FAQ, โรคเรื้อรัง-chronic

ความจริงของ “โรคเรื้อรัง” ที่คุณต้องรู้

%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%87-chronic-illness

โรคเรื้อรัง กับความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้อง

ในช่วงวันหยุดยาวเช่นปีใหม่หรือสงกรานต์ จะมีการรณรงค์เรื่อง 7 วันอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ แม้กระทั่งช่วงที่มีปัญหาเรื่องไข้หวัดนก ไข้หวัด 2009 โรคมือเท้าปาก

การเจ็บป่วยของคนไทย ที่ไม่ได้รับการใส่ใจอย่างถูกต้อง

หลายคนก็ต่างให้ความสนใจกับเรื่องเหล่านี้กันอย่างกว้างขวาง แน่นอนว่าการระมัดระวังในเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยลดโอกาสเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตของเราและคนที่เรารักได้

แต่เรื่องน่าเศร้าและน่าเป็นห่วงก็คือ ผู้คนและรัฐบาลให้ความสนใจหรือใส่ใจต่อ 7 วันอันตรายและโรคดังกล่าวมาก ทั้งๆที่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่ว่านี้ประมาณปีละ 1,000-3,000 คน

แต่ทั้งรัฐบาลและผู้คนทั่วไปกลับให้ความสนใจในเรื่องที่ทำให้คนตายปีนึงนับแสนคน เจ็บป่วยปีหนึ่งนับล้านคนน้อยมาก ไม่ได้หมายความว่าคนตายน้อยเป็นเรื่องที่ไม่ควรสนใจ

แต่หมายถึงเราควรให้ความสนใจในเรื่องที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยตายเป็นจำนวนมากให้มากกว่านี้

กระทรวงสาธารณสุขระบุว่าปี 59 มีผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง 2 แสนกว่าคน โรคหัวใจขาดเลือด 2 แสนกว่าคน เบาหวาน 6 แสนกว่าคน ความดันโลหิตสูงอีก 8 แสนกว่าคน

โรคเรื้อรัง การป่วยเป็นเบาหวาน

แถมยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ยังไม่รู้ตัวว่าป่วยเลยไม่ได้ไปพบแพทย์ มีผู้ป่วยแอบแฝงมากกว่าตัวเลขดังกล่าวอีกมากเช่น ความจริงอาจมีผู้ป่วยเป็นเบาหวานราว 3 ล้านคนรวมถึงคนที่มีความเสี่ยงอีก 6-7 ล้านคนเป็นต้น

รวมๆกับโรคอื่นๆแล้วน่าจะมีคนป่วยโรคเรื้อรังเกือบครึ่งประเทศ

มีคนเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ  50,000 คน โรคหัวใจ 18,000 คน โรคหลอดเลือดสมอง  17,000 คน รวมๆแล้วมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังเหล่านี้มากกว่า 1 แสนคน/ปี

หรือพูดง่ายๆว่า หรือเฉลี่ยกว่าวันละเกือบ 250 คน และโรคเรื้อรังเหล่านี้เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของคนไทยติดต่อกันมานานกว่า 10 ปีแล้ว

โรคเรื้อรังเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของคนไทย

คนไทยเป็น “โรคเรื้อรัง” มากขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทั่วโลก คนไทยเป็นโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้นจากอดีตหลายเท่าเช่น เป็นความดันสูงเพิ่มจากเมื่อ 10 ปีก่อนประมาณ 500%

เป็นเบาหวาน หัวใจ มะเร็ง หลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นจากหกปีก่อนเกือบ160% ส่วนคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินครึ่งจะมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค

แถมในปัจจุบันเด็กประถมก็สามารถเป็นมะเร็งหรือเบาหวานกันแล้ว โรคเหล่านี้จึงไม่ใช่โรคของคนแก่และไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป…

ไม่ได้เป็นเพราะพันธุกรรมหรือเชื้อโรค

คนบางส่วนอาจเข้าใจผิดว่าการที่คนไทยเป็นโรคเหล่านี้มากขึ้นเมื่อเทียบกับอดีตเป็นเรื่องของพันธุกรรม หรือเป็นเพราะไปติดเชื้อโรคมา ที่จริงโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปจากอดีตและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยกลายเป็นคนอมโรค

พฤติกรรมการกินแบบฝรั่งทำให้เป็นโรคเรื้อรัง

และมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคก็คืออาหารการกินและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั่นเอง…พูดง่ายๆว่า เป็นเพราะคนไทยรับเอาวัฒนธรรมการกินทางตะวันตกเข้ามามากไป จึงทำให้เราเป็น โรคเรื้อรัง มากขึ้นนั่นเอง

แพทย์ไม่ใช่ที่พึ่งทั้งหมด

 โรคเรื้อรังนั้นเราไม่สามารถพึ่งพาแพทย์ส่วนใหญ่ได้ เพราะแพทย์ส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถเอาตัวรอดจากโรคเรื้อรังเหล่านี้ สาเหตุเพราะตอนเรียนแพทย์จะเรียนเกี่ยวกับโภชนาการ (อาหารการกิน) ที่เป็นต้นเหตุของ โรคเรื้อรัง น้อยมากๆ

