4 อาการเสี่ยง “โรคหัวใจ” ภัยใกล้ตัวคนทำงาน
หนุ่มสาวออฟฟิศคนไหนที่แค่เดินขึ้นสะพานลอยก็เหนื่อยแล้ว หรือโมโหหิวก็มีอาการเจ็บหน้าอก ขอเตือนว่าคุณอาจมีอาการเสี่ยงของ โรคหัวใจ แล้ว
แต่อย่าเพิ่งจิตตกกังวลเรื่องอกข้างซ้ายกันไปมากนักล่ะ เพราะอาการดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนเป็นโรคหัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่นๆอีกที่มีอาการคล้ายๆกันแบบนี้
ซึ่งเรามีวิธีเช็คอาการเสี่ยง โรคหัวใจ แบบเจาะลึกง่ายๆมาบอก ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถสังเกตและประเมินอาการของตัวเองในเบื้องต้นได้ว่ากำลังเป็นโรคหัวใจอยู่หรือไม่? สรุปอาการโรคหัวใจหรือสัมพันธ์กับหัวใจผิดปกตินั้นมีไม่มากนัก
สัญญาณเตือนโรคหัวใจ
1. เหนื่อยง่าย
คำว่า “เหนื่อยง่าย” ในความหมายของแพทย์คือ มีอัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นจะเข้าใจว่าหมายถึง อาการเหนื่อย เพลีย หมดแรง มือเย็น เท้าเย็น มีอาการชา เวลาพูดก็รู้สึกเหนื่อย ซึ่งอาการเหนื่อยเหล่านี้มักไม่ใช่อาการจาก โรคหัวใจ
ลักษณะของอาการเหนื่อยง่ายที่เป็นอาการโรคหัวใจจะสังเกตได้จากการรู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว และมีอาการมากขึ้นเมื่อออกแรงต้องสังเกตดูให้ดี บางคนอาจเหนื่อยมากจนแทบไม่สามารถนอนราบได้ ต้องนอนหนุนศรีษะให้สูงขึ้นหรือนั่งหลับ รวมทั้งมีอาการไอไม่หยุดอีกด้วย
อย่างไรก็ตามอาการเหนื่อยง่าย หอบที่เกิดจากการเดิน วิ่ง หรือทำงาน อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆก็เป็นได้ เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่ความวิตกกังวลก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน
2. เจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอกที่เป็นอาการโรคหัวใจ มักมีลักษณะดังนี้
- รู้สึกอึดอัด เจ็บแน่นๆกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้านก็ได้ บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือแขนทั้งสองข้าง มีอาการจุกแน่นที่คอ บางรายก็มีอาการเจ็บบริเวณกรามคล้ายๆเจ็บฟัน
- อาการเจ็บจะเกิดขณะออกแรง เช่น เดินเร็วๆ วิ่งขึ้นบันได เวลาโกรธ โดยอาการมักจะดีขึ้นเมื่อหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการเจ็บและแน่นหน้าอกขณะที่พัก เช่น นั่ง นอน หรือหลังกินอาหาร
- หากเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีเหงื่อออก หรือเป็นลม
นอกจากนี้ อาการเจ็บหน้าอกยังเกิดจากการอักเสบของอวัยวะที่อยู่ในทรวงอกได้เช่น เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด หรือเยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ซึ่งจะมีอาการดังนี้
- รู้สึกเจ็บแปลบจุดเดียว คล้ายถูกเข็มแทง และกดเจ็บหน้าอก
- อาการเจ็บเกิดขึ้นขณะพัก และเจ็บต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
- มีอาการเจ็บมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า ขยับตัว หรือหายใจเข้าลึกๆ
- อาการเจ็บร้าวขึ้นศรีษะ ปลายมือ ปลายเท้า
3. ใจสั่น
สรุปความหมายของคำว่า “ใจสั่น”ทางการแพทย์ได้คือ การที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ อาการดังกล่าวอาจพบได้ในคนปกติ
ผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคอื่นที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียดถึงลักษณะของอาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่?
เพราะบ่อยครั้งที่พบผู้ป่วยมักมาหาหมอเพราะคิดว่าตัวเองใจสั่น ทั้งที่หัวใจเต้นปกติ คุณสามารถเช็คจังหวะการเต้นของหัวใจได้ โดนการจับชีพจรเพื่อนับจำนวนครั้งใน 1 นาที (ซึ่งค่าเฉลี่ยปกติอยู่ที่ 72 ครั้งต่อนาที หรือไม่ควรเกิน 100 ครั้งต่อนาที)
และสังเกตจังหวะการเต้นว่าสม่ำเสมอหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำขึ้น
4. ขาบวม
อาการบวมน้ำในผู้ป่วยโรคหัวใจนั้น พอสรุปได้ดังนี้ อาการบวมน้ำ ได้แก่ การมีน้ำคั่งค้างในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายก่อให้เกิดการบวมโดยไม่มีอาการของการอักเสบ (แดง ร้อน มีไข้)โดยมักเกิดในบริเวณเท้า ดวงตา ใบหน้า แขน ท้อง และบางครั้งในโพรงเยื่อหุ้มปอด
อาการบวมน้ำเป็นอาการที่พบได้บ่อยของโรคหัวใจล้มเหลว แต่พบได้เช่นกันด้วยสาเหตุจากโรคต่างๆ อาการขาบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานน้อยลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลกลับไปที่หัวใจด้านขวาได้สะดวก จึงมีเลือดคั่งที่ขามากขึ้น และมีน้ำซึมออกมาได้ง่าย
ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จึงจำเป็นต้องตรวจหลายระบบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค จึงจะสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจว่าตนเองขาบวมจากโรคหัวใจหรือไม่?
