FAQ, ผื่นคันตามผิวหนัง อย่าเกา

‘ผื่นคัน’ ตามผิวหนัง.. อย่าเกา!

%e0%b8%9c%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%99-%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b2-scratch

อย่าเกา..ถ้ามี ‘ผื่นคัน’ ตามผิวหนัง

ถ้ามี ผื่นคัน ตามผิวหนังเกิดขึ้นหรือคันโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ควรซื้อยามากินหรือทาเอง

และที่สำคัญไม่ควรเกาเพราะเล็บของเราที่ครูดกับผิวหนังจะทำให้เกิดแผลและติดเชื้อได้ รีบหาหมอดีกว่าค่ะ…

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยเตือนว่า โรคผิวหนังติดเชื้อพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ว่าลักษณะของผื่น, บริเวณที่เกิดโรค มีความรุนแรงที่ต่างกัน เชื้อสาเหตุของโรคมี 4 กลุ่มหลักๆคือ ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และปาราสิต

1. เชื้อไวรัส

  • โรคอีสุกอีใส เกิดจากเชื้อซอสเตอร์ (varizella-zoster) ซึ่งติดต่อจากการหายใจ เริ่มจากการมีไข้ สักพักก็จะมีตุ่มแดงๆขึ้น คัน กระจายไปตามใบหน้าและลำตัว แล้วตุ่มแดงๆก็จะเปลี่ยนเป็นตุ่มใส

ต่อมา 2-3 วันก็จะตกสะเก็ดไป ตุ่มใหม่ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ในเด็กผื่นจะน้อย อาการไม่มาก ส่วนผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงและมีตุ่มขึ้นมากกว่า โดยทั่วไปผื่นจะหายเองโดยไม่มีแผลเป็น นอกจากจะติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

โดยเฉพาะจากการเกา พออีสุกอีใสหายเชื้อไวรัสตัวนี้ก็ไปหลบที่ปมประสาท เมื่อไหร่ก็ตามที่ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อต่ำลงก็จะเกิดโรคงูสวัดในภายหลังได้

  • โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสโรคอีสุกอีใสที่ซ่อนอยู่ในปมประสาทนี่แหล่ะ! พอร่างกายอ่อนแอเชื้อนี้จะแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นประสาท กระจายมาที่ผิวหนังเกิดตุ่มเหมือนอีสุกอีใสขึ้นมาตามบริเวณที่เส้นประสาทเส้นนั้นไปเลี้ยง

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคงูสวัด คือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ต่ำลงจากอายุมากขึ้นหรือได้รับยากดภูมิโรคมะเร็งโรคเอดส์ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทนำมาก่อนหรือเกิดพร้อมๆกับผื่น

ผื่นงูสวัดจะเป็นแนวยาวซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ไม่พันรอบตัว เพราะเส้นประสาท 1 เส้นเลี้ยงแค่ครึ่งหนึ่งของลำตัว แม้ผื่นงูสวัดหายไปแล้ว ก็อาจมีอาการปวดเรื้อรังบริเวณที่เป็น

คนส่วนใหญ่มักคิดว่างูสวัด พบในผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ในความเป็นจริง เด็กก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ ถ้าเกิดโรคในเด็ก มักได้ประวัติว่าเด็กเคยเป็นอีสุกอีใสเมื่ออายุน้อยกว่า 1 ปี หรือมารดาเป็นอีสุกอีใสระหว่างตั้งครรภ์

ซึ่งรักษาด้วยการให้ยาต้านและการรักษาตามอาการเช่น ประคบ ทายา ให้ยาแก้ปวด ส่วนใหญ่แล้วผื่นจะหายเองได้ใน 1-2 อาทิตย์ การให้ยาต้านเชื้อไวรัสถ้าจะให้ได้ผลดีต้องให้ภายในเวลา 72 ชั่วโมงแรก แปลว่าเราต้องสังเกตอาการให้ดี รู้ไว ก็จะคุมโรคง่ายขึ้น

  • โรคหูดข้าวสุก ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคหูดข้าวสุก ซึ่งจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนมีสีเดียวกับผิวหนังขนาดต่างๆ กัน กลางตุ่มบุ๋ม ภายในตุ่มจะพบสารสีขาวแข็งคล้ายข้าวสุก พบบ่อยช่วงลำตัว หน้าอก หลัง แขนขา อวัยวะเพศ รักษาโดยการจี้ไฟฟ้า ทายา หรือพ่นไนโตรเจนเหลว

2. เชื้อแบคทีเรีย

เชื้อแบคทีเรียที่ปกติอยู่บนผิวหนังทำให้เกิดโรคแผลพุพอง เริ่มจากตุ่มหนองหรือตุ่มน้ำใส แล้วตกสะเก็ดแห้งสีน้ำผึ้งติดแน่น พบที่หน้า แขน ขา ติดต่อลามจากแผลไปยังส่วนอื่นๆได้โดยการแกะเกา โรคนี้สัมพันธ์กับการไม่รักษาความสะอาด ความชื้น อากาศร้อน รักษาโดยใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียทา หรือยาปฏิชีวนะ

3. เชื้อรา

เกลื้อน เป็นเชื้อราปกติที่อยู่บนผิวหนัง ในสภาวะที่ความมันและความชื้นเหมาะสมจะก่อโรคได้ จึงพบได้บ่อย กับคนที่มีผิวมัน เหงื่อออกมาก ผิวหนังชื้นอยู่เสมอ