ส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับการใช้ยาและการผ่าตัดเพื่อรักษา หลังจากเรียนจบส่วนใหญ่ก็จะมุ่งศึกษาเฉพาะทางจึงมีความรู้เฉพาะสาขาที่เรียน

ส่งผลให้แพทย์ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านอาหารการกินน้อยมากๆ และยิ่งถ้าเราเจาะลึกลงไปจะพบว่า ตำราแพทย์จำนวนมากก็ล้วนแล้วแต่เขียนหรือสนับสนุนโดยบริษัทที่ผลิตยา  ผลงานวิจัยทางการแพทย์ส่วนใหญ่ก็มาจากบริษัทที่ผลิตยาหรือเครื่องมือทางการแพทย์

คนไทยกินยาเกินจำเป็น

ด้วยเหตุที่แพทย์ถนัดการใช้ยาจึงทำให้องค์ความรู้ของคนไทยส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่รักษาอาการป่วยต่างๆด้วยการใช้ยาเช่น เป็นไมเกรนก็ใช้ยา ปวดข้อก็ใช้ยา เป็นโรคกระเพาะก็ใช้ยา คนไทยส่วนหนึ่งจึงเริ่มติดนิสัยที่จะต้องกินยา

ยาไมเกรนอันตรายกว่าที่คิด

เช่น เวลาเป็นไข้หวัดธรรมดาก็จะกินยาพารา ทั้งๆที่ถ้าพักผ่อนก็จะหายไปเองได้ และเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยก็มักจะไปซื้อยาตามร้านขายยามากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์

ด้วยเหตุนี้คนไทยจำนวนมากจึงบริโภคยาเกินจำเป็นและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณยาที่คนไทยบริโภคเฉลี่ยต่อคนมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วถึงประมาณ 2-3 เท่า

ในขณะที่สุขภาพของคนไทยก็ไม่ได้ดีกว่าประเทศอื่นเลย นั่นยิ่งชี้ให้เห็นได้ว่ากินยามากก็ไม่ได้ช่วยให้สุขภาพดี

ที่น่ากลัวของเรื่องนี้ก็คือ 80%ของร้านขายยา ไม่มีเภสัชกรคอยให้คำแนะนำ นอกจากจะทำให้เรามีโอกาสได้รับยามากเกินไปแล้วยังมีโอกาสได้รับยาผิดทำให้เกิดโทษและเกิดการสะสมสารพิษที่เป็นอันตรายกับร่างกายได้

คนไทยเริ่มดื้อยา

คนไทยที่ซื้อยามากินเอง (โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ เช่น แอสไพริน) ส่วนหนึ่งก็จะกินยาไม่ครบตามขนาดที่เหมาะสม ส่วนหนึ่งก็จะกินตามที่คนอื่นแนะนำโดยไม่ปรึกษาแพทย์

โรคเรื้อรังจากการทางยาปฏิชีวนะจนเกิดการดื้อยา

ทำให้ได้รับยาไม่ตรงกับโรค ส่วนหนึ่งก็จะเลือกกินยาแรงเอาไว้ก่อน ส่วนนึงก็จะกินน้อยเกินไปพอใจแล้วก็หยุด

การกระทำเหล่านี้ทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อยาเพิ่มขึ้น ทำให้ในเวลาที่แพทย์ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาในยามจำเป็น ก็จะใช้ไม่ได้ผลเท่าไหร่

พบว่าคนไทยดื้อยาปฏิชีวนะสูงถึง 80% ทั้งๆที่เมื่อ 10 ปีก่อน คนไทยดื้อยาเหล่านี้เพียง 1-2% เท่านั้น

สิ่งที่ตามมาหลังจากร่างกายดื้อยาก็คือ จะทำให้เกิดเชื้อฝีหนอง,E.coli ,ติดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ, ติดเชื้อในช่องท้อง, ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ง่ายขึ้น

ที่น่ากังวลก็คือ อาการดื้อยาในเด็กเล็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และในระบบลำไส้ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเกือบ 90%

เนื่องจากมีการใช้ยาชนิดเดิมติดต่อนานหลายปี ทำให้เชื้อมีภูมิต้านทานต่อยา ส่งผลให้การรักษาที่ง่ายกลายเป็นยากขึ้น จนต้องมีการเปลี่ยนตัวยาใหม่ให้แรงมากกว่าเดิม

และบางครั้งอาจต้องใช้ยาหลายชนิดในการรักษา ซึ่งผลเสียก็คือ ยิ่งรักษาก็จะยิ่งเสียค่ารักษาที่สูงขึ้น และอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ โดยเฉพาะกรณีที่เด็กมีภูมิต้านทานต่ำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ร่างกายพังเพราะยา

ยาหลายๆขนานถ้ากินมากเกินไป หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็อาจจะส่งผลต่อผิวหนัง ทำให้มีอาการผื่นคัน ผิวหนังพอง แพ้แดด หรือส่งผลต่อทางเดินอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

