4 พฤติกรรมดีต่อสุขภาพ, FAQ

4 พฤติกรรมควรทำเพื่อให้ ‘สุขภาพดี’

%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%94%e0%b8%b5-good-health

สุขภาพดี ด้วย 4 พฤติกรรม

บางครั้งขณะที่เราจดจ่อกับการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมบางอย่างจนมากไป เผลอลืมตัว..

เราอาจมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างที่อาจไม่เป็นมิตรกับสุขภาพของเราเอง พอมารู้อีกทีก็ตอนเริ่มมีอาการบางอย่างแล้ว

ทางที่ดีเราควรป้องกันและปรับพฤติกรรมแต่แรกเพื่อช่วยให้เรามี ‘สุขภาพดี’ ซึ่งง่ายกว่ามากและดีกว่าต้องมารักษาเยียวยาในภายหลัง ลองมาดูว่ามีอะไรบ้าง?

1. เลิกหายใจด้วยปาก

ไม่ว่าจะนอน ทำงาน ดูทีวี กินข้าว หรือทำกิจกรรมใดๆ เราก็ต้องหายใจอยู่ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ เพราะการหายใจถูกควบคุมด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ

เช่นเดียวกับหัวใจและระบบทางเดินอาหาร ที่จะทำงานอยู่ตลอดเวลาแม้ไม่รู้สึกตัวก็ตาม เราบังคับระบบเหล่านี้ให้หยุดไม่ได้ เว้นแต่การหายใจที่เราสั่งร่างกายให้หยุดหายใจได้ชั่วครู่

1.1 หายใจให้ถูกวิธี

หายใจให้ถูกวิธีอีกหนึ่งการมีสุขภาพดี

ต้องนำลักษณะของการหายใจมาปรับระบบประสาทอัตโนมัติที่มักจะเสียสมดุลบ่อย ระบบประสาทอัตโนมัติมี 2 แบบคือ ระบบประสาทซิมพาเทติกที่จะทำงานตอนตื่นเต้นดีใจ กับระบบพาราซิมพาเทติกที่ทำงานขณะผ่อนคลาย

“การที่เราจะมีสุขภาพแข็งแรงได้นั้นระบบประสาททั้ง 2 ชนิดนี้ต้องอยู่ในภาวะสมดุลกัน” สังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้าจากภายนอกและความเครียด

ระบบประสาทซิมพาเทติกจึงต้องทำงานอย่างหนัก เพราะเป็นระบบที่ส่วนใหญ่ทำหน้าที่กระตุ้นอวัยวะให้ทำงาน ทำให้สิ้นเปลืองเอ็มไซม์มากขึ้น แต่จะไปยับยั้งการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง

คนสมัยนี้มักทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติเสียสมดุลไป วิธีปรับสมดุลระบบประสาทอัตโนมัติได้ก็คือ “การหายใจด้วยท้อง” ซึ่งจะช่วยบังคับระบบซิมพาเทติกและกระตุ้นระบบพาราซิมพาเทติกให้ทำงาน

ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลาย คลายเครียด และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้วย

วิธีที่เหมาะที่สุดคือ ฝึกหายใจด้วยท้อง 45 ครั้ง/ชั่วโมง เลือกสถานที่อากาศดี เริ่มจากค่อยๆหายใจเข้าโดยให้ส่วนท้องขยาย พอกล้ามเนื้อที่เอวเริ่มตึงจึงค่อยๆหายใจออกแล้วเริ่มต้นใหม่

เสื้อผ้ารัดรูปจะทำให้หายใจไม่สะดวกจึงไม่ควรใส่,ยกทรงที่รัดแน่นจนเกินไปก็จะกดทับปอด ทำให้สูดอากาศได้น้อยลง 20-30% พอหายใจไม่สะดวก ออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายจะไม่เพียงพอ เกิดปัญหาต่างๆตามมาเช่น อาการเหนื่อยเรื้อรัง

การฝึกหายใจด้วยท้องทำได้ไม่จำกัดสถานที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ เป็นวิธีง่ายๆที่ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงได้ดีมาก

ที่ต้องระวังขณะฝึกหายใจคือต้องหายใจด้วยจมูกเท่านั้น มีคนจำนวนมากใช้ปากหายใจ ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองหายใจโดยใช้ปากหรือเปล่า? ก็ลองใช้มือปิดปากขณะหายใจดู

