![%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%87-neurotransmitter-brain](https://www.tisatrendy.com/wp-content/uploads/2016/02/brain-brilliance.jpg)
สมอง ..สะดุด! เมื่อหยุดเติมสารสื่อประสาท
ในวงการแพทย์ของโลกมีเวชศาสตร์ชะลอวัยบอกไว้ว่า คนแก่นั้นไม่ได้แก่ที่อายุ แต่แก่ที่สมอง ตัวอย่างเช่นถ้าเราอายุน้อยแต่เฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้นอย่างนี้เรียกว่าคนแก่
แต่ขณะที่คนอายุประมาณสัก70-80 ยังกระฉับกระเฉงอยู่ ยังชอบเล่นกีฬา ชอบเข้าสังคม อย่างนี้เรียกว่ายังไม่แก่ ฉะนั้นเรื่องแก่หรือไม่แก่นั้นวัดกันที่สมอง ไม่ใช่อายุ..
สมอง สำคัญอย่างไร?
สมอง เป็นอวัยวะหลักของระบบประสาท ทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการทุกอย่างของร่างกายและจิตใจ ทำหน้าที่รับรู้และปฏิบัติงาน ทั้งควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติของร่างกาย กรณีที่สมองเราไม่ทำงานก็เหมือนสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการสั่งการซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าชายนิทรานั่นเอง
ในขณะเดียวกันถ้าสมองทำงานแต่ว่ามันเสื่อมลง ทำหน้าที่ลดลงในไม่ช้าก็จะกลายเป็นโรคความจำเสื่อมได้ โครงสร้างของสมองที่สำคัญ คือตัวเซลล์สื่อประสาท ซึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณสั่งให้ร่างกายรับรู้
เช่น เรายกมือขวาขึ้น มือขวาจะถูกสั่งการโดยสมองซีกซ้าย แต่หากเราเป็นโรคเส้นเลือดอุดตัน เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง มือขวาก็จะใช้งานไม่ได้ สาเหตุเกิดจากเซลล์สมองถูกทำลายหรือสารสื่อประสาทนั้นเสื่อมลง
เมื่อเซลล์สมองถูกทำลายจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้แล้ว ใช้วิธีกายภาพจะหายไหม?
ตอบตรงๆนะครับ.. ว่าจริงๆแล้วร่างกายไม่ได้เสื่อม ตัวเสื่อมอยู่ที่สมอง แต่ถ้าเซลล์สมองตายไปแล้วจะทำยังไงส่วนที่เป็นอัมพาตก็จะไม่สามารถพื้นกลับมาได้ เพราะสมองเป็นตัวสั่งการระบบประสาททั้งหมด ขณะที่อวัยวะร่างกาย แขน ขานั้นเป็นเพียงตัวรับคำสั่ง ต้องโฟกัสที่สมองครับ..
หลักการคือเซลล์สมองมีหน้าที่ส่งสัญญาณ ตัวเซลล์สมองไม่ได้เป็นตัวออกฤทธิ์แต่จะส่งสัญญาณผ่านสารสื่อประสาทซึ่งเปรียบเสมือนการวิ่งส่งสัญญาณผ่านแบบเป็นทอดๆ สารสื่อประสาทจะส่งสัญญาณไปเรื่อยๆต่อเนื่องกันไป
ถ้าร่างกายไม่สามารถสร้างสารสื่อประสาทได้ หรือสร้างได้แต่ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเกิดอาการต่างๆขึ้นมาตามในแต่ละช่วงวัย เช่น ผู้สูงอายุ จะมีอาการความจำหลงลืมง่าย บ่อยครั้งขึ้น ลืมชื่อเพื่อนจากที่เมื่อก่อนจำได้
อัลไซเมอร์ ขี้น้อยใจ โรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย ขี้บ่น หรือปลีกตัวออกจากสังคม
หนุ่มสาว วัยทำงาน เป็นช่วงวัยที่ใช้สมองหนัก มักมีอาการสมองตื้อคิดอะไรไม่ออก? คิดวิตกกังวล เครียด นอนหลับไม่สนิทตลอดทั้งคืน ไม่กระตือรือร้น อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย
วัยเด็ก นักเรียน นักศึกษา จะมีอาการสมาธิสั้น ห่วงเล่น อ่านหนังสือเป็นตั้งๆแต่ก็ไม่จำสักที ชอบพูดมากกว่าฟัง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ช้า เกิดความเครียดช่วงใกล้ๆสอบ
อาการเหล่านี้เกิดจากการมีสารสื่อประสาทลดลง การสื่อสารสั่งงานของสมองจึงขาดประสิทธิภาพ ทำให้การทำงานของเซลล์สมองไม่ปกติ เพราะฉะนั้นความผิดปกติของสมองนั้นจึงเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย
เราจะเพิ่ม ‘สารสื่อประสาท’ ให้กับร่างกายได้อย่างไร?
