FAQ, แปลกมั๊ย คนแก่ติดไลน์

แปลกมั๊ย..คนแก่ติด ‘ไลน์’

%e0%b9%84%e0%b8%a5%e0%b8%99%e0%b9%8c-addict-social

แปลกมั๊ย..คนแก่ติดแชท ‘ไลน์’

อินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนวิถีชีวิตคนเราจนแตกต่างจากสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง จากชีวิตที่ไม่ต้องรับรู้ข่าวสารอะไรเยอะแยะ แค่อ่านหนังสือพิมพ์ตอนเช้าดูข่าวสองทุ่ม

ไม่มีคนโทรตามถึงตัว ไม่มีอีเมลมีแต่จดหมายกระดาษใช้เวลาเป็นอาทิตย์กว่าจะส่งถึง ไม่มี ‘เฟสบุ๊ค’ ไม่มี ‘ไลน์’ ไม่มีการตอบโต้ดราม่าใส่กัน…

ไม่ว่าจะพูดถึงข้อดี-ข้อเสียของความเจริญก้าวหน้าแต่สิ่งที่แน่นอนก็คือ เราคงไม่กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมได้อีกต่อไป มีแต่จะเร่งขึ้น เร็วขึ้น รวมถึงการพัฒนาที่รวดเร็วไปข้างหน้ากลับทิ้งหลายสิ่งไว้อยู่ข้างหลัง

เรามีขยะเทคโนโลยีกองเท่าภูเขา เราเคยมีคอมพิวเตอร์ที่อ่านแผ่นดิสก์ เครื่องเล่นเทป แม้แต่เครื่องเล่นดีวีดีก็ตกยุค

รวมทั้งคนที่ตามเทคโนโลยีไม่ทันก็ถูกทิ้งไว้เช่นกัน ด้วยความที่มนุษย์ก็ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมองเป็นเลิศ ในวัยหลังเกษียณถ้าไม่เป็นอัลไซเมอร์ไปก่อน ก็ยังพอเรียนรู้อะไรใหม่ๆได้

การใช้สมาร์ทโฟนทำลายสายตา ทำให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

คนแก่หลายคนก็พยายามปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยด้วยการเรียนรู้สิ่งที่คนยุคนี้เขาเล่นกันมันใช้อย่างไร?

ภาพคนสูงวัยที่ตื่นเช้ามาก็คว้ามือถือมาเล่น หิ้วเข้าห้องน้ำ กินข้าวไปเล่นไป จะบ่ายจะเย็นก็นั่งจิ้มๆ ปัดอ่านทั้งวัน กลางคืนก็เล่นจนหลับ.. เดี๋ยวนี้อยากคุยกับพ่อแม่ต้องคุยผ่านไลน์

แป๊บเดียวตอบแล้ว มองอีกแง่หนึ่งก็ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่เบื่อ มีสังคมได้โดยไม่ต้องเดินทางไปไหนให้เมื่อย

แต่บางครั้งก็ถึงจุดที่เยอะเกินไป เล่นแต่ไลน์ Facebook จนไม่สนใจคนที่อยู่ด้วย ไม่คุยกับคนที่บ้าน หรือไม่คุยกับใครเลย ทั้งไลน์ เฟซ หรือโซเชียลอื่นๆช่วยให้ผู้คนสร้างจินตนาการ

หรือทำให้คน “มโน” ในสิ่งที่ตนต้องการได้ง่ายขึ้น ยิ่งทำให้โลกปัจจุบันเป็นแบบ “คนไกลยิ่งใกล้ คนใกล้ยิ่งห่าง” มากขึ้นด้วย เป็นการสร้างโลกอีกใบขึ้นมา เพื่อออกจากโลกแห่งความเป็นจริงที่เผชิญอยู่