ถ้ารู้สึกว่าหายใจลำบากแสดงว่าเราใช้ปากหายใจโดยไม่รู้ตัว มันเป็นการฝืนกฎธรรมชาติ ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน และเป็นต้นเหตุของโรคหลายชนิดการฝึกใช้จมูกหายใจในเด็กให้ใช้จุกนมเทียม ส่วนผู้ใหญ่ให้หาอะไรเคี้ยวขณะฝึก จะทำให้เราใช้จมูกหายใจจนเป็นนิสัยได้

1.2 ข้อดีของการหายใจด้วยจมูก

    • กรองฝุ่น อากาศที่เราหายใจเต็มไปด้วยฝุ่นละออง จุลินทรีย์ การใช้จมูกหายใจเยื่อบุโพรงจมูกจะช่วยกำจัดเชื้อโรคได้ถึง 50-80%
    • ตอนที่อากาศผ่านเข้าไปในโพรงจมูก จะถูกปรับอุณหภูมิและเพิ่มความชื้น ช่วยป้องกันไม่ให้หลอดลมแห้ง ยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรค

ถ้าปอดแห้งเกินไปหรืออุณหภูมิของอากาศต่ำเกินไป อากาศจะจับตัวกับเนื้อเยื่อปอดได้ยาก.. อัตราการดูดซึมออกซิเจนก็จะลดลง

แต่ถ้าหายใจด้วยปาก สารพิษจะเข้าสู่หลอดลมและปอดโดยตรง เชื้อโรคขยายพันธุ์ง่าย ที่สำคัญคือได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

คนดื่มเหล้ามักจะนอนกรน เป็นเพราะแอลกอฮอล์จะไปทำให้เยื่อบุในจมูกบวม ทำให้หายใจด้วยจมูกลำบาก เลยใช้ปากหายใจแทนโดยไม่รู้ตัว

ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ออกซิเจนในเลือดจะลดลง อาจมีอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จึงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวได้ง่าย

2. ออกกำลังกายตอนเช้าดีที่สุด

ออกกำลังกายตอนเช้าช่วยให้สุขภาพดี

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่การทำอย่างหักโหมจะทำให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก และต้องใช้เอ็นไซม์ในการกำจัด เราจึงต้องออกกำลังกายให้ถูกวิธี

เพราะจะช่วยปรับการไหลเวียนทั้ง 5 ในร่างกายได้อย่างดี ทั้งระบบเลือดน้ำเหลือง ระบบทางเดินอาหาร ปัสสาวะ ลมหายใจ และปราณ เมื่อการไหลเวียนทั้งหมดนี้ถูกปรับให้ดีขึ้น

การลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนรวมถึงการขับของเสียก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น เมทาบอลิซึมจะทำงานได้อย่างเต็มที่

 การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะจะทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นด้วย เป็นการกระตุ้นเอ็นไซม์และภูมิคุ้มกันไปในตัว เท่ากับกระตุ้นเอ็นไซม์ 2 ทาง ช่วยได้มากโดยเฉพาะคนที่อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ หรือเอ็นไซม์ทำงานไม่เต็มที่

2.1 ต้องออกกำลังกายแค่ไหนถึงจะพอดี?

การออกกำลังกายที่พอเหมาะจะแตกต่างกันไปตามพละกำลัง รูปแบบการใช้ชีวิต และสภาพจิตใจแต่ละคน ไม่ต้องหักโหมถึงขนาดทำให้จังหวะการหายใจปั่นป่วน

แค่พอให้เหงื่อออกเล็กน้อย ทำอย่างมีความสุข ให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 90-100 ครั้ง/นาที ต่อเนื่องประมาณ 30 นาที

 การออกกำลังกายเช่น การยืดเหยียด การเดิน หรือแบบเบาๆ อาจไม่พอสำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้วหรือคนที่วิ่งเป็นประจำ แต่ถ้าต้องการปรับระบบการไหลเวียนทั้ง5ให้ดีขึ้น ออกกำลังเพียงเท่านี้ก็พอ

แม่บ้านที่กวาดบ้าน ทำงานบ้าน จ่ายตลาด ทำกับข้าวจึงไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างเป็นกิจจะลักษณะ แต่คนที่นั่งรถแทนการเดินไปจ่ายตลาด