คุณสามารถทดสอบโดยการใช้นิ้วกดลงที่หน้าแข้งหรือตาตุ่ม หากยกนิ้วขึ้นมาแล้วเนื้อยังคงบุ๋มอยู่นานเป็นนาที ก็อาจหมายความว่า เกิดปัญหาเลือดไม่สามารถไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ เกิดการคั่งของเลือดและมีน้ำรั่วซึมออกมาในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นอาการเสี่ยงของโรคหัวใจ
ในบางคนมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่คล้ายอาหารไม่ย่อยร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักจะทุเลาลงหลังจากนั่งหรือนอนพักสักครู่ บางทีอาการจุกแน่นที่ว่านี้ก็เกิดขึ้นมาเฉยๆโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นขึ้นมาประเดี๋ยวก็หายไปเองแล้วก็เป็นขึ้นมาอีก
นึกเอาเองว่าเป็นเพราะอาหารไม่ย่อย ลมในท้องมากเกินไป กรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป หรือมีอาการอ่อนเพลียตอนบ่ายๆ เย็นๆหลังจากที่ตรากตรำงานมาทั้งวัน
ถ้าหากเอะใจและไปตรวจดูให้ละเอียด โรคในระยะนี้ยังสามารถควบคุมให้เป็นปกติได้ไม่ยากนัก เพราะกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่งจะเริ่มมีปัญหา เพิ่งจะมีอาการได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ยังไม่ถึงกับมีกล้ามเนื้อหัวใจตาย
การละเลยปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการดูแลรักษา อาการก็จะทวีความรุนแรงขึ้นตามปริมาณของกล้ามเนื้อหัวใจที่เริ่มเสียหาย อาการเจ็บหน้าอกที่เคยเป็นๆ หายๆก็จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ต้องสังเกตให้ดี ขณะที่ในบางรายอาจมีอาการคงที่อยู่ได้หลายปี
ที่น่ากลัวและอันตรายมากที่สุดคือ อาจมีโอกาสเกิดภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือหัวใจวาย หัวใจหยุดเต้นไปเฉยๆ ทำให้เสียชีวิตได้โดยง่าย
ไม่แก่ก็หัวใจวายเฉียบพลันได้ !
ในอดีต ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50-60 ปีขึ้นไปแต่ในปัจจุบันด้วยไลฟ์ไตล์แบบคนเมืองคือ กินอาหารไม่ถูกหลัก นอนดึก พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย
ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะนี้ได้เร็วขึ้นมาก ในวัยเพียง 30 ปีขึ้นไปเท่านั้น สาเหตุการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันที่สำคัญ คือ “หลอดเลือดตีบ”
ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart failure) หมายถึงภาวะที่เส้นเลือดหัวใจเกิดการอุดตันเฉียบพลันโดยมากกว่า 90%ของภาวะดังกล่าวเกิดจากผนังหลอดเลือดตีบ
ในคนทั่วไปอาจมีการตีบของผนังหลอดเลือดได้ขณะที่ออกแรง แต่ในกลุ่มของผู้ป่วยหัวใจวายเฉียบพลันมักตีบเพราะมีการอุดตันของก้อนไขมันหรือตะกรัน
โดยเริ่มแรกผนังหลอดเลือดอาจตีบเพียงร้อยละ 30-40 แต่เมื่อก้อนไขมันที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแตกจะมีการกระตุ้นให้เกร็ดเลือดมาเกาะที่แผลอย่างรวดเร็วคล้ายกับเวลาที่เราเป็นแผลแล้วมีเกร็ดเลือดมาสมาน
แต่การสมานแผลนี้ไปในทางที่ไม่ดี เนื่องจากไปขวางทางเดินของเลือด จึงเกิดการอุดตันภายในหลอดเลือดเต็มร้อยเปอร์เซนต์ การที่ก้อนไขมันภายในหลอดเลือดแตกและเกิดการอุดตัน เป็นเรื่องน่ากลัวไม่น้อย
เมื่อเส้นเลือดเกิดอุดตันเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นๆจะไม่มีเลือดเข้าไปเลี้ยง หัวใจจึงขาดเลือดส่งผลให้เกิดปัญหาหลักๆ 2 ประการคือ
- การบีบตัวของหัวใจลดลง ทำให้คนไข้ช๊อคหรือมีภาวะน้ำท่วมปอดได้
- หัวใจจะเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง และนี่เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ทำให้เสียชีวิตได้ แม้แต่นักกีฬาที่เห็นอยู่ว่าแข็งแรงดีมาก ก็สามารถเสียชีวิตด้วยภาวะนี้ได้เช่นกัน
ตีบน้อยอันตรายมาก ตีบมากอันตรายน้อย
