โพรไบโอติก (Probiotic)
จุลินทรีย์ที่สำคัญต่อร่างกาย
ในร่างกายของเรานั้นมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ จุลินทรีย์ที่ไม่ก่อประโยชน์และโทษ และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย
Q : จุลินทรีย์อยู่ที่ไหนในร่างกายบ้าง?
A : เราสามารถพบจุลินทรีย์ในระบบต่างๆของร่างกายดังต่อไปนี้
• ช่องปาก
• ลำคอ
• ผิวหนัง
• ระบบสืบพันธุ์
• ลำไส้ (โดยมีปริมาณมากที่สุด)
Q : จุลินทรีย์ในร่างกายมาจากไหน?
A : เมื่อเราอยู่ในครรภ์มารดา ร่างกายของเราจะอยู่ในสภาพเกือบไร้จุลินทรีย์ มนุษย์จะได้รับจุลินทรีย์เมื่อเราคลอดผ่านช่องคลอด ทารกจะกลืนจุลินทรีย์ในช่องคลอดของมารดาไปอยู่ในลำไส้ รวมถึงจุลินทรีย์จะเกาะติดตามผิวหนังทารก
โดยหลังคลอด 2 ชั่วโมง ร่างกายจะมีจุลินทรีย์ถึง 10,000 ล้านตัว หลังจากนั้นจะได้รับจุลินทรีย์โดยการสัมผัส จากการหายใจและการรับประทานเข้าไป
Q : หากเกิดความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ จะส่งผลเสียอย่างไร?
A : หากเกิดความผิดปกติในร่างกาย อาจส่งผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหาร โดยจะส่งผลเสียต่อระบบต่างๆในร่างกาย ดังนี้
• Digestive : ท้องผูก ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน กระเพาะอักเสบ ภาวะลำไส้รั่ว
• Immune : ภูมิคุ้มกันไม่ดี ติดเชื้อบ่อย อ่อนเพลียเรื้อรัง ภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ตัวเอง(SLE) เป็นหวัดบ่อย ตกขาว
• Skin : สิว/สิวแพ้อักเสบ สะเก็ดเงิน
• Brain : ซึมเศร้า วิตกกังวลง่าย
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากมายในท้องตลาดเกี่ยวกับการรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย โดยคำคุ้นหูที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งคือ “โพรไบโอติก”และ“พรีไบโอติก” เราจะมาทำความรู้จักกันว่าทั้งสองคำนี้มีความหมายถึงอะไรและแตกต่างกันอย่างไร
Q : โพรไบโอติก (Probiotic) และ พรีไบโอติก (Prebiotic) ต่างกันอย่างไร?
A : โพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็ก ซึ่งจัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี สามารถพบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโส เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหารให้คำจำกัดความว่า โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่างๆ
โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้
ส่วนพรีไบโอติก คือ อาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง และจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติก
ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรีย พบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่างๆ กล่าวง่ายๆก็คือ พรีไบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง
ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกพรีไบโอติกก็จะช่วยส่งเสริมฤทธิ์โพรไบโอติกได้ดียิ่งขึ้น
Q : โพรไบโอติก พบได้ที่ไหนบ้าง?
A : อาหารที่ผ่านกระบวนการบ่มหมัก เช่น ชีส โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ผักดอง ของหมักดองต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดจุลินทรีย์ชนิดต่างๆขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น Lactococcus,Bifidobacterium Saccharomyces เป็นต้น
Q : บทบาทของโพรไบโอติกต่อร่างกายมีอะไรบ้าง?
A : โพรไบโอติกมีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้
• ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
• ช่วยให้เม็ดเลือดขาวทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
• ช่วยสร้างวิตามิน B และ K
• ช่วยย่อยอาหารบางชนิดที่กระเพาะและลำไส้ย่อยไม่ได้
• ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น บีบตัวดีขึ้น ย่อยง่าย ขับถ่ายคล่อง
Q : ปัจจัยที่ทำลายโพรไบโอติกและวิธีเพิ่มโพรไบโอติกให้ร่างกาย
A : มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้เกิดการทำลายจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ อันได้แก่
• บุหรี่
• ยาปฏิชีวนะ
• พักผ่อนไม่เพียงพอ
• ขาดการออกกำลังกาย
• แป้ง น้ำตาล
• คาเฟอีน
• อาหารขยะ
• แอลกอฮอล์
• ภาวะเครียด
หากต้องการจะเพิ่มโพรไบโอติกให้กับร่างกาย ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
1.ปรับการทานอาหาร ลดน้ำตาลลดแป้ง เพิ่มอาหารที่มีกากใย เลี่ยงอาหารแปรรูป เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
2.ปรับ lifestyle เช่น การออกกำลังกาย นอนให้เป็นเวลา งดสูบบุหรี่ เป็นต้น
3.ทานยาฆ่าเชื้อหรือยาแก้อักเสบเท่าที่จำเป็น
4.ทานอาหารที่มีโพรไบโอติกสูงหรือทานอาหารเสริมที่มีโพรไบโอติก เช่น ไฟโตวี่ โพรไบโอติก (Phytovy Probiotic)
1.วิธีการเก็บผลิตภัณฑ์ไฟโตวี่ โพรไบโติกและข้อควรระวัง
● ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง ไม่ต้องแช่ตู้เย็น แต่ต้องไม่เก็บหรือวางใกล้แหล่งความร้อน เช่น เก็บในรถยนต์ หลีกเลี่ยงอุณภูมิร้อนจัด
2.เมื่อเริ่มรับประทานไฟโตวี่ โพรไบโอติก จะเกิดผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง?
● เมื่อเริ่มรับประทาน 1-7 วัน อาจจะมีลมในท้อง เรอบ่อย ผายลม ท้องผูกหรือท้องเสีย โดยอาการเหล่านี้เป็นผลมาจากการพยายามปรับสมดุลของระบบลำไส้เมื่อได้รับจุลินทรีย์ที่ดี และจะหายไปภายในเวลาไม่กี่วันเมื่อรับประทานไฟโตวี่ โพรไบโอติกอย่างต่อเนื่อง
3.คนที่รับประทานเจ หรือมังสวิรัติ สามารถรับประทาน Phytovy Probiotic ได้หรือไม่?
● สามารถรับประทานได้
4.คนที่แพ้แลคโตสในนม ไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ สามารถรับประทานไฟโตวี่ โพรไบโอติกได้หรือไม่?
● สามารถทานได้ เพราะไฟโตวี่ โพรไบติกสามารถผลิตน้ำย่อยเพื่อช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้ จึงทำให้มีน้ำตาลแลคโตสเหลือน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
5.จุดเด่นของไฟโตวี่โพรไบโอติก
● เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มดูแลลำไส้ โดยไฟโตวี่ โพรไบโอติกมีประโยชน์ ได้แก่
✓เพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดี
✓ปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้
✓เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
✓เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับผนังลำไส้
✓ลดภาวะลำไส้แปรปรวน ท้องผูก/ท้องเสีย
✓ช่วยการทำงานของลำไส้ในการดูดซึมวิตามิน
✓ปรับสมดุลด้านอารมณ์ ลดความเครียด
✓ช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้น ลดการเกิดสิว
✓ป้องกันโรคภูมิแพ้
✓เพิ่มระบบการเผาพลาญให้ดีขึ้น
● มีส่วนประกอบ (Ingredients) คือ จุลินทรีย์สายพันธุ์ดี (โพรไบโอติก) 10 สายพันธุ์ 20,000 ล้านตัว + อินนูลิน (Prebiotic) 2,000 mg. = Postbiotic
**โพสไบโอติก คือ ผลพลอยได้จากการหมักจุลินทรีย์โพรไบโอติกและพรีไบโอติก เช่น เอนไซม์ (Enzyme) กรดไขมันสายสั้น รวมถึง Acetic , Lactic acid ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน มีผลต่อสุขภาพทางเดินอาหารในระยะยาว**
● ใช้เทคโนโลยี 5-Layers Micro-Encapsulation Protection โดยเป็นเทคโนโลยีเคลือบจุลินทรีย์ 5 ชั้น ที่เพิ่มเกราะป้องกันในการนำส่งจุลินทรีย์ให้ไปถึงเป้าหมาย มีความสามารถในการอยู่รอดสูง ช่วยให้ยึดเกาะกับผนังลำไส้ได้ดี ไม่ถูกดีท็อกซ์ไปกับการขับถ่าย
● การรับประทาน : ทานตอนท้องว่างก่อนมื้อเช้าหรือบ่าย วันละ 1 ซอง โดยเทกรอกปาก เคี้ยวก่อนกลืนแล้วดื่มน้ำตาม
● ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม » click เลย!! «
บทความที่น่าสนใจ
- PHYTOVY PROBIOTIC ปรับสมดุลให้ลำไส้
- PHYTOVY LIV ล้างพิษตับและดีท็อกซ์ลำไส้
- รวมดีท็อกซ์ อาหารเสริมล้างสารพิษยอดนิยม