หรือบ้านมีพื้นที่น้อยทำงานบ้านนิดหน่อยก็เสร็จ ก็ควรเดินออกกำลังกายบ้างเบาๆทุกวันหลังตื่นนอน การเดินเป็นการออกกำลังกายทุกส่วนที่ดีที่สุด ใครก็ทำได้ เดินวันละ 2-3 กิโลก็พอ…

ถ้าคุณรู้สึกเหนื่อยล้าหลังออกกำลังกายแปลว่า ออกกำลังกายมากเกินไป.. “การออกกำลังกายที่ดีต้องทำให้สดชื่นเบิกบาน ไม่เหนื่อยล้า และส่งผลให้สุขภาพดี”

การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก จึงไม่แนะนำให้ออกกำลังกายในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่พาราซิมพาเทติกควรทำงาน ควรเป็นการนวดหรือยืดเหยียดมากกว่า และเปลี่ยนมาออกกำลังกายตอนเช้าแทน

3.นอนกลางวันมีประโยชน์

เอ็นไซม์ในร่างกายของเราจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขณะนอนหลับหรือพักผ่อน การได้นอนพักเมื่อรู้สึกเหน็ดเหนื่อยจะทำให้พละกำลังกลับคืนมา เพราะตอนที่หลับร่างกายสูญเสียเอ็นไซม์น้อยลง

นอนกลางวันดีต่อสุขภาพ

และเร่งสร้าง miracle enzyme ด้วย แต่ถ้านอนไม่พอติดต่อกันนานๆจะทำให้ไม่มีแรง เพราะการสร้างและการใช้เอ็นไซม์ไม่สมดุลนั่นเอง…

ในชีวิตจริงคนที่งานยุ่งและเครียดจัดมักพักผ่อนไม่เพียงพอ ลองหาเวลางีบซัก 5-20 นาที ถึงเป็นเวลาสั้นๆแต่ก็เพียงพอ แรกๆอาจใช้นาฬิกาปลุกเพื่อไม่ให้หลับเพลิน พอชินแล้วไม่ว่าจะ 2 หรือ 20 นาทีก็จะหลับลึกและตื่นได้เองเมื่อถึงเวลา

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมร่างกายให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร เมื่อเรากินอาหารเข้าไปพาราซิมพาเทติกจะตื่นตัว

จึงรู้สึกง่วงหลังอาหาร ฉะนั้นถ้ารู้สึกเหนื่อยหรืออยากนอนไม่ควรฝืน พักสักครู่.. การนอนพักจะช่วยประหยัดน้ำตาลทำให้พละกำลังกลับคืนมาเร็วขึ้น แต่ถ้าสถานที่ไม่อำนวยก็นั่งเก้าอี้ที่มีพนักแล้วเอนหลังหลับแทนก็ได้

4. ส่งความสุขให้ทุกเซลล์

คนเราถ้ารู้สึกไม่มีความสุข สุขภาพร่างกายก็จะไม่แข็งแรง ไม่มีใครที่สภาพจิตใจย่ำแย่หรือรู้สึกเหนื่อยล้าแล้วมี ‘สุขภาพดี’ ได้ เพราะเจ้าความรู้สึกด้านลบจะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง

พลังของจิตใจไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบล้วนมีผลยิ่งใหญ่ ถึงจะดูแลเรื่องอาหารการกินและออกกำลังกายก็ตาม แต่ถ้าไม่สบายใจหรือสภาพจิตใจไม่ปกติก็ต้องป่วยแน่นอน

ต่างกับคนร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงแต่จิตใจเป็นสุข มองโลกในแง่ดี มักจะไม่ค่อยป่วย เช่นเดียวกับคนที่กำลังมีความรัก

ปัจจุบันพิสูจน์แล้วว่าการคิดบวก ความรู้พึงพอใจ เป็นสุข และรอยยิ้ม ล้วนช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย แถมป้องกันรักษาโรคได้อีกด้วย เพราะความสุข

การคิดบวกจะช่วยกระตุ้นเอ็นไซม์ได้นั่นเอง อย่าไปคิดลบว่า “ถ้าไม่ทำจะป่วย หรือทำแบบนี้จะเป็นโทษต่อร่างกาย” ให้คิดบวกว่า “ทำแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยกำจัดสารพิษได้ดี “

 ทุกเซลล์ในร่างกายล้วนมีชีวิต สุขภาพไม่ได้เป็นของเราเพียงคนเดียว เมื่อเรารู้สึกมีความสุขเช่นได้ฟังเพลงที่ชอบ เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายก็จะมีความสุขไปด้วย

จิตใจมนุษย์เป็นเรื่องลึกซึ้ง งานชิ้นเดียวกันถ้าคิดว่ายากงานนั้นก็จะยากไปโดยปริยาย แต่ถ้าคิดในแง่ดีเช่น ช่วยพัฒนาตัวเราหรือเป็นการค้นพบสิ่งใหม่ๆ งานนั้นก็จะกลายเป็นง่าย มีความสุขกับมัน..