เคยได้ยินคำขวัญคนสมัยก่อนมั๊ยครับว่า ‘ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน’ คนสูงวัยที่เมื่อก่อนเป็นคนขยัน ชอบหาอะไรทำ ก็คงเพราะรู้สึกได้คุณค่ามีคนสนใจและยอมรับ พอไม่มีอะไรจะทำก็คงรู้สึกกระทบกระเทือนเรื่องคุณค่าตัวตนพวกนี้อยู่ไม่มากก็น้อย

การโต้ตอบทางไลน์ก็ทำให้ได้แสดงตัวตน ประมาณว่าฉันยังอยู่นะ ฉันมีอะไรมาฝากเธอด้วยนะ ฉันยังแสดงความคิดเห็นได้นะ ซึ่งมันช่วยให้คนเหล่านั้นมีความสุขแน่นอน

ผ่านกลไกทางใจแบบนี้ล่ะครับ การมีคนตอบสนองก็ช่วยยืนยันตัวตนของเขาได้ เสริมความสุขคนแก่ ไม่ต้องออกไปไหน นอนบนโซฟาทั้งวันก็มีสังคมได้เลย

ในเด็กที่ติดเกม..พอติดเกมก็ไม่เป็นอันเรียนหนังสือ พอไม่ได้เรียน ก็ไม่มีปัญญาทำงานเลี้ยงดูตัวเอง เกิดปัญหาไปทั้งชีวิต แต่ถ้าเป็นคนแก่ เรียนก็จบไปตั้งนานแล้ว ใช้ชีวิตทำมาหากินมาตลอด ส่งลูกส่งหลานจนสำเร็จ เวลาในชีวิตมันว่าง..

คงไม่มีใครเห็นด้วยที่จะให้ลูกหลานหมกหมุ่นกับจอแทนที่จะใช้ชีวิตกับโลกจริงๆตรงหน้า แต่พอเป็นผู้สูงอายุ ถ้าเขามีการทำงานของสมองปกติ และเลือกเองที่อยู่ในสังคมเสมือนเพราะใช้ชีวิตง่ายกว่าสังคมจริงก็เป็นสิ่งที่พอได้อยู่

แต่อะไรที่เกินสมดุลมักก่อปัญหา การใช้เวลากับบางเรื่องที่มากเกินไปน่าจะเป็นปัญหา แต่แค่ไหนคือมากเกินไปล่ะ?

   ตามนิยามของการเสพติดเชิงพฤติกรรม คนติดอะไรก็จะทำสิ่งนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ พอถูกห้ามก็จะหงุดหงิดเหมือนลงแดง พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบด้านลบต่อชีวิต เช่น การงานหรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดก็คือ ปัญหาที่จะตามมาจากการเล่นไลน์ ติดโซเชียลอย่งหนัก ก็คือสุขภาพตาและปัญหากระดูกต้นคอ…

โรคซึมเศร้าที่เกิดจากการติดแชทไลน์

4 โรคฮิตของคนติดจอ

1. โรคซึมเศร้าจากเฟสบุ๊ค (Facebook Depression Syndrome)

หลายคนอาจสงสัยว่า เล่น ‘เฟสบุค’ ก็มีเพื่อนตั้งเยอะแล้วยังจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ยังไง? แต่อาการนี้เกิดขึ้นจริง ๆ เพราะคนเราเมื่อติดอยู่แต่หน้าจอ จิ้ม ๆ กด ๆ คุยกับคนในโลกออนไลน์

ก็จะกลายเป็นไปเพิกเฉยต่อคนในโลกจริง แถมหลายคนใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเวลา เหงา ว้าเหว่ เดียวดาย..ก็รัวกันไฟแลบ

นั่นเพราะเฟซบุ๊กได้สร้างความเป็นจริงเทียม (artificial reality) ขึ้นมา จากการโพสต์แต่เรื่องดี ๆ แต่เก็บงำเรื่องร้าย ๆ แย่ ๆ ที่อยากปกปิดเอาไว้ 

