FAQ, ยาแก้ปวดกระดูก ไขข้อ

อุทาหรณ์ยาแก้ ‘ปวดกระดูก ไขข้อ’

case-study-drug-%e0%b8%9b%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b8%81

ใช้ให้เป็น…ลดอันตรายจากยาแก้ ‘ปวดกระดูก’ 

คงมีหลายคนที่ต้องพึ่งยาแก้ปวดเมื่อย ปวดกระดูก ไขข้อ อยู่บ่อยครั้ง

คุณเคยรู้ไหมว่าหากทานยาโดยไม่ระวังอาจมีอันตรายได้ บางครั้งถึงต้องเข็นเข้าห้องผ่าตัด

เป็นเจ้าหญิงนิทรา หรือเสียชีวิต.. ฟังดูน่ากลัวแต่เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น นี่คือเหตุการณ์นึงที่เกิดขึ้น..

      ผู้สูงอายุประมาณ65 ปี มีโรคประจำตัวคือโรคหัวใจเลยต้องกินยาอยู่หลายชนิด หนึ่งในนั้นก็คือแอสไพริน ซึ่งปกติใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยลดไข้

แต่กรณีนี้คือใช้เพื่อห้ามการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งแพทย์มักจะจ่ายให้กับคนที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดอยู่เสมอนั่นเอง ลูกหลานก็เลยไม่ได้ใส่ใจถึงชนิดยาที่ผู้ป่วยกินมากนัก

ผู้ป่วยเป็นคนจัดยากินเอง แต่ลูกหลานก็คอยดูแลพามาหาหมอที่โรงพยาบาลทุกครั้งที่นัดไม่เคยขาด

      อยู่มาวันนึงผู้ป่วยเกิดตกบันไดนอนหมดสติอยู่ที่พื้น… ลูกหลานได้ยินเสียงโครมครามจึงรีบวิ่งมาดูแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที แพทย์ที่ห้องฉุกเฉินได้ซักประวัติคร่าวๆจากญาติ

เนื่องจากผู้ป่วยหมดสติแล้วไม่มีใครทราบรายละเอียดเรื่องยาที่กินอยู่ประจำ จึงทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองพบว่ามีเลือดออกเล็กน้อยและมีสมองบวม ปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมสมองเห็นว่าควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดยังไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัด

      วันรุ่งขึ้นแพทย์ได้ประเมินคนไข้ซ้ำอีกครั้งเพราะนอกจากอาการทางสมองจะไม่ดีขึ้นแล้วดูเหมือนว่าจะเลวร้ายลงด้วย เลยส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองอีกครั้งปรากฏว่าเลือดที่ออกในสมองมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงตัดสินใจผ่าตัดสมองทันที

แต่เนื่องจากปริมาณเลือดที่ออกมากและกดสมองอยู่พักนึงถึงแม้ว่าจะผ่าตัดดูดเลือดในสมองออกมาแล้ว การทำงานของสมองก็ดีขึ้นไม่มาก หลังจากการผ่าตัดคนไข้แม้ว่าจะไม่เสียชีวิตแต่ก็ต้องกลายเป็น “เจ้าหญิงนิทรา”ไม่รู้สึกตัวอีกต่อไป…

หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วเกี่ยวข้องกันยังไง?

การที่ผู้ป่วยได้รับยาแอสไพรินซึ่งนอกจากมีฤทธิ์แก้ปวดลดไข้แล้วแอสไพรินยังห้ามการทำงานของเกล็ดเลือด ผลก็คือหลังจากที่มีเลือดออกไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม เลือดจะหยุดไหลยากทำให้เลือดที่ไหลออกมาในสมองซึมออกมาอย่างต่อเนื่อง

     ถ้าหากแพทย์ทราบข้อมูลนี้ตั้งแต่ต้น ก็จะทำการแก้ไขโดยการให้เกล็ดเลือดแก่ผู้ป่วยเลือดก็จะหยุดไหลได้และอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นได้โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดเลย

และนี่เป็นตัวอย่างของข้อมูลเพียงเล็กๆน้อยๆที่เราไม่ทราบ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงผลการรักษาชนิดจากหน้ามือเป็นหลังมือ แทนที่สมองจะฟื้นตัวได้อีกในระดับหนึ่ง

