คำตอบ : โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุดถึง 65% ซึ่งเกิดจากการตายของเซลล์สมองโดยไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง รวมถึงเซลล์สมองสร้างสารส่งผ่านประสาทหรือสื่อนำประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำลดลง เชื่อว่าสาเหตุของการเกิด โรคอัลไซเมอร์ มาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้น ที่ไปมีผลต่อความจำ ทำให้ความจำลดน้อยลง ส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตแย่ลงทั้งตัวผู้ป่วยเองและบุคลลในครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของ “โรคอัลไซเมอร์”
- อายุ อายุยิ่งมากขึ้นเท่าใดก็มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์มากเท่านั้น พบว่าร้อยละ 10 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ และร้อยละ 50 ของผู้ป่วยอายุเกิน 85 ปีเป็นโรคนี้
- ประวัติครอบครัว พบว่ามีผู้ป่วยร้อยละ 10 ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์
- สารพิษจากสิ่งแวดล้อม การได้รับสารอะลูมิเนียม สารตะกั่ว สารหนูมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ขึ้นได้
- เพศ พบว่าโรคอัลไซเมอร์พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) ผู้ป่วยโรคนี้จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ เมื่ออายุ 30-40 ปี
- ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมองมาก่อน
- ผู้ที่ดื่มสุราและใช้ยาเสพติด
- ผู้ที่มีปัจจัยต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง
- ผู้มีระดับการศึกษาต่ำ จากการสังเกตพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะมีระดับการศึกษาต่ำ
อาการของ “โรคอัลไซเมอร์”
อาการต่างๆที่อาจจะพบ ได้แก่ อาการหลงลืมซึ่งเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ ชอบถามคำถามซ้ำๆ นึกคำหรือประโยคที่จะพูดไม่ออก หลงลืมสิ่งของที่ใช้เป็นประจำ สับสนเรื่องเวลา สถานที่ จำบุคคลที่เคยรู้จักไม่ได้
มีอารมณ์หงุดหงิด หวาดระแวง ซึมเศร้า อาการเหล่านี้เป็นมากขึ้นจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ โดยผู้ป่วยอัลไซเมอร์ใน 1-3 ปีแรก ญาติมักจะไม่สังเกตเห็นความผิดปกติมากนัก อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นตามลำดับ ในผู้ป่วยระยะกลางใช้เวลาประมาณ 2-10 ปี ผู้ป่วยบางรายยังพอรู้ตัวว่าหลงลืมง่ายโดยเฉพาะเรื่อง วัน เวลา สถานที่
ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการด้านอารมณ์ เช่น ก้าวร้าว หวาดระแวง ซึมเศร้า ทำให้ความสนใจต่อตนเองลดลง ญาติมักจะสังเกตเห็นความผิดปกติ จึงควรรีบนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ “หากปล่อยไว้จนผู้ป่วยเข้าสู่ระยะที่ 3 ความจำจะเลวลงมาก พูดน้อยลง ปัสสาวะหรืออุจจาระโดยไม่บอก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ สับสน เอะอะ อาละวาด หรือมีอาการทางจิตประสาท เห็นภาพหลอน หูแว่ว หวาดระแวงกลัวคนมาทำร้าย”
และถึงแม้ว่า โรคอัลไซเมอร์ มีอาการไม่รุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีิวิตและใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานถึงจะมีอาการรุนแรง แต่หากนิ่งเฉยหรือตรวจพบช้าอาจแก้ไขไม่ทันการ
ดังนั้นเราควรหันมาดูแลเอาใจใส่ พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติหรือผู้สูงอายุ ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เมื่อทราบถึงความผิดปกติ ควรให้การดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ
จะทำให้ความจำไม่ถดถอยแย่ลงมากไปกว่าเดิม ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ทั้งผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวที่ดูแล ความจริงโรคอัลไซเมอร์นี้ สามารถป้องกันได้ เราจึงควรศึกษาวิธีป้องกันโรคนี้ก่อนที่จะสายเกินการณ์
เทคนิค 10 ขั้นตอนป้องกันโรคอัลไซเมอร์
- อาหาร
สมองจะมีน้ำหนักเพียง 2 % ของน้ำหนักร่างกาย แต่สมองต้องการสารอาหารและออกซิเจนถึง 20 % ของร่างกาย ดังนั้นการที่สมองจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งมาจากการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารประเภท ผัก ผลไม้ และเนื้อปลาให้มากๆ เพราะพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ลดลงร้อยละ 10 นอกจากนี้ยังช่วยลดน้ำหนัก ลดความดันโลหิต และลดไขมันได้อีกด้วย
- การนอนหลับ
การนอนหลับให้เพียงพอ จะเป็นการพักสมองที่ดีที่สุด เนื่องจากจะมีสารเคมีในสมองหลายชนิดถูกสร้างขึ้นในขณะที่เรานอนหลับ ช่วยทำให้สมองของเราทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นยามที่เราตื่น
- ออกกำลังกาย
สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย กิจกรรมบางอย่าง เช่น การออกกำลังกายก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้ เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มการสั่งการของสมองไปควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆทั่วร่างกายให้ทำงานรวดเร็วขึ้น
- การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา
การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเป็นการกระตุ้นสมองให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น สามารถป้องกันโรคความจำเสื่อมได้
- การมีเป้าหมายและมีจิตใจที่ท้าทาย
การมีเป้าหมายและมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมายด้วยจิตใจที่ท้าทาย จะเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองตลอดเวลาเพื่อโฟกัสไปที่เป้าหมาย จะช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมได้
- คิดบวก
ความเครียดและความวิตกกังวลจากทั้งภายในและภายนอก สามารถทำลายเซลล์สมองได้ การคิดบวก ใส่ใจกับความคิดจนกระทั่งความคิดดีๆนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของจิตใจ จะทำให้คุณมองไปข้างหน้าด้วยแนวทางที่สร้างสรรค์ สามารถป้องกันโรคความจำเสื่อมได้
- ฝึกสมาธิ
การฝึกสมาธิหรือทำใจให้สงบ จะช่วยในเรื่องของความตั้งใจ ส่งเสริมให้ความจำดีขึ้น
- พัฒนาและรักษาความสัมพันธ์
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและต้องการปฏิสัมพันธ์กับสังคม ดังนั้นการพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ การมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น การเข้าสังคมเข้าสมาคมต่างๆ การเข้าประชุมก็จะป้องกันโรคความจำเสืื่อมได้
- หัวเราะบ่อยๆ
การหัวเราะ จะช่วยทำให้จิตใจเบิกบาน ผ่องใส ป้องกันโรคความจำเสื่อมได้
- เดินทางท่องเที่ยว
การเดินทางท่องเที่ยวได้พบกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ จะเป็นการกระตุ้นสมองให้ปรับตัวสนใจสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ได้พบเห็น ทำให้เกิดความสุขและสามารถป้องกันโรคความจำเสื่อมได้
นอกจากเทคนิค 10 ขั้นตอนนี้แล้ว ในปัจจุบันได้มีการวิจัยและพัฒนาสารสำคัญต่างๆ จากธรรมชาติที่สามารถช่วยทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์สมองและช่วยให้สื่อนำประสาทในสมองทำงานได้ดีขึ้น จนสามารถที่จะดูแลป้องกันและฟื้นฟูโรคความจำเสื่อมได้เป็นอย่างดี
>> อาหารเสริมบำรุงสมอง FLOW <<