ลักษณะผื่นจะเป็นวงเล็กๆ เริ่มจากรอบรูขุมขน อาจขยายรวมกันเป็นปื้นใหญ่ ถ้าใช้เล็บขูดจะเห็นขุยชัดขึ้น ผื่นมีหลายสี ขาว แดง น้ำตาล พบบริเวณที่มันและชื้น อาจไม่มีอาการหรือคันเล็กน้อย

รักษาด้วยแชมพูกำจัดเชื้อรา เช่น 20% sodium thiosulfate หรือ 2.5% selenium sulfide หรือ ketoconazole โดยทาแชมพูทั่วบริเวณที่มันและชื้น เช่น ลำตัว ต้นแขน ต้นขา ทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วล้างออก

ถ้าฟอกมากเกินไป อาจเกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังได้ มักติดจากเล็บและเส้นผม เกิดจากการใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นโรค ติดจากดิน สัตว์ ร่วมกับผิวหนังที่ชื้น

  • กลากบริเวณในร่มผ้าเรียกว่า โรคสังคัง กลากที่ฝ่าเท้า ง่ามนิ้วเท้าเรียก ฮ่องกงฟุต กลากที่ผิวหนังเริ่มจากเป็นตุ่มแดงแล้วค่อยๆ ขยายลามออกไปเป็นวง ขอบเขตชัดเจน ขอบผื่นอาจจะมีตุ่มน้ำใสหรือเป็นหนองขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและปฏิกริยาจากภูมิต้านทานของผู้ป่วย บางครั้งผื่นลามติดกันหลายวง จนเป็นวงแหวนซ้อนกัน
  • กลากในเด็ก พบบ่อยที่ศีรษะ ผื่นเป็นขุยสีเทา ผมร่วง หัก หรืออักเสบมากเป็นตุ่มฝีหนองสลับกับร่องรอยของการอักเสบที่หายเองเป็นแผลเป็นเรียกว่า ชันนะตุ การทายาสเตียรอยด์ ผื่นอาจดีขึ้นแต่ไม่หายและลามออกเรื่อย กรณีเป็นกลากที่ผิวหนังควรใช้ยาทาฆ่าเชื้อราทาประมาณ 1-2 เดือน

4. ปาราสิต 

  1. โรคหิด เกิดจากไรชนิดหนึ่งติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิดผู้เป็นโรค เป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มแดงทั่วตัวแขนขา ผื่นมากบริเวณที่อุ่น ซอกพับ เช่น ง่ามนิ้วมือ ง่ามนิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเท้า ก้น และอัณฑะ ผู้ป่วยคันมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน หากเกามากอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เป็นตุ่มหนองร่วมด้วย
  2. เหา ตัวเหา อาศัยอยู่บนหนังศีรษะและเส้นผม อาศัยเลือดบนหนังศีรษะเป็นอาหาร โรคนี้เกิดการติดต่อและการแพร่กระจายจากศีรษะสัมผัสกันโดยตรง หรือจากการใช้สิ่งของร่วมกันเช่น หวี หมวก ผ้า หมวกกันน็อค ส่วนมากไม่มีอาการผิดปกติ บางคนจะมีอาการคัน หนังศีรษะแดงเป็นขุยหรือเป็นสะเก็ด อาจพบรอยเกาที่บริเวณหนังศีรษะ ตัวเหามองหายากเพราะคลานหลบตามเส้นผมได้ แต่ไข่เหานั้นพบได้ง่ายที่บริเวณท้ายทอยและหลังใบหู วิธีกำจัดเหามีหลายแบบอาจใช้ครีม เจล หวี หรือยากิน ไม่ว่าจะใช้วิธีใดต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของการรักษาวิธีนั้นๆอย่างเคร่งครัด

       สรุปคือหากมี ‘ผื่นคัน’ ตามผิวหนัง หรือคันโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ควรซื้อยามารับประทานหรือยาทาเอง เพราะไม่ว่ายากำจัดเชื้อรา ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านไวรัส ถ้าใช้ไม่ถูกต้องมีโอกาสทำให้เชื้อดื้อยาได้

ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ควรเกาหรือแกะเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเข้าไปอีกและมีการกระจายของโรคเพิ่มขึ้น..

     ว่านหางจระเข้เป็นอีกทางเลือกนึงในการรักษา สมุนไพรว่านหางจระเข้นี้มีสรรพคุณโดดเด่นมากในเรื่อง รักษาแผลต่างๆ โรคผิวหนัง โรคติดเชื้อ สามารถใช้รักษาและป้องกันก่อนที่จะเป็น

        สารอโลคูตินและอะลอคตินA ในว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และสลายพิษของเชื้อโรคได้, สารอะโลมิซิน สามารถระงับการขยายตัวของเชื้อไวรัส

รวมทั้งโพลีแซคคาไรด์ในว่านหางจะเข้ยังช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน ทำให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้น สามารถนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัยเพราะเป็นสารจากธรรมชาติ 100%

>> น้ำว่านหางจระเข้ S Vera plus <<
>> รีวิวน้ำว่านหางจระเข้ S Vera plus <<
>> สมานแผลด้วยเจลว่านหางจระเข้ <<

error: do not copy content!!