คิดแง่บวก มีความสุข ช่วยให้สุขภาพดี

ความสุขของร่างกายก็คือความสุขของตัวเราเอง ความสุขจะผลิตและกระตุ้นเอ็นไซม์ ปลุกยีนที่ปิดอยู่และทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น.. เพียงกินอาหารดีที่รู้สึกว่าอร่อย ดื่มน้ำคุณภาพดี ขับถ่ายคล่อง ออกกำลังกายพอเหมาะ พักผ่อนเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า และมีความสุขตลอดเวลา..

4.1 สมองและร่างกายกำลังฟังเราอยู่

ทั้งที่เรารู้กันดีว่าการคิดบวกมีประโยชน์ แต่บางทีก็อดคิดแง่ลบไม่ได้ เวลาเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่ชอบใจ อารมณ์โกรธ หงุดหงิด ให้คิดว่าถึงจะเกิดคิดลบขึ้นมาก็ห้ามพูดออกมาเด็ดขาด

เพราะสิ่งที่เราพูดจะเป็นจริงได้ คำพูดแง่ลบจะดึงเราเข้าไปใกล้กับความจริงลบๆแบบนั้น ขณะที่คำพูดแง่บวกก็จะดึงเข้าไปใกล้กับความจริงที่บวกเช่นกัน

 สิ่งที่คิดในใจกับสิ่งที่พูดออกมามีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของพลัง สมองของคนเรานอกจากมีหน้าที่คิดแล้ว ยังมีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างรุนแรงและอ่อนไหวต่อสิ่งที่ได้ยิน เห็น สัมผัส ได้กลิ่น รับรส จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วย

ภาษาที่ออกมาเป็นเสียงถึงแม้จะพูดแค่เบาๆ แต่ตัวเราก็ได้ยินและจะได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่ตัวเองพูดอยู่ดี เสียงที่ได้ยินจะถูกส่งไปยังสมอง คำพูดเหล่านี้จะสร้างแรงกระตุ้นในสมอง จากนั้นแรงกระตุ้นต่างๆจะถูกสมองส่งต่อไปทั่วร่างกาย

ถ้าไม่เชื่อให้ลองทำตามนี้ดู  หลังเลิกเรียนหรือเลิกงานพอกลับถึงบ้านให้ตะโกนดังๆว่า วันนี้เหนื่อยจังเลย,ช่างเป็นวันซวยจริงๆ แล้วลองเทียบกับการตะโกนในแง่บวกว่า “ว้าว..วันนี้ทำงานเสร็จไปตั้งเยอะ” หรือ “พรุ่งนี้พยายามขึ้นอีกดีกว่า”

คุณจะพบว่าคำพูดในแง่บวกทำให้มีแรง ขยันได้อีกในเช้าวันใหม่ ลองพูดกับคนในบ้านหรือคนที่รักว่า สวยจัง ฉันรักเธอ ขอบคุณ ไม่เพียงคนฟังจะมีความสุข คนพูดก็มีความสุขเช่นกัน..

เพราะสมองและร่างกายได้ฟังคำพูดของเราอยู่ทุกวันๆ คำพูดจึงมีพลังในการกระตุ้นอย่างมาก ลองคิดดูระหว่างทำงานกับเจ้านายที่บ่นได้ทั้งวัน

จุกจิกจู้จี้ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ชอบเหวี่ยง กับหัวหน้าที่พูดน้อย พูดเพราะเสนาะหูเราอยากจะทำงานกับใคร?  แน่นอน.!ไม่ว่างานจะลำบากแค่ไหนเราก็อยากทำงานกับหัวหน้าที่พูดจาภาษาดอกไม้กับเรา “ร่างกายเราก็เช่นเดียวกัน..”

ชะลอวัย สุขภาพดี ด้วยเอนไซม์ S.O.D

บทความเพิ่มเติม >>

error: do not copy content!!