แนะนำธุรกิจเครือข่าย

เล่ห์เหลี่ยม ‘แชร์ลูกโซ่’ 10 กลลวงยอดฮิต

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87-%e0%b9%81%e0%b8%8a%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b9%82%e0%b8%8b%e0%b9%88

ชำแหละ 10 กลลวงยอดฮิต เล่ห์เหลี่ยมของ “แชร์ลูกโซ่”

ชำแหละปฏิบัติการลวงโลก แชร์ลูกโซ่ 2016 จับสแกนกรรม 10 รูปแบบกลโกงยอดฮิต

ยั่วกิเลสคนอยากรวยเว่อร์ทะลวงแผนเชือดนิ่มๆพลิกแพลงกลลวงหลอกเหยื่อทุกระดับชั้นสาขาอาชีพที่หลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป

ทำเอา ธุรกิจขายตรง น้ำดีๆเสื่อมเสียชื่อเสียงกันระนาว น่าผวาทีเดียวครับเพราะคดีพิเศษแชร์ลูกโซ่ย้อนหลัง 10 ปี มีเฉียดถึง 100 คดีทีเดียว นักล่าฝันอยากรวยนาทีนี้ต้องทำงานแบบรู้จักและรู้จริง (ขอย้ำ) แนะข้อสังเกตง่ายๆนิดเดียวครับ

ธุรกิจขายตรงที่ดีนั้นต้องลงทุนต่ำ ค่าตอบแทนสมเหตุสมผล บริษัทมีประวัติน่าเชื่อถือและขึ้นทะเบียนถูกต้อง และถ้าอยากเป็นมนุษย์เงินล้านต้องขยัน อดทนทำงานอย่างมีเป้าหมาย(ปล.ไม่มีทางลัด) การันตีความสำเร็จใกล้แค่เอื้อม

ไม่ว่าจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง ยากดีมีจนแค่ไหน ขบวนการต้มตุ๋น “แชร์ลูกโซ่” ก็ยังคงเป็นปมปัญหามหากาพย์หลอกฟันเงินซึ่งไม่มีทีท่าจะลดน้อยถอยลงเลย และยังคงระบาดหนักอยู่คู่คนไทยมานับหลายสิบปี

โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจที่ซบเซา เป็นโอกาสเหมาะอยางยิ่งในการเปิดสนามลวงโลกเจาะกลุ่มเป้าหมาย “คนโลภ”ทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพด้วยการโปรยยาหอมค่าคอมมิชชั่นดี ดอกเบี้ยสูง โดยไม่ต้องทำงาน?

เพื่อยั่วกิเลสผู้ที่ต้องการเป็น “เสือนอนกิน” ให้เคลิบเคลิ้มหลงกลควักกระเป๋าหาเงินลงทุน ใครไม่มีก็ใช้วิธีหยิบยืมยอมเป็นหนี้ หรือแปลงทรัพย์สินในบ้านเป็นทุน สุดท้ายก็สิ้นเนื้อประดาตัวเพราะไม่รู้เท่าทันกลโกง

แม้ที่ผ่านมาจะมีข่าวใหญ่หน้า 1 หรือข่าวใหญ่ในจอโทรทัศน์ออกมาให้เห็นเป็นกรณีศึกษาถึงการจับกุมคนโกง ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ซึ่งสร้างความเสียหายมากมายมหาศาล

แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม และจากสถิติข้อมูลด้านคดีของ DSI ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีคดีพิเศษเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ถึง 99 คดี สอบสวนแล้ว 75 อยู่ระหว่างสอบสวนอีก 24 คดี

แชร์ลูกโซ่ กลลวงหลอกคนอยากรวย

อีกทั้งขณะนี้ก็เข้าสู่สังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นสเมือนดาบสองคม กลโกงจึงมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ อย่างไรก็ตามจากฐานข้อมูลสำคัญที่เหล่ามือปราบหน่วยงานภาครัฐ

กองสืบสวนคดีเศรษฐกิจ (สศก.) สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  DSI ช่วยกันปราบปรามจับกุมก็ได้สะท้อนภาพให้เห็นถึง วิธีกลโกงแชร์ลูกโซ่ ที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง และควรพึงระวังหรือหากใครพบเห็นสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ทันที สรุปได้ 10 รูปแบบกลโกงดังนี้