สารสื่อประสาทสำคัญที่มีชื่อเรียกว่า ฟอสฟาติดิลเชอรีน หรือ(PS)นั้น ปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีจากประเทศฟินแลนด์ สามารถสกัดเอาสารสื่อประสาทฟอสฟาติดิลเซอรีน (PS) ได้ในปริมาณที่เพียงพอและมีความปลอดภัย
มีการผลิตตามหลักมาตรฐาน GAP GMP GLP ของยุโรปอย่างเคร่งครัด เน้นเสริมสร้างและเพิ่มสมรรถนะของสมอง เหมือนกับเรารับประทานอาหารปกติ ง่ายและสะดวกกับผู้บริโภค
เพราะการรับประทานน้ำถั่วเหลืองให้เพียงพอกับปริมาณความต้องการสารสื่อประสาทนั้น เราต้องทานน้ำถั่วเหลืองจำนวนเป็นร้อยๆแก้ว และเมื่อเซลล์สมองได้รับสารสื่อประสาท PS อย่างเพียงพอ สมองก็จะทำงานได้ปกติขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สารสื่อประสาท (neurotransmitter) แบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
1. สารสื่อประสาทกลุ่มโคลิเนอร์จิค (Cholinergic) ได้แก่ อะซิทิลโคลีน (Acetylcholine ) บางครั้งเรียกย่อๆว่า โคลีน(Choline) พบมากที่ปมประสาทอัตโนมัติ
2. สารสื่อประสาทกลุ่มอะดรีเนอร์จิค (Adrenergic) ได้แก่ สารนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) ,อะดรีนาลีน (Adrenaline) และ สารโดปามีน (Dopamine)
3. กลุ่มซีโรโตนีน (Serotonin) สร้างจากสารตั้งต้น คือ อะมิโนที่ชื่อว่าTryptophan ช่วยควบคุมการนอนหลับระยะหลับตื้น ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย สภาวะอารมณ์ และการรับรู้ความรู้สึก ความเจ็บปวด ทำงานสัมพันธ์กับโดปามีน และเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ
4. สารสื่อประสาทที่เป็นกรดอะมิโน (Amino group) ประกอบด้วยแกมมาอะมิโนบิวไทริคแอซิด หรือ กาบา
- ไกลซีน (Glycine) เป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง พบมากที่เซลล์เชื่อมของไขสันหลังและของสมองส่วนMedullaและPons
- กลูตาเมต (Glutamate) และ แอสปาร์เทต (Aspatate) เป็นสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น พบมากในระบบประสาทส่วนกลางมีความสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ และความจำ
5. นิวโรเปปไตด์ (Neuropeptide) เป็นสารสื่อประสาทที่มีความแรงของการออกฤทธิ์สูง จึงมีปริมาณต่ำ โดยทั่วไปมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ช้า
ได้แก่โอพิออยด์เปปไตด์ (Opioid peptide) เช่น ไดนอฟฟิน, เอนโดร์ฟิน (Endorphin) มีโครงสร้างคล้ายมอร์ฟีน (Morphine) ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการส่งสัญญาณความเจ็บปวด
6. กลุ่มฮีสตามีน (Histamine) เป็นสารพบมากในต่อมใต้สมอง เกี่ยวข้องกับการควบคุม การดื่มน้ำ การหลั่งฮอร์ โมน ADH (ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย) การอาเจียน การตื่น การควบคุมอุณหภูมิ
ใครบ้างที่ควรรับประทานสารสื่อประสาท PS
หลักง่ายๆครับ ควรสังเกตตัวเองว่าเราและคนรอบข้างใช้สมองในปริมาณมากๆหรือเปล่า เช่น
- วัยเรียน อ่านหนังสือเยอะต้องใช้สมาธิ ใช้ความคิดและความจำค่อนข้างเยอะ
- วัยทำงานหรือผู้บริหาร มีภาวะความเครียดสูง ต้องใช้ความคิดวิเคราะห์ สร้างสรรผลงาน บริหารงานต่างๆเยอะมาก
- ผู้สูงวัย เซลล์สมองเสื่อมไปตามวัย จึงควรดูและเซลล์สมองและหลอดเลือดอย่างสม่ำเสมอ
คนเหล่านี้ทุกกลุ่มควรได้รับสารสื่อประสาทให้เพียงพอ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพทีสมบูรณ์แข็งแรงด้วยประสิทธิภาพที่ดีของสมอง
>> รายละเอียดสินค้า : อาหารเสริมบำรุงสมอง Flow <<