395 กิโลแคลอรี่ต่อวันเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าพลังงานที่เราใช้ (2000 กิโลแคลอรี่)แบบนี้น้ำหนักเราจะลดลงได้ (ประมาณเดือน 2.3 กิโลกรัม)
น้ำหนักจะเพิ่มลดเท่าไหร่
เนื่องจากแต่ละคนจะมีอัตราการเผาผลาญพลังงานที่ไม่เท่ากัน และทานอาหารและพลังงานไม่เท่ากัน เราจึงรับประกันไม่ได้เลยว่าใครจะลดน้ำหนักได้เดือนละกี่กิโลกรัม
น้ำหนักที่ลดลงได้มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราได้พลังงานจากอาหารที่ทานน้อยกว่าพลังงานที่เราใช้มากเท่าไหร่ ยิ่งเราได้พลังงานจากอาหารที่ทานน้อยกว่าพลังงานที่เราใช้มากเท่าไหร่ น้ำหนักก็จะยิ่งลดลงได้มาก
จากข้อมูลทางการแพทย์ หากเราทานอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าพลังงานที่เราใช้ทุกๆ 7,700 กิโลแคลอรี่ น้ำหนักของเราจะเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม
และในทางตรงกันข้าม หากเราทานอาหารที่ให้พลังงานน้อยกว่าพลังงานที่เราใช้ทุกๆ 7,700 กิโลแคลอรี่ น้ำหนักเราจะลดลง 1 กิโลกรัม
เช่น สมมุติว่าร่างกายเราเผาผลาญพลังงานวันละ 2000 กิโลเเคลอรี เราทานอาหารได้พลังงานวันละ 1,230 กิโลแคลอรี่ ทุกวัน เราจะได้พลังงานจากอาหารที่ทาน น้อยกว่า พลังงานที่เราใช้ 770 กิโลแคลอรี่ (2000-1230 = 770)
เมื่อครบ 10 วันรวมแล้วพลังงานจากอาหารที่ทานน้อยกว่าพลังงานที่เราใช้เท่ากับ 7,700 กิโลแคลอรี่ น้ำหนักเราก็จะลดลงประมาณ 1 กิโลกรัม
โดยน้ำหนักของเราจะไม่ลดลงแบบเส้นตรง หมายถึงจะไม่ได้ลดลงด้วยอัตราคงที่ตลอดเวลา เช่น ไม่ได้ลดลง 1 กิโลกรัม ทุกๆ 10 วันแต่จะลดลงแบบขั้นบันได เช่น 3 วันแรกลดลง 0.5 กิโลกรัม
อีก 4 วันถัดมาคงที่ อีก 2 วันถัดมาลดลงอีก 0.5 กิโลกรัม อีกสามวันถัดไปคงที่เป็นต้น (ไม่ได้เหมือนขั้นบันไดเป๊ะแต่จะมีลักษณะคล้ายขั้นบันไดมีช่วงที่น้ำหนักลงมีช่วงที่น้ำหนักคงที่)
ควรชั่งน้ำหนักตอนไหนดี?
ในการลดน้ำหนักเราจำเป็นต้องชั่งน้ำหนักให้ถูกหลัก เพื่อให้เรารู้ว่า ที่จริงแล้วน้ำหนักของเราลดลงไปเท่าไหร่ โดยเราควรจะเครื่องเดิมทุกครั้ง เพราะแต่ละเครื่องจะไม่เหมือนกัน
และควรชั่งเวลาเดิมทุกครั้ง โดยเวลาที่แนะนำก็คือ ในตอนเช้าหลังจากเข้าห้องน้ำ (ถ่าย) แต่ก่อนทานอาหารเช้า เพราะการชั่งในช่วงนี้ เป็นการชั่งที่มีน้ำหนักอาหารมาเกี่ยวข้องน้อยที่สุดเลย..
เพราะน้ำหนักของเราก่อนถ่ายกับหลังถ่ายน้ำหนักจะไม่เท่ากัน ก่อนทานอาหารกับหลังทานอาหารก็ไม่เท่ากัน ฉะนั้นการชั่งในเวลาเดิมด้วยปัจจัยเดิมถึงจะทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้วน้ำหนักเราลดลงเท่าไหร่?
บทความที่น่าสนใจ
- 15 เรื่องต้องรู้ “การลดน้ำหนัก” ให้ถูกวิธี
- หุ่นเฟิร์ม แขนขากระชับ ด้วยวิธีลดน้ำหนักแบบเสริมโปรตีน
- อ้วนลงพุง ต้องลดน้ำหนักด่วน!!
- กาแฟลดน้ำหนักกระชับหุ่น Nutrinal Coffee