  • รูปแบบที่ 1 เจาะกลุ่มประชาชนระดับรากหญ้ามาในรูปแบบการ “ฌาปนกิจสงเคระห์” เนื่องจากความสัมพันธ์ในด้านพื้นฐานของชีวิตที่มีความต้องการให้ลูกหลานมีเงินทุนใช้จ่ายหลังเสียชีวิต มีการระดมเงินทุน ส่งผลกระทบต่อคนที่อยู่ข้างหลังได้รับความเดือดร้อน
  • รูปแบบที่ 2 เจาะกลุ่มคนระดับกลางด้วยการ “ลงทุน” โปรยยาหอมผลกำไรมากมาย ได้เงินเร็ว โดยการแฝงรูปแบบของธุรกิจขายตรง เช่น แชร์น้ำมันหอมระเหย แชร์ก๋วยเตี๋ยว แชร์ลอตเตอรี่ เป็นต้น
  • รูปแบบที่ 3 เจาะกลุ่มผู่มีเงินทุนและมีความรู้สูง คนที่ไม่รู้จะลงทุนอะไรดี? เน้นการลงทุนเพื่อเก็งกำไร “อัตราแลกเปลี่ยนเงิน” การลงทุนซื้อขายโลหะมีค่า เช่น ทองคำ, หุ้น, ค่าเงิน ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนค่อนข้างสูง
  • รูปแบบที่ 4 การแอบอ้างชื่อผู้มีอำนาจ มีอิทธิพล มีชื่อเสียง เชื่อว่าสามารถเอื้อประโยชน์กับคนใดคนหนึ่งได้ ทำให้คนที่ตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อโดยง่ายดาย เพราะคาดหวังในโอกาสของความร่ำรวยจากอำนาจของบุคคลเหล่านั้น
  • รูปแบบที่ 5 ล่อเหยื่อวันรุ่นผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นช่องทางสุดฮิตยอดนิยมในเวลานี้ คือการเข้ามามีลักษณะใช้คนในกลุ่มเพื่อนเฟซบุ๊ก รุ่นพี่ที่เป็นไอดอลช่วยกันแชร์ข้อมูล รายได้

ตอกย้ำความเชื่อมั่นว่าไม่หลอกลวงได้ผลตอบแทนจริง พร้อมโชว์ผลลัพธ์ความสำเร็จด้วยรายได้เงินทองมากมาย บ้านหลังใหญ่ รถหรู ท่องเที่ยวต่างประเทศฟรี โดยสินค้ากระแสนิยม

ส่วนใหญ่จะเป็นไลน์สินค้าเครื่องสำอาง เสริมอาหาร ความงาม โดยไม่เน้นขายสินค้าแต่จะเน้นการจ่ายค่าสมาชิกหลักหลายพันบาท พร้อมแนะนำให้หาสมาชิกใหม่เพิ่มแล้วจะได้รับส่วนแบ่งมากๆ ส่วนสมาชิกใหม่ก็ต้องหารายอื่นต่อไปโดยก็อปปี้วิธีทำงานเดิมๆไปผ่านโซเชียลมีเดีย

  • รูปแบบที่ 6 กลุ่มคนทำงานที่ใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวัน โดยกลุ่มนี้มักจะหลงกลตกเป็นเหยื่อของช์ลูกโซ่ โดยการเข้าถึงจะใช้วิธีเชิญชวนผ่านเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียให้คนมาร่วมลงทุนต่อในอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

โดยการล่อเหยื่อนั้นจะมีการเสนอให้เห็นถึงผลตอบแทนที่ได้รับ ซึ่งจะมีทั้งการจ่ายเงินปันผลเข้าในบัญชีการลงทุนทุกเดือน

  • รูปแบบที่ 7 “ลงทุนกองทุนสินค้าเกษตร” เพราะประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรมีกลุ่มคนที่เป็นเกษตรกรจำนวนมาก ทำให้พวกมิจฉาชีพแชร์ลูกโซ่ยื่นผลประโยชน์ให้ผลตอบแทนเร็ว ภายในระยะเวลาสั้นๆแค่ 1สัปดาห์

โดยเข้าใจว่าเป็นดอกเบี้ยดี เพื่อให้เกิดความไว้วางใจว่าได้รับผลตอบแทนจริงและทำการชักชวนผู้อื่นมาลงทุนด้วย เมื่อมีการลงทุนมากขึ้น กองทุนนั้นก็ปิดตัวลง

ไม่มีผู้รับผิดชอบ สร้างความเดือดร้อนในหารติดตามและดำเนินคดีมาก เช่น ลงทุนในมะม่วง ไม้สัก ไม้กฤษณา ไม้หอม เป็นต้น

  • รูปแบบที่ 8  “ขายฝันระดมทุนตั้งบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์” ซึ่งมักจะเข้ามาในลักษณะบริษัทข้ามชาติ ส่วนใหญ่แผ่อิทธิพลจากประเทศจีน และมาเลเซียฯ ด้วยการวางแผนธุรกิจระดมด้วยการให้สิทธิในการถือหุ้นในบริษัทหรืออาจมีสินค้าที่จำหน่าย

ซึ่งสมาชิกสามารถซื้อได้ในราคาถูก แต่เป้าหมายที่นำมาชวนเชื่อคือการขายฝันว่าบริษัทมีแผนจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อสมาชิกเพิ่มขึ้นมากพอ ก็ปิดตัวขนเงินออกนอกประเทศ

