FAQ, ล้างสารพิษ

ล้างสารพิษ ดีท็อกร่างกายเพื่อพิชิตโรค

%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a9-detox-goodhealth

ล้างสารพิษ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

ถ้าคุณเคยมีอาการรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว ไม่กระฉับกระเฉง มีปัญหาผื่นแพ้บ่อยๆ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร

เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสียบ่อยๆ หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจจะถึงเวลาที่ควรจะทำการดีท็อกซ์เพื่อ ล้างสารพิษ ออกจากร่างกายแล้ว

ปวดท้องประจำเดือนจากภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ

สารพิษมาจากไหน

  1. สารพิษจากอาหาร
  2. สารพิษจากสภาพแวดล้อม เช่นโลหะหนัก,สารเคมี,ยาฆ่าแมลง,แอมโมเนีย
  3. ของเสียที่เกิดขึ้นจากขบวนการทำงานของเซลล์ และอวัยวะต่างๆในร่างกาย ซึ่งพบว่าสารพิษเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งถึง 50%

การขับสารพิษโดยวิธีธรรมชาติ

ปกติแล้วร่างกายจะมีขบวนการกำจัดสารพิษตามธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น

  • การขับเหงื่อออกทางผิวหนัง

เหงื่อออกเป็นการขับสารพิษตามธรรมชาติ

  • การปัสสาวะ(ผ่านทางไต),อุจจาระ (ผ่านทางลำไส้)
  • การหายใจออกช้าๆ
  • ระบบน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง
  • การขจัดสารพิษของตับ

หน้าที่ของตับในการขับสารพิษ

ปกติแล้วสารพิษที่เข้ามาในร่างกาย จะถูกส่งไปยังตับเพื่อทำการขจัดสารพิษ ถ้าตับทำงานไม่ทันหรือทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ สารพิษเหล่านี้ก็จะถูกปล่อยสู่กระแสเลือดก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย โดยการขจัดสารพิษของตับสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ(phase)หลักๆ คือ

1. Phase 1 : ผ่านการทำงานของเอ็นไซม์ไซโตโครม พี450 (Cytochrome P450 enzyme) เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของสารพิษ ซึ่งอาจจะมีฤทธิ์ลดลงหรือรุนแรงขึ้นก็ได้

2. Phase 2 :  ทำให้สารพิษที่ผ่านการทำลายจากระยะแรกไปจับกับสารอื่นๆ เช่น กรดอะมิโน,กลูตาไทโอนเป็นต้น เพื่อให้ละลายน้ำได้ หลังจากนั้นจะขับออกจากร่างกายทางน้ำดีและปัสสาวะ

ตับทำหน้าที่ขจัดสารพิษในร่างกาย

การทำดีท็อกมีกี่ชนิด

สำหรับการ ล้างสารพิษ หรือการทำดีท็อกนั้นมีมานานแล้วไม่ว่าจะเป็นการแพทย์อายุรเวท หรือการแพทย์แผนจีน โดยแบ่งหลักๆ ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. แพทย์แผนปัจจุบัน เช่น การฟอกเลือด,การทำคีเลชั่น (Chelation),การสวนล้างลําไส้ใหญ่

  • คีเลชั่นบําบัด (Chelation Therapy)

คีเลชั่นบําบัด คือ การให้สารน้ำทางหลอดเลือด(ให้น้ำเกลือ) ที่มีสารประกอบประเภทกรดอะมิโนที่เรียกว่า EDTA ผสมกับวิตามินและแร่ธาตุ

ล้างสารพิษในร่างกายด้วยวิธีคีเลชั่นบําบัด (Chelation Therapy)

ซึ่ง EDTA ทำหน้าที่สำคัญในการจับสารโลหะหนักเช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู หรือแม้แต่แคลเซียมส่วนเกิน ซึ่งสะสมตกค้างในเนื้อเยื่อและพอกอยู่ตามผนังหลอดเลือดของเรา

เพื่อขจัดออกทางปัสสาวะ ดังนั้นผู้ที่จะเข้ารับการทำคีเลชั่นควรมีสภาพการทำงานของไตที่สมบูรณ์เพียงพอด้วยกระบวนการนำสารพิษโลหะหนักออกจากร่างกาย

จะช่วยปรับสมดุลและช่วยให้ร่างกายปลอดจากสารพิษของโลหะหนักต่างๆเหล่านั้น จึงมีส่วนช่วยต้านความชราร่วงโรย และความเสื่อมของร่างกาย

  • การสวนล้างลําไส้ใหญ่ (Colon Hydrotherapy)

การสวนล้างลําไส้ใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างคือการดีท็อกซ์ลำไส้ เป็นการทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ด้วยน้ำบริสุทธิ์เพื่อขจัดสารพิษหรือของเสียที่ตกค้างอยู่ รวมถึงเมือกที่เกาะตามผนังลำไส้ใหญ่

ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆมากมาย เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ท้องผูกหรือท้องเสียบ่อย สิวอักเสบ ผิวหนังแห้งกร้าน มีกลิ่นปาก

กลิ่นปากเหม็น บ่งบอกสุขภาพ

ภูมิแพ้เรื้อรัง ภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (Autoimmune Disease) ความเหนื่อยล้า โรคผิวหนัง หรืออาการซึมเศร้า

2. แพทย์ทางเลือก เช่น การอดอาหาร,การขับเหงื่อ,การหายใจเข้าออกลึกๆ,ทานอาหารเสริมเพื่อดีท็อก

โดยการดีท็อกเป็นการพักการทำงานของร่างกาย,ทำความสะอาดร่างกายจากภายในออกมา โดยการกำจัดสารพิษออกนอกร่างกาย และเสริมอาหารที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูสภาพ กลับมามีสุขภาพดังเดิม

การล้างสารพิษต้องทำอย่างไร

ปัจจุบันสารพิษในสภาวะแวดล้อมมีมากขึ้นทุกๆวัน จึงแนะนำว่าเราควรทำการล้างพิษด้วยการทำคีเลชั่นหรือการสวนล้างลำไส้ใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้ทุกวันคือ ลดปริมาณสารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกาย เช่น งดดื่มเหล้า,กาแฟ,งดสูบบุหรี่,ลดอาหารประเภทแป้ง,น้ำตาล และไขมันอิ่มตัว

ลดอาหารพวกแป้งและน้ำตาล

โดยทานอาหารที่ช่วยปรับสภาพของร่างกายให้เป็นด่างเล็กน้อย นอกจากนี้ การลดใช้สารเคมีต่างๆ อาทิเช่น แชมพู,สเปรย์,น้ำยาล้างจาน แล้วเปลี่ยนมาใช้สารจากธรรมชาติ ก็เป็นการลดสารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกายได้อีกทางหนึ่ง

ลดความเครียด ลดสารพิษ

เมื่อร่างกายเราเกิดสภาวะเครียด จะมีการกระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา ซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีส่วนเพิ่มปริมาณและอันตรายของสารพิษในร่างกาย

ลดความเครียด ลดสารพิษที่สะสมในร่างกาย

รวมไปถึงลดขบวนการกำจัดสารพิษโดยตับ ดังนั้น กิจกรรมต่างๆเพื่อลดความเครียด เช่น การเล่นโยคะ,ชิกงหรือนั่งสมาธิ จะมีส่วนช่วยในการลดความเครียด ลดสารพิษ เป็นประโยชน์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

มีอาหารและอาหารเสริมอีกหลายชนิดที่มีส่วนช่วยในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ได้แก่

  • ใยอาหารที่ได้จากผักผลไม้ โดยเราควรได้รับไฟเบอร์ทั้งชนิดที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำในปริมาณ 25-30 กรัม/วัน
  • แอนตี้ออกซิแดนท์ เช่น วิตามินซี,อี,สังกะสี และกรดไลโปอิก ( alpha-Lipoic acid)
  • กรดอะมิโนและวิตามิน เช่น วิตามินบี 3 (ไนอะซิน),วิตามินบี 6,ไกลซีน,กลูตาไทโอน
  • ไฟโตนิวเทรียนท์จากพืช เช่น สารซัลโฟราเฟนจากบล็อกโคลี่,ชาเขียว,กระเทียม,มะนาว

ไฟโตนิวเทรียนส์ ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย

ความเครียดสะสมทำต่อมหมวกไตล้า

จากสภาพการใช้ชีวิตที่เร่งรีบและแข่งขันในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดภาวะเครียดกับคนทั่วไปได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากครอบครัว,เพื่อนร่วมงาน หรือสังคมต่างๆซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นเราอาจจะไม่รู้ตัว

แต่พอเกิดซ้ำๆกันเป็นเวลานานก็ทำให้เกิดภาวะความเครียดสะสมจนต่อมหมวกไตล้า (Adrenal fatigue) พบได้บ่อยในวัยทำงาน หรือวัยเรียนถึง 80-90%

ความเครียดสะสมทำให้เกิดโรค

ต่อมหมวกไตล้า คนก็ล้า

ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเพื่อเผาผลาญอาหารใ ห้ร่างกายสร้างพลังงานขึ้นมาจนสามารถต่อสู้กับภาวะความเครียด ความเหนื่อยล้าต่างๆได้

แต่เมื่อเครียดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ต่อมหมวกไตทำงานมากไปจนเกิดอาการล้าและส่งผลให้ไม่สามารถรักษาระดับพลังงานของร่างกายให้เพียงพอได้

ปัญหาภาวะต่อมหมวกไตล้า อาจยังไม่รู้จักกันมากนัก เพราะเป็นเพียงแค่อาการที่เกิดจากต่อมหมวกไตทำงานลดลง เป็นภาวะก่อนที่จะเป็นโรค ยังไม่ถึงกับแสดงอาการเป็นโรค