เราถึงเห็นแต่คนที่มีชีวิตสมบูรณ์แบบในโลกเสมือนจริงเต็มไปหมด เมื่อเผลอนำมาเปรียบเทียบกับตัวเอง ความรู้สึก “ไร้ค่า” ก็เกิดขึ้น

โรคซึมเศร้าจากโซเชียล เฟสบุค ไลน์

2. โรควุ้นในตาเสื่อม

ปกติเราก็ใช้งานดวงตาหนักอยู่แล้ว และถ้ายิ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเพ่งข้อความในจอสี่เหลี่ยมเล็กๆ 4-5 นิ้วเนี่ย ก็ยิ่งทำให้ดวงตาของเราก็ทำงานหนักขึ้นแบบคูณสองไปอีก

หากปล่อยไปนานๆจนมองเห็นหยากไย่ ตาข่าย หรือเส้นอะไรวนไปวนมาเหมือนยุง ปัดเท่าไรก็ไม่โดนสักที แบบนี้มาแล้วครับ.. เพราะนี่คือ “โรควุ้นในตาเสื่อม”

จริงๆแล้วโรคนี้มักพบในผู้สูงอายุ เพราะใช้งานดวงตามานานจนเสื่อมไปตามวัย แต่น่าตกใจที่ปัจจุบันมีคนอายุน้อย ๆเป็นโรคนี้มากขึ้น

สาเหตุหลัก ๆ ก็มาจากการแชททั้งวัน จ้องทั้งคืน เล่นเกม ใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกันนาน ๆ ไม่ว่างเว้นนี่เอง พอรู้สึกปวดตาก็คิดว่าคงไม่เป็นอะไรมาก รู้ตัวอีกทีก็เห็นภาพเป็นคราบดำๆ เป็นเส้นๆซะแล้ว!

3. โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face)

โรคฮิตของคนติดแชทที่พบได้บ่อยคือ โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) หรือโรคใบหน้าสมาร์ทโฟน เกิดจากการที่เราก้มลงมองหน้าจอ

หรือจ้องสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตเป็นเวลานานเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดอาการเกร็งและไปเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม

 เมื่อแก้มถูกแรงกดนาน ๆ เข้า ก็จะทำให้เส้นใยอิลาสติกบนใบหน้ายืด จนแก้มบริเวณกรามย้อยลงมา แถมกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากก็จะตกไปทางคางด้วย

จนใบหน้าอาจดูผิดแปลกไปจากเดิม และจะเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อถ่ายภาพด้วยอุปกรณ์ของตัวเอง ฟังแล้วน่ากลัวนะเนี่ย หากใครเป็นมาก ๆ ก็ต้องศัลยกรรมกันเลยนะ

4. ผลเสียต่อร่างกายโดยเฉพาะคอและกระดูกสันหลัง

ขณะที่หากเราก้มหน้า 45 องศาอ่านจอมือถือ เท่ากับคอเราต้องแบกรับน้ำหนักอยู่ถึง 20 กิโลกรัม แต่ถ้าเราไม่ก้มหน้าเลย คอของเราจะแบกรับน้ำหนักเพียง 4.5-5.5 กิโลกรัมเท่านั้น

การที่คอเรารับน้ำหนักมากขนาดนี้จะส่งผลให้เกิดอาการปวด หรือเป็นโรคที่เรียกว่า “Text Neck”

 มาช่วยกันป้องกันดูแลคนที่คุณรักจากโรคฮิตคนติดจอ..ด้วยการใช้เทคโนโลยีในมืออย่างพอเหมาะ มีการพัก ดูโทรศัพท์ให้ถูกท่าถูกวิธี

และเสริมอาหารด้วย Lutien, สารสกัดจำพวกเบอร์รี่ ที่ช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี

อาหารเสริมบำรุงสายทาร์เกท Target
บทความน่าสนใจ

error: do not copy content!!