จะเห็นได้ว่าภาวะหัวใจวายเฉียบพลันนั้นเกี่ยงข้องกับการตีบของผนังหลอดเลือด ที่น่าแปลกใจคือ ปริมาณการตีบที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคเลย
ภาวะนี้มักเกิดกับผู้ป่วยที่ผนังหลอดเลือดตีบไม่มาก จึงทำให้ไม่สามารถสังเกตอาการผิดปกติได้ง่ายนัก เนื่องจากหากคนไข้มีการตีบของผนังหลอดเลือดเพียงร้อยละ 30-40
จะไม่สามารถตรวจพบอาการได้เลย หรือแม้แต่การตีบถึงร้อยละ 70-80 ก็อาจพอมีอาการแสดงให้เห็นได้บ้าง และสามารถตรวจพบได้จากการเดินสายพาน
แม้ผู้ป่วยมีผนังหลอดเลือดตีบถึงร้อยละ 90 ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ เพราะอาจเป็นชนิดเรื้อรัง คือมีการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่อาการรุนแรง
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงภาวะหัวใจวายเฉียบพลันขึ้นได้ง่ายก็คือ การมีปัจจัยเสี่ยง เช่น เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง ความเครียด โดยเฉพาะการสูบบุหรี่จัด เนื่องจากสารพิษในบุหรี่จะทำให้สารบางชนิดในร่างกายทำหน้าที่ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันสูญสลายไปนั่นเอง
รู้เท่าทันก่อนชีพวาย
อย่าเพิ่งตกอกตกใจไปครับ เพราะแม้ว่าจะไม่สามารถสังเกตอาการภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ง่ายดายนัก แต่อย่างน้อยภาวะนี้ก็มีสัญญานเตือนแบบฉับพลันทันด่วนให้คนใกล้ตัวต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
1. ปวดบริเวณหน้าอก การปวดแบบนี้จะมีอาการเหมือนกับมีก้อนหินอยู่ในอก จะมีอาการบีบคั้นภายในอกอย่างรุนแรง
2. เหงื่อแตก มักจะเป็นเหงื่อแบบเหนียวๆ
3. การปวดหน้าอกจะลามไปถึงกราม คอและแขนข้างซ้ายและก็อาจจะลามไปถึงสะบักด้านหลังและท้องได้ด้วย
4. หายใจไม่ออก คลื่นไส้อาเจียน
การรักษาจะได้ผลดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคนไข้จะมาถึงมือหมอเร็วแค่ไหน เพราะการมาถึงโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วจะทำให้เราป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้มากที่สุด
ถ้ามาช้าผู้ป่วยอาจเสียชีวิต หรือถ้าไม่เสียชีวิตเขาก็อาจกลายเป็นผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจวายเรื้อรัง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าคนปกติด้วย
หยุดสาเหตุหัวใจวายเฉียบพลัน
เมื่อการสังเกตอาการทำได้ลำบาก การป้องกันจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด เช่น ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเพราะจะช่วยให้ผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นดีขึ้น
แต่ขณะเดียวกันการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไปก็อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแตกของก้อนไขมันได้เช่นกัน
ดังนั้นจึงต้องออกกำลังกายอย่างสมดุล นอกจากนี้สิ่งที่ไม่ควรทำเลยคือ การสูบบุหรี่ ในกรณีที่ผู้ป่วยยังอายุน้อย ปัจจัยสำคัญมักเกิดจากการสูบบุหรี่ ดังนั้นจึงไม่ควรสูบบุหรี่หรือถ้าสูบอยู่ก็ควรจะเลิกเสีย
วิธีเยียวยาและป้องกันผู้ป่วยโรคหัวใจ
- ลดการกินอาหารที่ทำจากสัตว์และไขมันอิ่มตัวให้น้อยลง
- กินผักและผลไม้สดให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารแอนติออกซิแดนต์
- กินธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่วเปลือกแข็งให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับใยอาหาร
- กินกระเทียมและเห็ดหอมเป็นประจำ
หากตรวจดูแล้วมีอาการเสี่ยงมากกว่า 1ข้อ คุณควรไปพบแพทย์พื่อตรวจวินิจฉัย เพราะนอกจากจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้
ดังนั้นการดูแลสุขภาพให้ฟิตเฟิร์มอยู่เสมอ ควบคุมอาหาร เสริมอาหารเพื่อป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆเช่น ความดัน,น้ำตาล,โคเลสเตอรอลฯ ย่อมดีกว่าปล่อยให้หัวใจแสดงอาการผิดปกติแน่นอน
>> รายละเอียด : นูทริก้า Nutriga <<