แต่จะทำให้เรามีสุขภาพที่ไม่ได้แข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่ (Optimal health) เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียเรื้อรัง ไม่ค่อยมีแรง และทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ถ้าสะสมเป็นเวลานานๆ ก็จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา

ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ ที่หุ้มอยู่บริเวณขั้วไตทั้ง 2 ข้าง โดยเป็นอวัยวะอันหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิดในร่างกาย

ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเพื่อเผาผลาญอาหาร

1. ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความเครียด โดยปกติแล้วร่างกายจะสร้างฮอร์โมนนี้ขึ้นมามากในตอนเช้า

ทำให้ร่างกายตื่นตัว พร้อมที่จะรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาในระหว่างวัน โดยคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนแห่งความเครียดนี้ จะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด

2. ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน ( Aldosterone) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมสมดุลของแร่ธาตุโซเดียมและโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการควบคุมของเหลวในร่างกาย

3. ฮอร์โมนดีเฮชอีเอ (DHEA, Dahydroepiandosterone) เป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิงและชายต่อไป

เช่น เอสโตรเจน,โปรเจสเตอโรน, เทสโทสเตอโรน โดยมีหน้าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อ ลดไขมัน,กระตุ้นภูมิคุ้มกันและทำให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉง มีพลัง

สาเหตุที่ทำให้ต่อมหมวกไตล้าได้แก่ เครียด คิดมาก,นอนหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ,ไม่ยอมเลิกงาน แม้จะรู้สึกเหนื่อย,นักศึกษาช่วงอ่านหนังสือสอบ, ชีวิตแต่งงานที่ไม่ราบรื่น,เครียดจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มักจะมีอาการดังนี้

  • ตื่นยาก นอนไม่ค่อยหลับ และยังคงมีอาการเหนื่อยล้า แม้จะนอนหลับเพียงพอแล้ว
  • คิดซ้ำซาก วกไปวนมา ง่วงเหงาหาวนอนทั้งวัน
  • ไม่มีแรง หรือพลังงานในการใช้ชีวิตประจำวัน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

ต่อมหมวกไตล้า ทำให้อ่อนเพลีย ง่วงนอน

  • เครียดง่าย โกรธและโมโหง่าย หายป่วยช้า
  • มีอาการอยากกินของหวาน หรืออาหารเค็มๆ
  • อารมณ์ทางเพศลดลง
  • ความดันต่ำ หรือรู้สึกหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืน หรือลูกจากเตียงนอน
  • มีอาการซึมเศร้า และรู้สึกไม่ค่อยมีความสุขในชีวิต
  • อาการเหล่านี้จะรุนแรงขึ้น ถ้ารับประทานอาหารไม่เพียงพอหรืออดอาหารเช้า

การรักษาอาการต่อมหมวกไตล้า

  • ลดความเครียด
    • ลองใช้ชีวิตแบบไม่ต้องจัดตารางเวลาในการทำงานแต่ละวันบ้าง
    • การควบคุมลมหายใจเข้าออก,นั่งสมาธิ

ควบคุมความเครียด สงบจิตใจ

  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมหรือพยายามปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ถ้าทำไม่ได้ควรเปลี่ยนงานหรือย้ายที่อยู่ไปเลย
  • ออกกำลังกาย
    • เลือกชนิดการออกกำลังกายที่สนุก เช่น โยคะ,จ๊อกกิ้งในสวน ไม่ควรเป็นการแข่งขันเพื่อเอาชนะ
    • ควรออกกำลังกายหลากหลายร่วมกันทั้งแบบแอโรบิคและแอนแอโรบิค เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกาย
    • นอนหลับให้เพียงพอ,หาเวลาไปเที่ยวพักผ่อนบ้าง
  • อาหาร
    • อย่างดอาหารเช้า ควรกินก่อน 10 โมงเช้า
    • แบ่งอาหารที่รับประทานเป็นมื้อเล็กๆ วันละหลายๆมื้อ
    • รับประทานผลไม้จิ้มเกลือ หรือ น้ำผลไม้ใส่เกลือ โดยเฉพาะตอนเช้า
    • หลีกเลี่ยงขนมหวาน เช่น เค้ก,คุกกี้,โดนัท
    • กินอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ขนมปังโฮลวีต,ผัก,ผลไม้
    • ลดการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลังที่มีคาเฟอีน
    • รับประทานอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินซี,บี 5, ไนอะซิน( บี3), แมกนีเซียม,โสม,ชะเอม,เห็ดหลินจือ เป็นต้น เพื่อเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต

ดีท็อกลำไส้ที่ดีที่สุด ไฟโตวี่ Phytovy detox

บทความที่น่าสนใจ

error: do not copy content!!