ผื่นคันตามผิวหนัง

หรือส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ง่วงซึม มึนงง ซึมเศร้า หรือขัดขวางการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด จึงมีผลต่อการทำงานของไต ทำให้ไตบวม ไตวาย

หรือทำให้เป็นแผลในระบบหัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมองอุดตัน ทำให้เสียชีวิตได้ แม้แต่ยาพาราเซตามอลที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย

ถ้าเราใช้ยานี้เกินปริมาณที่แนะนำก็จะนำไปสู่การเกิดพิษต่อตับ จะนำไปสู่ภาวะตับวายและเสียชีวิตในที่สุดเช่นกัน

โรคเรื้อรังกับการใช้ยารักษา

ในการรักษาโรคเรื้อรัง แพทย์ส่วนใหญ่ก็จะใช้ยาในการรักษาทำให้ร่างกายของผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากยาที่ใช้ต่อเนื่องนานๆ (หลายคนได้โรคตับโรคไตเพิ่มจากโรคที่เป็นอยู่)

ในการรักษาโรคเรื้อรัง แพทย์ส่วนใหญ่ก็จะใช้ยาในการรักษา

ฉะนั้นหากใครเป็นโรคเรื้อรังและหวังพึ่งยา ชีวิตที่เหลืออยู่ก็จะเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องกินยาไปเรื่อยๆ และมีสุขภาพที่อ่อนแอลงเรื่อยๆ (เหลือชีวิตยาวนานแค่ไหน ก็ทรมานยาวนานเท่านั้น)

ป้องกันดีกว่ารักษา

โรคเรื้อรังเหล่านี้มักจะแสดงอาการเมื่อเป็นหนักแล้ว คนที่ยังไม่เข้าโรงพยาบาลจึงไม่ได้แปลว่าเป็นคนที่สุขภาพดี ไม่ป่วย แข็งแรง เพราะโรคเหล่านี้จะแอบแฝงอยู่ภายในโดยที่เราไม่รู้ตัว เหมือนฆาตกรเงียบ บางคนจึงชะล่าใจโดยเฉพาะคนอายุไม่มาก

โรคเหล่านี้เมื่อเป็นแล้วจะมีแต่ความทุกข์ทรมาน และต้องเสียเงินในการรักษาจำนวนมาก บางโรคต้องใช้เงินหลายแสน เป็นล้านจนถึงหลายสิบล้าน

การป้องกันก่อนเป็นโรคเรื้อรังย่อมดีกว่าการรักษาเมื่อป่วยแล้ว

บางโรคต้องรักษาไปเรื่อยๆจนกว่าจะตาย พูดง่ายๆว่าถ้าใครเป็นโรคเหล่านี้เงินที่เก็บมาทั้งชีวิตก็แทบหมดไปเลย บางคนก็อาจจะถึงขั้นต้องกู้หนี้มารักษา และเป็นเรื่องน่าเศร้าที่การยื้อชีวิตกลับเป็นการทำให้อยู่อย่างทรมานยาวนานขึ้น

และเหตุนี้เองที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักจะรู้สึกเสียใจที่ไม่ดูแลตัวเองตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เป็นโรคซะก่อน

ขณะที่ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าโรคเรื้อรังเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และค่าใช้จ่ายในการพยายามป้องกันนั้นน้อยกว่านับ 10 เท่า เมื่อเป็นอย่างนี้จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะเลือกปล่อยให้เป็นแล้วค่อยรักษา

สำหรับคนที่กำลังป่วยหากเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก็สามารถบรรเทาอาการที่เป็นอยู่ได้ดีกว่าการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมดังกล่าวจึงมีความสำคัญต่อชีวิตและสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเรื้อรังก็ควรจะได้รับการดูแลและรับคำปรึกษาจากแพทย์ด้วยไม่ควรตัดสินใจด้วยตัวเอง เพราะบางคนอาจมีอาการหนักมากจนชีวิตเหมือนอยู่บนเส้นด้าย อย่าลดยาด้วยตัวเอง ควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาจะดีที่สุด

หากมีอาการเจ็บป่วย ควรปรึกษาแพทย์

หนทางป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง

ถ้าถามแพทย์ว่า ถ้าต้องการจะห่างไกลจากโรคเรื้อรังเราจะต้องทำยังไง แพทย์ก็จะต้องแนะนำว่าให้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

ซึ่งเรื่องนี้เป็นหลักการที่เด็กประถมก็รู้จักและเข้าใจเป็นอย่างดี และคนส่วนใหญ่ก็เชื่อว่า รู้แค่นี้แล้วทำตามหลักการนี้ก็พอแล้ว

ออกกำลังกายตอนเช้าช่วยให้สุขภาพดี

แต่เหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากโรคดังกล่าวได้หรือดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเรื้อรังไม่ได้ ก็เพราะว่าความรู้ดังกล่าวยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์

คนที่มีความเข้าใจแค่นี้ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่าจะต้องทำหรือไม่ต้องทำอะไร ความรู้ที่ขาดหายไปและช่วยให้ห่างไกลโรคเรื้อรัง คุณจะพบได้ในตอนต่อไป…

บทความที่น่าสนใจ

error: do not copy content!!