  • รูปแบบที่ 9  “ยาผีบอก” ผลิตภัณฑ์อวดอ้างสรรพคุณรักษาสารพัดโรค ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างจังหวัด ด้วยการหลอกลวงเงินของชาวบ้าน วิธีการคือ เริ่มจากผลิตภัณฑ์รักษาโรค แอบอ้างว่ามีสรรพคุณรักษาโรคได้จริง

ทำให้ผู้ป่วยหลงเชื่อซื้อมาทดลองช่วงแรกที่มีคนหลงเชื่อก็จะสร้างแรงจูงใจในการซื้อ และสร้างกลุ่มสมาชิกลงทุนจำหน่ายเพราะโฆษณาว่าขายดี ได้รับผลตอบแทนมาก ซึ่งตัวยาเองอาจมีสารอันตรายปนอยู่ด้วย ทำให้เสียทรัพย์สิน และอาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วย

  • รูปแบบที่ 10 “อ้างอิงศาสนาและการทำบุญ” ที่มีผลตอบแทนสูงจูงใจ เช่น เชิญชวนให้มาร่วมทำบุญสร้างพระองค์ใหญ่ที่สุดในโลกที่ใช้เงินในการก่อสร้างสูงถึงหลักแสนล้านบาท

เชิญชวนให้ผู้มีจิตศรัทธาทำบุญครั้งละหลักหมื่น แต่ได้คืนหลักแสน วิธีการที่ทำให้คนเชื่อถือและให้คนมาร่วมทำบุญกันมากๆเพื่อให้ได้เงินตามที่คาดหวังนั้น  จะใช้การติดป้ายโฆษณาในจังหวัด แอบอ้างหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน และคนมีชื่อเสียงในพื้นที่นั้นว่าได้ร่วมทำบุญบางส่วนมาแล้วเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท

กลโกง “แชร์ลูกโซ่” ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น วิธีการทำงานในยุคนี้ที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐได้เข้าไปจับกุมและแถลงถึงกลโกงรูปแบบใหม่ๆยังมีอีกมาก

และเชื่อว่าตราบใดที่โลกยังหมุนเวียนมีการพัฒนาตัวเองมากแค่ไหนวิธีปฏิบัติลวงโลกแชร์ลูกโซ่ก็จะถูกพัฒนาอย่างแยบยลมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นควรกันไว้ดีกว่าแก้ผ่านข้อสังเกตความแตกต่างระหว่าง “ธุรกิจขายตรง” กับ “แชร์ลูกโซ่” ให้ได้ฉุกคิดกันก่อน

ข้อสังเกตความแตกต่างระหว่าง “ธุรกิจขายตรง” กับ “แชร์ลูกโซ่”

1. ธุรกิจขายตรงมีค่าธรรมเนียมในการเริ่มต้นธุรกิจต่ำ ใช้เงินทุนต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าสมัครและคู่ดำเนินงานธุรกิจเท่านั้น ต้องมีการจำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด มีคุณภาพสูง

ที่สำคัญยอดขายต้องมาจากการขายสินค้า โดยรายได้และตำแหน่งในสายงานขึ้นอยู่กับการทำงานและยอดขายสินค้า มีการจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)

และดำเนินกิจการตามแผนธุรกิจที่แจ้งไว้ ส่วนเรื่องค่าตอบแทนสมเหตุสมผล(ไม่สูงจนเกินจริง) มีสถานประกอบการที่มั่นคง

2. ขณะที่ธุรกิจมืดแชร์ลูกโซ่ จะมีค่าธรรมเนียมการสมัครใช้เงินลงทุนสูง ผู้สมัครต้องจ่ายค่าฝึกอบรมและบังคับซื้อสินค้าหรือบริการ ไม่สนใจการจำหน่ายสินค้า

หรือมีสินค้าบังหน้า คุณภาพต่ำ ไม่ระบุแหล่งที่มาชัดเจน จ้างผลิตโดยไม่มีโรงงานของตัวเอง โดยผลกำไรส่วนใหญ่มาจากค่าสมัครสมาชิก รายได้ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกที่หามาได้ในสังกัด

เรียกว่า uplineไม่สนใจยอดขาย เป็นการจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงบังหน้ากับ สคบ.แต่ไม่ดำเนินการตามที่จดทะเบียนหรือไม่ได้มีการจดทะเบียนขออนุญาติ อีกทั้งค่าตอบแทนมีอัตราสูงเกินความเป็นจริงด้วย รวมถึงสถานประกอบการไม่มั่นคงถาวร

หากได้แสกนกรรมตามหลักข้างต้นนี้แล้ว เชื่อว่าโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่นั้นมีน้อยมาก,และความสำเร็จ ความมั่งคั่งที่แท้จริงย่อมเป็นของคุณอย่างแน่นอน

error: do not copy content!!