กลับต้องเข้ารับการผ่าตัดและสุดท้ายก็ต้องอยู่ในสภาพที่ไม่รู้สึกตัวไปเลยตลอดชีวิตแม้ว่าจะยังมีลมหายใจอยู่ก็ตาม นี่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นและไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งนี้ แต่เกิดขึ้นเช่นเกียวกันอีกมากมาย เพราะยากลุ่มนี้มีคนใช้กันอย่างกว้างขวาง

ทานยาแก้ปวดกระดูกให้ถูกวิธี

      ยาในกลุ่มนี้ทางการแพทย์เรียกว่า ยาลดการอักเสบแบบที่ไม่ติดเชื้อ หรือ non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) มีต้นตำหรับก็คือแอสไพรินและมีตัวอื่นๆอีกหลายตัวเช่น ไอบูโปรเฟนไดโคลฟีแนค ไทร็อคซีแคม Naproxen meloxicam ketoprofen ฯลฯ

แพทย์จะใช้ในการบรรเทาอาการปวดต่างๆเช่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดหัว ซึ่งผลข้างเคียงของยาที่พบมากก็คือ ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เนื่องจากเป็นยาที่กัดกระเพาะต้องกินหลังอาหารทันที

บางครั้งอาจต้องกินยากระเพาะป้องกันควบคู่ด้วยในกรณีที่มีโรคกระเพาะอยู่แล้วหรือมีอายุมาก ในบางรายแม้ว่าจะกินยาป้องกันแล้วก็ยังมีปัญหาจากยาได้อีกเช่น ปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะกำเริบ

บางคนหนักเข้าไปอีกเลือดออกในกระเพาะอาหาร ซึ่งหากหยุดได้เองก็ไม่มีอะไร แต่บางรายถึงกับต้องผ่าตัดเพื่อเข้าไปหยุดการไหลของเลือด

แนวทางแก้ไข

      งดใช้ยากลุ่มนี้หรืออาจใช้ยาแก้ปวดกลุ่มใหม่แทน อาทิ Cox-2-inhibitor เช่น rofecoxib, celecoxib ซึ่งมีผลต่อกระเพาะน้อยลงแต่มีผลต่อกระเป๋าตังค์มากครับ ราคาเม็ดละ20-30 บาททีเดียว

หากใช้ไม่นานคงไม่มีปัญหาแต่ในบางคนที่เป็นโรคเรื้อรังเช่น โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุกินยาก็อาการดีขึ้น พอหยุดยาก็ปวดใหม่ ถ้าเป็นมากก็ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมไป แต่พวกที่เป็นไม่มากนักหรือพวกที่ไม่อยากผ่าตัดก็ต้องพึ่งยาและต้องใช้ในระยะยาวด้วยก็น่าปวดหัวไม่น้อย

ผลข้างเคียงของยาแก้ปวดกลุ่มนี้คือ

การหยุดยั้งการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งโดยปกติแล้วเกล็ดเลือดจะคอยห้ามเลือดเมื่อมีบาดแผลหรือเลือดออก เกล็ดเลือดจะจับกันเป็นกระจุกบริเวณบาดแผลทำให้เลือดหยุดไหลได้

ยามีผลทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะกลุ่มกัน การหยุดของเลือดจึงเป็นไปด้วยความยากลำบากและใช้เวลานาน ผลสุดท้ายก็คือหากเกิดเลือดออกในอวัยวะสำคัญเช่นสมอง อันตรายที่เกิดก็จะรุนแรงมากหากไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่ต้นดังเช่นเคสตัวอย่าง

อย่างไรก็ตามยากลุ่มนี้เป็นยาสำคัญที่แพทย์ใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะแอสไพรินที่มักใช้ป้องกันกรณีเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือใช้ป้องกันโรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน ยิ่งเป็นรวมกันหลายๆโรคความเสียงก็จะมีมากขึ้นไปตามเป็นเงา

       “การใช้ยาต่างๆทั้งคนป่วยและคนใกล้ชิดควรรู้ว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่ และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง? “ การใช้ยาก็เหมือนเหรียญนะครับมีสองด้านเสมอ

มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียคู่กัน เราต้องรู้ให้เท่าทันเพื่อสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนให้มาก การดูแลป้องกันรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุดเสมอ

อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน นูทริก้า Nutriga

>> ป้องกันโรคหัวใจไว้แต่เนิ่นๆด้วย Nutriga <<
>> ป้องกันโรคข้อเสื่อม กระดูกพรุนด้วย Deer <<
>> กระดูกอ่อนปลาฉลาม ดีต่อกระดูกและข้ออย่างไร <<

error: do not copy content!!